คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดเสวนาพิเศษ Science Café: ภาพ “หลุมดำ” ภาพแรกของมวลมนุษย์ชาติ

MU Backpack Scholarship 2020
February 5, 2020
วิทยาเขตกาญจนบุรีจัดกิจกรรมอบรม “ความปลอดภัยในการใช้ห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์ (Lab Safety) ครั้งที่ 8”
February 5, 2020

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดเสวนาพิเศษ Science Café: ภาพ “หลุมดำ” ภาพแรกของมวลมนุษย์ชาติ

1580903511305-1024x565

วันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2563 คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดงานเสวนาพิเศษ Science Café: ภาพ “หลุมดำ” ภาพแรกของมวลมนุษย์ชาติ โดยได้รับเกียรติจาก Dr. Kazuhiro Hada ทีม EHT Collaboration และ Dr. Koichiro Sugiyama สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์กรมหาชน) หรือ NARIT นักวิทยาศาสตร์รางวัล Breakthrough Prize 2020 เป็นวิทยากรพูดคุยและถ่ายทอดความรู้สู่ประชาคม ดำเนินรายการโดย ผศ.ดร.พิเชษฐ กิจธารา อาจารย์ประจำภาควิชาฟิสิกส์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดลในโอกาสนี้ รองศาสตราจารย์ ดร. พลังพล คงเสรี คณบดีคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล พร้อมด้วยผู้บริหารคณะ และผู้สนใจเข้าร่วมฟัง ณ ห้องประชุมอาคารสตางค์ มงคลสุข คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล พญาไท

Dr. Kazuhiro Hada ได้เล่าถึงเบื้องหลังการทำงานของทีม Event Horizon Telescope หรือ EHT ที่เป็นความร่วมมือระดับนานาชาติจากหลายประเทศ ในการเป็นพื้นที่ตั้งกล้องโทรทรรศน์วิทยุเพื่อทำการถ่ายภาพหลุมดำโดยแต่ละกล้องบันทึกสัญญาณและนำมารวมกัน ทำให้เสมือนกับว่ามีกล้องขนาดใหญ่เท่าเส้นผ่าศูนย์กลางของโลก เพื่อก้าวข้ามข้อจำกัดในเรื่องความสามารถของเลนส์กล้องในการแยกแยะรายละเอียดของภาพออกจากกันได้ ซึ่งสามารถยืนยันความถูกต้องของทฤษฎีสัมพัทธภาพทั่วไปของไอน์สไตน์ ในบริเวณความโน้มถ่วงสูงมากและยังเป็นครั้งแรกที่ยืนยันถึงการมีอยู่ของวงแหวนโฟตอน ซึ่งเป็นอนุภาคแสงที่โคจรรอบหลุมดำและเงามืดของหลุมดำ ซึ่งเป็นบริเวณที่แสงไม่สามารถหลุดออกมาได้อีกด้วย
สำหรับการศึกษาหลุมดำในอนาคตจะมีการอัพเกรดกล้องให้สามารถถ่ายภาพที่มีความละเอียดสูงขึ้น เพื่อให้ได้ภาพที่มีความละเอียดมากพอสำหรับศึกษาหลุมดำที่ใจกลางกาแลกซี่ทางช้างเผือก และทำความเข้าใจสนามแม่เหล็กรอบๆ หลุมดำ และการเกิดอนุภาคพลังงานสูงที่พุ่งยาวออกมาจากหลุมดำ (jet) ด้วย

ด้าน Dr. Koichiro Sugiyama จากจากสถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์กรมหาชน): NARIT กล่าวเพิ่มเติมว่า Thailand National Radio Telescope กล้องโทรทรรศน์วิทยุของประเทศไทย ณ ศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยฮ่องไคร้อันเนื่องมาจากพระราชดำริ จังหวัดเชียงใหม่ ที่จะก่อสร้างแล้วเสร็จและทดสอบภายในปลายปี พ.ศ.2563 นี้ มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางจาน 40 เมตร และทำงานที่ย่านความถี่ต่ำกว่า คือ 1 – 100 GHz ซึ่งเหมาะกับการร่วมเครือข่าย VLBI ในเอเชียเพื่อศึกษากาแลกซี่และกลุ่มแก๊สต่างๆ ซึ่งกล้องนี้มีความสำคัญอย่างมากในระดับเอเชีย เพราะอยู่ในตำแหน่งที่เหมาะสม เมื่อร่วมมือกับชาติอื่นๆเช่น จีน เกาหลี ญี่ปุ่น ไต้หวัน จะทำให้ภาพที่ได้มีความคมชัดขึ้นอย่างมาก

Recent post