คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล เผยภารกิจปรับปรุงและดูแลอุปกรณ์วัดรังสีคอสมิก (อนุภาคจากอวกาศ) ด้วยอิเล็กทรอนิกส์พิเศษและเทคนิคการวิเคราะห์ข้อมูลครั้งแรกในประเทศไทย

คณะผู้บริหาร ม.มหิดล รับฟังข้อตกลงการปฏิบัติงานของส่วนงาน (PA-Visit) วิทยาลัยศาสนศึกษา ประจำปีงบประมาณ 2563
January 9, 2020
คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล แถลงผลสำเร็จ บางกอกน้อยโมเดล: ศิริราชประสบความสำเร็จ รุกเข้าถึงชุมชนเพิ่มคุณภาพชีวิตชาวบางกอกน้อย
January 9, 2020

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล เผยภารกิจปรับปรุงและดูแลอุปกรณ์วัดรังสีคอสมิก (อนุภาคจากอวกาศ) ด้วยอิเล็กทรอนิกส์พิเศษและเทคนิคการวิเคราะห์ข้อมูลครั้งแรกในประเทศไทย

sc-8

วันที่ 9 มกราคม 2563  คณะวิทยาศาสตร์  มหาวิทยาลัยมหิดล  แถลงข่าว “ฝันให้ไกล: งานวิจัยสู่ แอนตาร์กติกา” (Aim Far: Research in Antarctica led by Mahidol University)  ภารกิจปรับปรุงและดูแลอุปกรณ์วัดรังสีคอสมิก (อนุภาคจากอวกาศ) ด้วยอิเล็กทรอนิกส์พิเศษ และเทคนิคการวิเคราะห์ข้อมูลที่คณะนักวิจัยได้ริเริ่มและพัฒนาขึ้นในประเทศไทยเป็นครั้งแรก  โดยได้รับเกียรติจาก  H.E. Mr. Allan McKinnon PSM  เอกอัครราชทูตออสเตรเลียประจำประเทศไทย ผู้แทนรัฐบาลออสเตรเลีย ได้แสดงความยินดีกับมหาวิทยาลัยมหิดล และชื่นชมคณะผู้วิจัยฯ โดยมี ศาสตราจารย์ นายแพทย์ วชิร คชการ รักษาการแทนรองอธิการบดีฝ่ายวิจัยและวิชาการ มหาวิทยาลัยมหิดล รองศาสตราจารย์ ดร. พลังพล คงเสรี คณบดีคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ศาสตราจารย์พิเศษ ดร.เดวิด จอห์น รูฟโฟโล อาจารย์ประจำภาควิชาฟิสิกส์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล หัวหน้าโครงการวิจัยฯ อ.ดร.อเลฮานโดร ซาอิส ริเบรา อาจารย์ประจำภาควิชาฟิสิกส์ และนายประดิพัทธ์ เหมืองห้า นักศึกษาระดับปริญญาเอกด้านฟิสิกส์  ร่วมแถลงข่าวและเผยถึงภารกิจโครงการ  ณ ห้องประชุม K 102 อาคารเฉลิมพระเกียรติ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล พญาไท

ศาสตราจารย์พิเศษ ดร.เดวิด จอห์น รูฟโฟโล อาจารย์ประจำภาควิชาฟิสิกส์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล หัวหน้าโครงการวิจัยฯ ร่วมกับนักวิจัยจากมหาวิทยาลัยเชียงใหม่  และมหาวิทยาลัยในประเทศออสเตรเลีย ญี่ปุ่น และเกาหลีใต้ ได้ร่วมเสนอโครงการ Cosmic ray monitoring at Mawson and Kingston to study space weather and space physics จาก Australian Antarctic Division (AAD) ดำเนินการศึกษาสภาพอวกาศและผลกระทบ ทั้งนี้  ได้มีการส่ง 2 นักวิจัย อ.ดร.อเลฮานโดร ซาอิส ริเบรา อาจารย์ประจำภาควิชาฟิสิกส์ และนายประดิพัทธ์ เหมืองห้า นักศึกษาระดับปริญญาเอกด้านฟิสิกส์ เป็นผู้นำเทคนิคใหม่ที่คณะผู้วิจัยพัฒนาในประเทศไทย ไปใช้ติดตั้งอุปกรณ์วัดรังสีคอสมิก (อนุภาคจากอวกาศ) พร้อมปรับปรุงอิเล็กตรอนิกส์ที่วัดสัญญาณรังสีคอสมิกให้สามารถวัดจำนวนและพลังงานเฉลี่ยของรังสีคอสมิกได้อย่างแม่นยำ ณ สถานี Mawson ซึ่งตั้งอยู่ที่แอนตาร์กติกา พร้อมศึกษาการวิเคราะห์ข้อมูลรังสีคอสมิกที่ Kingston ประเทศออสเตรเลีย

Recent post