พิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) ระหว่างคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล กับ ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์

กองกายภาพและสิ่งแวดล้อม ม.มหิดล จัดโครงการ SDGs Visit (สถาบันนวัตกรรมการเรียนรู้ / สถาบันชีววิทยาศาสตร์โมเลกุล)
September 14, 2020
กองกายภาพและสิ่งแวดล้อม ม.มหิดล จัดโครงการส่งเสริมการบริหารจัดการขยะอย่างมีประสิทธิภาพ
September 16, 2020

พิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) ระหว่างคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล กับ ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์

bbb_0350

วันที่ 15 กันยายน 2563 รองศาสตราจารย์ ดร.ภญ.สุวัฒนา จุฬาวัฒนทล คณบดีคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดลและศาสตราจารย์ นายแพทย์นิธิ มหานนท์ เลขาธิการราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์  ร่วมลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการ (MOU) ณ ห้องประชุมใหญ่ ชั้น 4 อาคารศูนย์การแพทย์มะเร็งวิทยาจุฬาภรณ์ โรงพยาบาลจุฬาภรณ์

การทำข้อตกลงความร่วมมือในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. พัฒนาและส่งเสริมการศึกษาระดับปริญญาตรีและระดับบัณฑิตศึกษาในสาขาต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการแพทย์ 2. เพื่อร่วมกันพัฒนาและผลิตเภสัชศาสตรบัณฑิตในการตอบสนองความต้องการด้านเภสัชกรรมขององค์กร 3. เพื่อพัฒนางานด้านเภสัชศาสตร์ ทั้งในด้านการบริบาลผู้ป่วยและด้านการผลิตเภสัชภัณฑ์เพื่อความเป็นเลิศ 4. เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนการฝึกปฏิบัติงานทางเภสัชศาสตร์ทั้งในระดับทั่วไปและระดับเฉพาะทาง 5. เพื่อสนับสนุนความร่วมมือทางวิชาการผ่านโครงการพิเศษตามหลักสูตรเภสัชศาสตรบัณฑิตและงานวิจัย
อันจะนำไปสู่ผลลัพธ์ที่เป็นประโยชน์ในการพัฒนาวิชาชีพเภสัชกรรม 6. เพื่อส่งเสริมความร่วมมือในการพัฒนาทางวิชาการ การบริการ การวิจัย และการพัฒนาศักยภาพของบุคลากรทางการแพทย์ของทั้งสององค์กร และ 7. เพื่อส่งเสริมการร่วมกันดำเนินกิจกรรมอื่นๆ ที่เป็นประโยชน์ต่อทั้งสององค์กร อาทิ การวิจัยและการบริการวิชาการ โดยความเห็นชอบจากทั้งสององค์กร และไม่ขัดต่อกฎและระเบียบซึ่งทั้งสององค์กรผูกพัน

ทั้งนี้ ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ และ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล เห็นพ้องต้องกันและตระหนักถึงความสำคัญของความร่วมมือทางวิชาการ เพื่อพัฒนาหลักสูตรการเรียนการสอน การจัดการศึกษา และการวิจัยทางการแพทย์และเภสัชศาสตร์ โดยการสร้างเสริมประสบการณ์จริงผ่านระบบการฝึกงานในหลักสูตรระดับปริญญาตรีและระดับบัณฑิตศึกษา เพื่อให้นักศึกษาและบุคลากรมีโอกาสในการพัฒนาศักยภาพของตนเอง และสามารถประยุกต์และต่อยอดองค์ความรู้ทางวิชาการไปสู่การปฏิบัติงานจริง ซึ่งจะนำไปสู่การสร้างและพัฒนาทักษะในการปฏิบัติงาน สามารถตอบสนองความต้องการของงานด้านเภสัชกรรมทุกแขนงในประเทศไทย รวมทั้งส่งเสริมให้ระบบยาของประเทศไทยพัฒนาไปอย่างต่อเนื่อง ยั่งยืน และสามารถแข่งขันได้ในระดับสากล