คณะสาธารณสุขศาสตร์ ม.มหิดล ประชุมหารือการพัฒนาคณะสาธารณสุขศาสตร์ เป็นศูนย์ประสานการ ส่งเสริมสุขภาพมหิดล

คณะผู้บริหาร ม.มหิดล รับฟังข้อตกลงการปฏิบัติงานของส่วนงาน (PA Visit) คณะเวชศาสตร์เขตร้อน
October 1, 2020
คณะผู้บริหาร ม.มหิดล รับฟังข้อตกลงการปฏิบัติงานของส่วนงาน (PA Visit) คณะสาธารณสุขศาสตร์
October 1, 2020

คณะสาธารณสุขศาสตร์ ม.มหิดล ประชุมหารือการพัฒนาคณะสาธารณสุขศาสตร์ เป็นศูนย์ประสานการ ส่งเสริมสุขภาพมหิดล

S__46645261

วันที่ 1 ตุลาคม 2563 ศาสตราจารย์ นายแพทย์บรรจง มไหสวริยะ อธิการบดีมหาวิทยาลัยมหิดล พร้อมด้วย รองศาสตราจารย์ ดร.ชะนวนทอง ธนสุกาญจน์ คณบดีคณะสาธารณสุขศาสตร์ เข้าร่วมประชุมหารือการพัฒนาคณะสาธารณสุขศาสตร์ เป็นศูนย์ประสานการส่งเสริมสุขภาพมหิดล โดยมี รองศาสตราจารย์ แพทย์หญิงพรพันธุ์ บุณยรัตพันธุ์ ที่ปรึกษาคณบดีคณะสาธารณสุขศาสตร์ นายฐาปนา บุณยประวิตร นายกสมาคมการผังเมืองไทย เลขานุการกฎบัตรแห่งชาติ และคณะกรรมการโครงการกฎบัตรแห่งชาติ  เข้าร่วมการประชุม ณ ห้องประชุม ชั้น 4 อาคารเทพนม เมืองแมน คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

การประชุมครั้งนี้ จัดขึ้นเพื่อสร้างเครือข่ายความเข้มแข็งด้านสาธารณสุขของไทย เพื่อขับเคลื่อนการพัฒนาเศรษฐกิจฐานราก ส่งเสริมธุรกิจท้องถิ่น กระจายโอกาสไปยังทุกภาคส่วน กระตุ้นพฤติกรรมสุขภาวะ (Healthy Behaviors) เพื่อวางแผนสร้างชุมชนสุขภาวะด้านสุขภาพกายและสุขภาพจิต การบูรณาการโครงการพื้นฐานสาธารณสุขกับการใช้ประโยชน์ที่ดินและการคมนาคมขนส่ง การบริการรักษาสุขภาพ (Healthcare) สุขภาพดิจิทัล (Digital Health) ยาและผลิตภัณฑ์ทางยา (Medical Product) อาหารเพื่อสุขภาพ (Health Food) รวมถึงอุตสาหกรรมสมุนไพร (Herb Industry) เป็นต้น โดยการหารือเป็นการสร้างความร่วมมือขอองค์กรภาคีย่านนวัตกรรมการแพทย์โยธี และมหาวิทยาลัยมหิดล (Digital Health Area) ด้วยสร้างนักวิจัย เพื่อขับเคลื่อนส่วนกลาง ซึ่งตรงกับยุทธศาสตร์ของมหาวิทยาลัยมหิดล ตลอดจนการวิจัยค้นหาทุนทางสังคมในทุกกลุ่มที่สนับสนุนและให้ความร่วมมือ เพื่อผลักดันให้นโยบายดังกล่าวเกิดขึ้นในอนาคต โดยมีสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) จัดระบบข้อมูลให้เข้าถึงได้ง่าย รวมถึงความร่วมมือจากส่วนงานต่าง ๆ ของมหาวิทยาลัยมหิดล เพื่อบรรลุตามเป้าหมาย Healthy University และขับเคลื่อนการทำงานร่วมกับภาคี โดยเฉพาะการจัดทำข้อมูล จากผลงานวิจัยของมหาวิทยาลัยมหิดลและเครือข่าย มาสู่ระบบดิจิทัล ในรูปแบบบริการสร้างสุขภาพ (Wellness Approach) และเพื่อปฏิรูปการบริหารจัดการระบบบริการส่งเสริมสุขภาพ
ที่ดีให้กับประชาชนต่อไป