มหาวิทยาลัยมหิดล และ สวทช. ลงนามความร่วมมือ การพัฒนาวิธีสกัดอาร์เอ็นเอของเชื้อไวรัสจากตัวอย่างแบบง่าย พร้อมแถลงข่าว ความสำเร็จการพัฒนาชุดตรวจโรค COVID-19 ด้วยเทคนิคแลมป์เปลี่ยนสีในขั้นตอนเดียว

การตรวจประเมินคุณภาพตามเกณฑ์ EdPEx ประจำปี 2563 สถาบันพัฒนาสุขภาพอาเซียน ในรูปแบบการตรวจประเมิน Online MU EdPEx Assessment
July 16, 2020
มหาวิทยาลัยมหิดล จัดงานเสวนาเรื่อง “Sustainable University Leader towards UI GreenMetric World University Rankings”
July 17, 2020

มหาวิทยาลัยมหิดล และ สวทช. ลงนามความร่วมมือ การพัฒนาวิธีสกัดอาร์เอ็นเอของเชื้อไวรัสจากตัวอย่างแบบง่าย พร้อมแถลงข่าว ความสำเร็จการพัฒนาชุดตรวจโรค COVID-19 ด้วยเทคนิคแลมป์เปลี่ยนสีในขั้นตอนเดียว

nd07

วันที่ 16 กรกฎาคม 2563  มหาวิทยาลัยมหิดล  ร่วมกับ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.)  และศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (ไบโอเทค)  ลงนามความร่วมมือด้านการวิจัยและพัฒนาด้านสุขภาพและการแพทย์  พร้อมแถลงข่าว การพัฒนาวิธีสกัดอาร์เอ็นเอของเชื้อไวรัสจากตัวอย่างแบบง่ายและรวดเร็ว และชุดตรวจ COVID-19 ด้วยเทคนิคแลมป์เปลี่ยนสีในขั้นตอนเดียว (COVID-19 XO-AMP colorimetric detection kit) โดยมี  ศาสตราจารย์ นายแพทย์ บรรจง มไหสวริยะ อธิการบดีมหาวิทยาลัยมหิดล ดร.ณรงค์  ศิริเลิศวรกุล ผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ดร.วรรณพ  วิเศษสงวน  ผู้อำนวยการศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (ไบโอเทค) และ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ นายแพทย์ วีระพงษ์  ภูมิรัตนประพิณ คณบดีคณะเวชศาสตร์เขตร้อน มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมแถลงข่าว  ณ โถงอาคาร C ชั้น 1 อาคารกลุ่มนวัตกรรม 2 (INC2) อุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย จังหวัดปทุมธานี

ศาสตราจารย์ นายแพทย์ บรรจง มไหสวริยะ อธิการบดีมหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวว่า ความร่วมมือในการพัฒนาวิธีสกัดอาร์เอ็นเอของเชื้อไวรัสจากตัวอย่างแบบง่ายและรวดเร็ว และชุดตรวจ COVID-19 XO-AMP colorimetric detection kit โดยมีคณะเวชศาสตร์เขตร้อน มหาวิทยาลัยมหิดล เป็นผู้ดำเนินการวิจัยและพัฒนาร่วมกับไบโอเทค   สวทช. เป็นการดำเนินการเพื่อตอบสนองระบบสาธารณสุขของประเทศที่ขณะนี้ได้รับผลกระทบอย่างมาก    จากปัญหาการระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ หรือ Covid-19   ความร่วมมือด้านการวิจัยและพัฒนาด้านสุขภาพ และการแพทย์  จึงมีความจำเป็นอย่างมากและเป็นเรื่องเร่งด่วน มหาวิทยาลัยมหิดลมีนโยบายในการสนับสนุนทุกส่วนงานของมหาวิทยาลัย รวมทั้งสนับสนุนให้อาจารย์นักวิจัย นักวิชาการ ได้มีการผลิตผลงานนวัตกรรม หรืองานวิจัย ที่สามารถต่อยอดออกไปเป็นผลงานที่สามารถแก้ปัญหาของประเทศได้อย่างตรงเป้าหมาย  และงานวิจัยครั้งนี้  ถือได้ว่าเป็นความร่วมมือครั้งสำคัญทางด้านการแพทย์ การสาธารณสุขที่ช่วยแก้ปัญหาของประเทศได้อย่างตรงจุด และรวดเร็ว

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ นายแพทย์ วีระพงษ์  ภูมิรัตนประพิณ คณบดีคณะเวชศาสตร์เขตร้อน มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวถึงบทบาทของคณะเวชศาสตร์เขตร้อน มหาวิทยาลัยมหิดล ในการพัฒนางานวิจัยร่วมกับ สวทช. โดยได้มีการร่วมหารือและแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ต่าง ๆ  ในการวินิจฉัย การรักษาและป้องกันโรค โดยคณะฯ มีห้องปฏิบัติการอ้างอิงด้านโรคเขตร้อน (Tropical Medicine Diagnostic Reference Laboratory) หรือ TMDR โดยเป็นเครือข่ายตรวจ SARS-CoV-2 ที่ผ่านการทดสอบจากกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ และได้รับรองคุณภาพห้องปฏิบัติการ รวมทั้ง ผู้ป่วยของโรงพยาบาลเวชศาสตร์เขตร้อน ได้ให้ความร่วมมือในการเป็นตัวอย่างของงานวิจัยครั้งนี้เป็นอย่างดี  ขณะเดียวกัน ทีมนักวิจัย สวทช. ได้พัฒนาผลิตภัณฑ์ด้านการตรวจวินิจฉัย และป้องกันโรคได้ จนพัฒนาต่อยอดให้เป็นงานวิจัยเชิงพาณิชย์ 2 โครงการ ได้แก่ ชุดสกัด RNA จาก magnetic beads และ การตรวจวินิจฉัยโรค COVID-19 โดย LAMP technique

การพัฒนาชุดตรวจโรค COVID-19 ด้วยเทคนิคแลมป์เปลี่ยนสีในขั้นตอนเดียว หรือ COVID-19 XO-AMP colorimetric detection kit โดยทีมนักวิจัยได้พัฒนาสูตรน้ำยาขึ้น ด้วยการนำเอาเทคนิคแลมป์ หรือ Loop-mediated isothermal amplification (LAMP) มาใช้ร่วมกับสีบ่งชี้ปฏิกิริยา Xylenol Orange หรือ XO เพื่อให้สามารถอ่านผลการตรวจได้ด้วยตาเปล่า โดยสังเกตจากสีที่เปลี่ยนไปเมื่อมีการเพิ่มปริมาณสารพันธุกรรมของไวรัส SARS-CoV-2 ด้วยเทคนิคแลมป์ในหลอดทดสอบ โดยหากมีการติดเชื้อไวรัส SARS-CoV-2 สีของสารละลายจะเปลี่ยนจากสีม่วงเป็นสีเหลือง แต่ถ้าไม่มีการติดเชื้อ สีของสารละลายจะยังคงเป็นสีม่วง เทคนิคแลมป์เปลี่ยนสีในขั้นตอนเดียวนี้ มีความไว ความจำเพาะและความแม่นยำสูง เป็นการทำงานแบบขั้นตอนเดียว ที่ไม่ยุ่งยาก และใช้เวลาทดสอบเพียง 75 นาที นอกจากนี้ ยังมีการพัฒนาชุดตรวจควบคุมภายใน COVID-19 Internal Control colorimetric detection kit เพิ่มเติม เพื่อเพิ่มความเชื่อมั่นว่าอาร์เอ็นเอที่สกัดจากตัวอย่างส่งตรวจซึ่งมีข้อแตกต่างจากชุดตรวจโรค  COVID-19 ที่มีอยู่ทั่วไปถือเป็นความร่วมมือทางการแพทย์ในการสนับสนุนงานวิจัยและพัฒนาของมหาวิทยาลัยมหิดล ด้านนวัตกรรมและงานวิจัยด้านสาธารณสุข ในการผลิตชุดตรวจประสิทธิภาพสูง มาใช้ตรวจสอบโรคได้มากขึ้น เพื่อช่วยในการป้องกัและเป็นแรงสนับสนุนในการจัดการขอโรค COVID-19 ได้ดีมากขึ้น

Recent post