กองบริหารงานวิจัย มหาวิทยาลัยมหิดล จัดอบรมเชิงปฏิบัติการ “โครงการติดอาวุธให้นักวิจัยรุ่นใหม่ ผ่าน Multi Mentoring System” รุ่นที่ 4

มหาวิทยาลัยมหิดล มอบรางวัล “มหิดลทยากร” และ “รางวัลคนดีศรีมหิดล” เนื่องในโอกาสครบรอบ “51 ปี วันพระราชทานนาม 132 ปี มหาวิทยาลัยมหิดล”
March 2, 2020
มหาวิทยาลัยมหิดล จัดโครงการพัฒนากระบวนการวัดและประเมินผลด้านการศึกษา ครั้งที่ 2
March 3, 2020

กองบริหารงานวิจัย มหาวิทยาลัยมหิดล จัดอบรมเชิงปฏิบัติการ “โครงการติดอาวุธให้นักวิจัยรุ่นใหม่ ผ่าน Multi Mentoring System” รุ่นที่ 4

multi24

วันที่ 3 มีนาคม 2563 ศาสตราจารย์ นพ.บรรจง มไหสวริยะ รักษาการแทนอธิการบดีมหาวิทยาลัยมหิดล เป็นประธานเปิดการอบรมเชิงปฏิบัติการ “โครงการติดอาวุธให้นักวิจัยรุ่นใหม่ ผ่าน Multi Mentoring System” รุ่นที่ 4 และให้เกียรติบรรยายในหัวข้อ “ความสำคัญของ University Ranking และบทบาทของนักวิจัยรุ่นใหม่” จากนั้นเป็นการบรรยายในหัวข้อ “ความก้าวหน้าของอาจารย์และนักวิจัยในมหาวิทยาลัย” โดย ศาสตราจารย์ นพ.วชิร คชการ รักษาการแทนรองอธิการบดีฝ่ายวิจัยและวิชาการ มหาวิทยาลัยมหิดล ณ ห้องประชุมอาคารประชาสังคมอุดมพัฒน์ ชั้น 1 สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา

สำหรับโครงการติดอาวุธให้นักวิจัยรุ่นใหม่ ผ่าน Multi Mentoring System เกิดจากความร่วมมือของมหาวิทยาลัยมหิดล สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกสว.) และ สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) เพื่อสร้างความมั่นใจว่านักวิจัยรุ่นใหม่ที่เข้าร่วมโครงการจะสามารถสร้างโจทย์วิจัยที่เป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาประเทศ ผลิตผลงานวิจัยที่มีมาตรฐานสูง ได้รับการตีพิมพ์ในระดับนานาชาติ ตลอดจนกระตุ้นให้นักวิจัยได้มองเห็นแนวทางในการพัฒนานวัตกรรมและองค์ความรู้เพื่อนำไปสู่การแก้ไขปัญหาของประเทศได้

การอบรมเชิงปฏิบัติการ “โครงการติดอาวุธให้นักวิจัยรุ่นใหม่ ผ่าน Multi Mentoring System” รุ่นที่ 4 กำหนดจัดขึ้นระหว่างวันที่ 3-5 มีนาคม 2563 โดยมีหัวข้อที่น่าสนใจ อาทิ
– “How to write a good review article”
– เสวนา ในหัวข้อ“ทิศทางการสร้างงานวิจัยแบบบูรณาการให้ตอบโจทย์ประเทศและการสร้างเครือข่ายวิจัยระดับนานาชาติ”
– การอบรมเชิงปฎิบัติการ “เทคนิคการเขียนข้อเสนอโครงการอย่างไรให้ได้รับทุน : วิจัยเพื่อสร้างองค์ความรู้ และนำผลงานไปใช้ประโยชน์”
– การบรรยายในหัวข้อ “การทำวิจัยกลุ่มผู้ใช้งาน (Research to Innovation) อย่างมีชั้นเชิง” การบรรยายหัวข้อ “Research to Innovation”
– การบรรยายในหัวข้อ “การบริหารจัดการทุนวิจัยอย่างมืออาชีพ” การเสวนาพิเศษในหัวข้อ “ระบบนักวิจัยที่ปรึกษาสำนักวิจัยรุ่นใหม่: ความสำคัญของกลุ่มวิจัย multi-generation researcher”
– การเสวนาในหัวข้อ “ทำอย่างไรงานวิจัย “ไม่”ขึ้นหิ้ง : การพัฒนานวัตกรรมและการนำไปใช้เชิงพาณิชย์ สังคมและชุมชน”
– การเสวนาในหัวข้อ “นักวิจัยพี่เลี้ยง : เข็มทิศนำทางชีวิตนักวิจัย” “จริยธรรรมการวิจัยในยุคประเทศไทย 4.0
– บรรยายในหัวข้อ “การขอและสืบค้นทรัพย์สินทางปัญญา และกฎหมายที่เกี่ยวข้อง” เป็นต้น

Recent post