มหาวิทยาลัยมหิดลเข้าร่วม ”พิธีแสดงเจตจำนงเข้าร่วมกฏบัตรภาคีปัญญาประดิษฐ์ประเทศไทย (Thai AI Consortium)

คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมกับ มูลนิธิไทยคม แถลงข่าวการจัดงาน “แสงนำใจ ไทยทั้งชาติ เดิน วิ่ง ปั่น ป้องกันอัมพาต ครั้งที่ 6 เฉลิมพระเกียรติ”
September 11, 2020
มหาวิทยาลัยมหิดล ลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือการจัดตั้ง “ศูนย์ความเป็นเลิศด้านนวัตกรรมผลิตภัณฑ์สมุนไพรไทย”
September 14, 2020

มหาวิทยาลัยมหิดลเข้าร่วม ”พิธีแสดงเจตจำนงเข้าร่วมกฏบัตรภาคีปัญญาประดิษฐ์ประเทศไทย (Thai AI Consortium)

fa06

วันที่ 14 กันยายน 2563 ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. ธัชวีร์ ลีละวัฒน์ รองอธิการบดีฝ่ายสารสนเทศและวิทยาเขตกาญจนบุรี เข้าร่วม ”พิธีแสดงเจตจำนงเข้าร่วมกฏบัตรภาคีปัญญาประดิษฐ์ประเทศไทย (Thai AI Consortium)” “พิธีเปิดโครงการพัฒนานวัตกรรม/วิศวกร/นักวิจัย/วิทยากร/วิสาหกิจเริ่มต้นด้านปัญญาประดิษฐ์ (Super AI Engineer Development Program)” และ”พิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือการจัดการองค์ความรู้ดิจิทัล การรับรองและพัฒนาทักษะด้านปัญญาประดิษฐ์ของประเทศ (AI Academy Alliance)” โดยมี ศาสตราจารย์พิเศษ ดร.เอนก เหล่าธรรมทัศน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม เป็นประธานเปิดงาน พร้อมปาฐกถาพิเศษ จากนั้น เป็นการเสวนาเรื่อง “มองอนาคตปัญญาประดิษฐ์แห่งประเทศไทย” โดย ดร.สุพจน์ เธียรวุฒิ ผู้อํานวยการสํานักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (DGA) ดร. ชัย วุฒิวิวัฒน์ชัย ผู้อํานวยการศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ ดร.สุรพันธ์ เมฆนาวิน กรรมการบริษัท กสท โทรคมนาคม จํากัด (มหาชน) และนายกสมาคมส่งเสริมเทคโนโลยี (ไทย-ญี่ปุ่น) และคุณณัฐวุฒิ อมรวิวัฒน์ ประธาน บริษัท ทรู ดิจิทัล กรุ๊ป ณ โรงละคอนแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

สมาคมปัญญาประดิษฐ์ประเทศไทย (Artificial Intelligence Association of Thailand: AIAT) ศูนย์อีเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (เนคเทค) สำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน) (สพร.) สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล (DEPA) และองค์การเครือข่าย ได้มีการหารือเกี่ยวกับปัญญาประดิษฐ์ของประเทศไทย จึงนำมาซึ่ง “ความร่วมมือก่อตั้งกฏบัตรภาคีปัญญาประดิษฐ์ประเทศไทย (Thai AI Consortium)” เป็นข้อตกลงความร่วมมือระหว่างองค์กรภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคการศึกษา ซี่งเครือข่ายภาคีนี้จะเป็นองค์กรที่ทุกภาคส่วนสามารถเข้ามาแลกเปลี่ยน ความรู้ ทรัพยากร และการพัฒนาซอฟต์แวร์ร่วมกัน ด้วยระบบสังคมดิจิทัล (Digital Economy) บนฐานของโครงการที่มีคุณภาพระดับสากล และมีโอกาสขยายเครือข่ายไปยังต่างประเทศ อีกทั้งยังเป็นแหล่งที่สามารถพัฒนาคนให้มีทักษะด้านปัญญาประดิษฐ์มากขึ้น

การรวมตัวในครั้งนี้ มีหน่วยงานในความร่วมมือทั้งสิ้น 73 หน่วยงาน แสดงถึงศักยภาพของประเทศไทยที่พร้อมจะขับเคลื่อนไปสู่สังคมปัญญาประดิษฐ์ ซึ่งถือเป็นจุดเริ่มต้นของการสร้างระบบนิเวศ (ecosystem) ทางปัญญาประดิษฐ์ของประเทศ โดยมุ่งหวังการร่วมกันวิจัยพัฒนาสร้างนวัตกรรมระบบที่ใช้ปัญญาประดิษฐ์และสร้างองค์ความรู้ด้านปัญญาประดิษฐ์ เพื่อนําไปช่วยพัฒนาประเทศ ทั้งในด้านการยกระดับคุณภาพชีวิต การลดต้นทุน การเพิ่มประสิทธิภาพ ประสิทธิผล และผลผลิต และการยกระดับความสามารถในการแข่งขันของประเทศ รวมทั้งส่งเสริมการนําเทคโนโลยี ปัญญาประดิษฐ์ไปใช้ประโยชน์ ในภาครัฐและภาคเอกชนในวงกว้างและเข้าถึงได้โดยง่าย