มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมพิธีลงนามบันทึกความเข้าใจทางวิชาการ (MOU) การจัดตั้งภาคีวิจัยวิทยาศาสตร์บรรยากาศแห่งประเทศไทย

มหาวิทยาลัยมหิดล จัดงานพิธีทำบุญปิดทองตราสัญลักษณ์มหาวิทยาลัยมหิดล
November 23, 2020
มหาวิทยาลัยมหิดล ขอแสดงความยินดี กับ คณบดีคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล ในโอกาสได้รับรางวัลนักบริหารโรงพยาบาลดีเด่นแห่งชาติ ประจำปี 2563
November 23, 2020

มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมพิธีลงนามบันทึกความเข้าใจทางวิชาการ (MOU) การจัดตั้งภาคีวิจัยวิทยาศาสตร์บรรยากาศแห่งประเทศไทย

MOU_201123_01116

วันที่ 23 พฤศจิกายน 2563 ศาสตราจารย์พิเศษ ดร.เอนก เหล่าธรรมทัศน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม เป็นประธาน ในพิธีลงนามบันทึกความเข้าใจทางวิชาการ (MOU) การจัดตั้งภาคีวิจัยวิทยาศาสตร์บรรยากาศแห่งประเทศไทย โดยมี รองศาสตราจารย์ ดร. ภญ.จุฑามณี สุทธิสีสังข์ รองอธิการบดีฝ่ายนโยบายและแผน มหาวิทยาลัยมหิดล เข้าร่วมพิธีลงนามด้วย และได้รับเกียรติจาก ศาสตราจารย์ นายแพทย์สิริฤกษ์  ทรงศิวิไล ปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม มอบของที่ระลึกให้ภาคีเครือข่าย ทั้ง 28 หน่วยงาน ที่เข้าร่วมพิธีลงนามในครั้งนี้ ณ ห้องกมลทิพย์ โรงแรม เดอะ สุโกศล กรุงเทพฯ

ศาสตราจารย์พิเศษ ดร.เอนก เหล่าธรรมทัศน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม กล่าวว่า ในปัจจุบันโลกต้องเผชิญกับสภาวะการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่รุนแรงมากขึ้น จากการเพิ่มขึ้นของปริมาณก๊าซเรือนกระจก เป็นเหตุให้นานาประเทศหันมาสนใจและตระหนักถึงผลกระทบและความเสียหายในด้านต่าง ๆ ที่จะตามมา สำหรับประเทศไทยก็ได้รับผลกระทบด้านมลพิษทางอากาศ นับวันจะทวีความรุนแรงมากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ปัญหาฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM 2.5 ที่ส่งผลต่อคุณภาพชีวิตของคนไทย และปัญหาการเกิดมลพิษอื่น ๆ ซึ่งต้องแก้ไขอย่างเร่งด่วน และต้องอาศัยความร่วมมือจากหลายฝ่าย ทั้งหน่่วยงานและบุคลากรที่มีความรู้ ความเชี่ยวชาญ นำองค์ความรู้มาบูรณาการให้เกิดผลสัมฤทธิ์ที่เป็นรูปธรรม เพื่อศึกษาสาเหตุและกลไกการเกิดมลพิษทางอากาศ รวมทั้งหาแนวทางป้องกันผลกระทบที่จะเกิดขึ้นกับมนุษย์

การลงนามความร่วมมือครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ เพื่อประสานความร่วมมืองานวิจัยด้านบรรยากาศและคุณภาพอากาศในประเทศไทยจากสถาบันการศึกษาต่าง ๆ เพื่อร่วมกันจัดทำแผนที่นำทางของการวิจัยแบบบูรณาการ การจัดสร้างห้องปฏิบัติการกลางที่มีเครื่องมือที่ทันสมัย สนับสนุนการวิจัยบรรยากาศ การพัฒนาระบบฐานข้อมูล การสร้างนวัตกรรมที่เกี่ยวข้องกับวิทยาศาสตร์บรรยากาศ รวมถึงการสร้างเครือข่ายความร่วมมือทั้งในและต่างประเทศ อีกทั้ง ยังเป็นการพัฒนาบุคลากรด้านการวิจัยบรรยากาศ และผลักดันให้มีการนำผลงานวิจัยไปใช้ประโยชน์ได้จริง