มหาวิทยาลัยมหิดล จัดสัมมนาวิชาการออนไลน์ “มหิดลรวมพลคนทำสื่อ” ครั้งที่ 6 สู้วิกฤติ COVID-19 ในหัวข้อ “การสื่อสารยุค Social Distancing”

การตรวจประเมินคุณภาพคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล ตามเกณฑ์ EdPEx ประจำปี 2563 ในรูปแบบการตรวจประเมิน Online MU EdPEx Assessment
August 7, 2020
คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ลงนามความร่วมมือกับ บมจ.ธนบุรี เฮลท์แคร์ กรุ๊ป จัดตั้งศูนย์วิจัยและพัฒนานวัตกรรมเครื่องมือแพทย์และบริการทางการแพทย์
August 10, 2020

มหาวิทยาลัยมหิดล จัดสัมมนาวิชาการออนไลน์ “มหิดลรวมพลคนทำสื่อ” ครั้งที่ 6 สู้วิกฤติ COVID-19 ในหัวข้อ “การสื่อสารยุค Social Distancing”

1596883122561_copy_1024x575

วันที่ 8 สิงหาคม 2563 มหาวิทยาลัยมหิดล โดย กองบริหารการศึกษา ร่วมกับ เครือข่ายคนทำสื่อ จัดสัมมนาวิชาการออนไลน์ “มหิดลรวมพลคนทำสื่อ” ครั้งที่ 6 สู้วิกฤติ COVID-19 ในหัวข้อ “การสื่อสารยุค Social Distancing” โดยได้รับเกียรติจาก รองศาสตราจารย์ ดร. นภเรณู สัจจรักษ์ ธีระฐิติ รักษาการแทนรองอธิการบดีฝ่ายวิเทศสัมพันธ์และสื่อสารองค์กร มหาวิทยาลัยมหิดล รองศาสตราจารย์ ดร.อัศวิน เนตรโพธิ์แก้ว ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายสื่อสารองค์การและกิจการนักศึกษา สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (NIDA) ผู้ช่วยศาสตราจารย์ รัชด ชมภูนิช รองอธิการบดีฝ่ายพัฒนาอย่างยั่งยืนและสื่อสารองค์กร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ร่วมเสวนาในหัวข้อ “การปรับเปลี่ยนการสื่อสารในช่วงวิกฤติของสถาบันการศึกษา”

รองศาสตราจารย์ ดร. นภเรณู สัจจรักษ์ ธีระฐิติ รักษาการแทนรองอธิการบดีฝ่ายวิเทศสัมพันธ์และสื่อสารองค์กร มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวว่า การสื่อสารของมหาวิทยาลัยมหิดล เน้น Content เป็นหลัก และการใช้ Platform ในการสื่อสาร โดยแบ่งแนวคิดของการสื่อสารออกเป็นการสื่อสารภายในและการสื่อสารภายนอก สำหรับการสื่อสารภายใน จะมีการเสนอข่าวที่เกิดขึ้นเป็นประจำ และการสื่อสารการเปลี่ยนแปลงในเชิงนโยบาย แต่เมื่อเกิดวิกฤติ COVID-19 นั้น จึงต้องปรับเปลี่ยนเนื้อหาที่เกี่ยวกับสถานการณ์ COVID-19 กลุ่มเป้าหมายในการสื่อสารของมหิดล นอกจากจะมีบุคลากรและนักศึกษาแล้ว เรายังมีการสื่อสารกับผู้ที่ได้รับผลกระทบจาก COVID-19 ที่รักษาอยู่ที่โรงพยาบาลในสังกัดของมหาวิทยาลัยมหิดล และมหาวิทยาลัยเอง ก็พบนักศึกษาและบุคลากรของมหาวิทยาลัย เป็น Infected Case ทำให้การสื่อสารภายในแตกต่างจากที่อื่น จึงจะต้องสื่อสารให้ตรงประเด็น สิ่งที่สำคัญคือ จะต้องทำให้เกิดความวางใจ เชื่อใจ จะถูกปฏิบัติต่อด้วยความระมัดระวัง เพื่อไม่ให้ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ดังกล่าว การสื่อสารภายในนอกจาก Content แล้ว ยังมีกระบวนการทำงานเพิ่มเติมที่ร่วมกับหน่วยงานอื่นภายในมหาวิทยาลัย เพื่อให้การสื่อสารไปถึงบุคลากรภายในมหาวิทยาลัยและบุคคลภายนอก เช่น การทำประกาศเผยแพร่ เพื่อให้ทราบกระบวนการต่างๆภายในมหาวิทยาลัย นอกจากนี้ ยังมีการจัดทำคลังข้อมูลความรู้เกี่ยวกับ COVID-19 ในเว็บไซต์ของมหาวิทยาลัย โดยเป็นการรวบรวมองค์ความรู้จากส่วนกลาง และส่วนงานต่างๆของมหาวิทยาลัยมหิดล เพื่อให้ทุกกลุ่มเป้าหมายเข้าถึงได้

สำหรับการสื่อสารภายนอกนั้น จะทำอย่างไรเพื่อให้แบรนด์ “มหิดล” มีความน่าเชื่อถือ ไม่ใช่แค่ในเชิงวิชาการเท่านั้น แต่ยังน่าเชื่อถือในเชิงวิกฤติด้วย มหาวิทยาลัยเน้นการสื่อสารภายนอก มี Mahidol Channel ในการเชื่อมระหว่างสถาบันอุดมศึกษาและสังคมภายนอก ในช่วงวิกฤติ COVID-19 เราก็ใช้สื่อออนไลน์เป็นหลัก ประกอบกับวิกฤตินี้ ทำให้เกิดการค้นหาข้อมูลมากขึ้น จึงมีการปรับ Content เป็นรูปแบบ External communication x Brand Engagement เพื่อให้สื่อออกไปยังสาธารณะมากขึ้น เช่น รายการใน Mahidol Channel จะมีซีรีส์เกี่ยวกับ COVID-19 ทั้งหมด โดยได้รับความร่วมมือจากส่วนงานภายในมหาวิทยาลัยเป็นอย่างดี นอกจากนี้ยังมีการเผยแพร่เนื้อหาทางด้านวิชาการและนวัตกรรมต่างๆ หรือองค์ความรู้เกี่ยวกับ COVID-19 ทางสื่อหลัก ทั้งสื่อโทรทัศน์ และสื่อหนังสือพิมพ์มากขึ้น และการใช้ช่องทางออนไลน์ของ Mahidol Channel และส่วนงานภายในมหาวิทยาลัย ทำกิจกรรมกับสังคม เช่น โครงการ “สวมเกราะให้นักรบเสื้อกาวน์” ของ Mahidol Channel

จากนั้น เป็นการบรรยายในหัวข้อต่างๆ ได้แก่ “สอนออนไลน์อย่างไร ให้โดนใจผู้เรียน” และ “เทคนิคการสัมมนาออนไลน์” โดยวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิจากภายนอก

การเสวนาวิชาการออนไลน์ “มหิดลรวมพลคนทำสื่อ” เป็นการขยายเครือข่ายคนทำสื่อทุกสาขาที่ต้องการส่งเสริมให้มหาวิทยาลัยมหิดลเป็นผู้นำในการสร้างมาตรฐานของการคิดค้นและพัฒนาด้านเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษาอย่างไม่หยุดนิ่ง ให้สอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาล เพื่อแลกเปลี่ยนประสบการณ์ด้านเทคโนโลยีและการสื่อสารการศึกษา โดยในปีนี้ เนื่องจากการระบาดของเชื้อไวรัส COVID-19 ทำให้สถาบันการศึกษา อาจารย์ บุคลากร และนักศึกษา ไม่สามารถใช้รูปแบบการเรียนการสอน และบริการการศึกษาในสถานศึกษาแบบปกติ ต้องปรับตัวใช้เครื่องมือการเรียนการสอนแบบออนไลน์ การเสวนาในครั้งนี้จึงเป็นการแนะนำระบบที่ช่วยสนับสนุนการจัดการเรียนการสอนและการประเมินผลการศึกษาออนไลน์ ระบบเครือข่ายการสื่อสาร และระบบสนับสนุน รวมถึงการประชาสัมพันธ์ แบบ New Normal ผู้สนใจสามารถรับชมย้อนหลังผ่านทางระบบ Facebook Live ที่ Mahidol University Extension [https://www.facebook.com/MUx.Mahidol]