คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี ม.มหิดล จัดงานแถลงข่าว “รามาธิบดีกับการตรวจหาเชื้อ COVID-19 ทางน้ำลายและการใช้เทคโนโลยี LAMP PCR”

มหาวิทยาลัยมหิดลมอบหน้ากากอนามัยป้องกันการแพร่กระจายเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ให้แก่โรงพยาบาลและสาธารณสุขอำเภอในจังหวัดนครปฐม
April 24, 2020
คณะสาธารณสุขศาสตร์ ม.มหิดล ร่วมเสวนาออนไลน์ VIRTUAL FORUM หัวข้อ “เปิดเมืองอย่างไรให้ปลอดภัย LIVING WITH COVID-19”
April 26, 2020

คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี ม.มหิดล จัดงานแถลงข่าว “รามาธิบดีกับการตรวจหาเชื้อ COVID-19 ทางน้ำลายและการใช้เทคโนโลยี LAMP PCR”

S__19398700_1024x576

วันที่ 24 เมษายน 2563 ศาสตราจารย์ นพ.ปิยะมิตร ศรีธรา คณบดีคณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล พร้อมด้วย รองศาสตราจารย์ ดร.พลังพล คงเสรี คณบดีคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล และนายแพทย์ สุรัคเมธ มหาศิริมงคล ผู้อำนวยการกองสนับสนุนนวัตกรรมและอุตสาหกรรมสุขภาพ กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข ร่วมงานแถลงข่าว “การตรวจหาเชื้อ COVID-19 ทางน้ำลายและการใช้เทคโนโลยี LAMP PCR” ซึ่งเป็นความร่วมมือระหว่าง กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล และคณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล ณ ห้องประชุมอรรถสิทธิ์ เวชชาชีวะ ชั้น 5 อาคารศูนย์การแพทย์สิริกิติ์ คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล

จากนั้น ทีมวิจัย ได้แก่ รองศาสตราจารย์ พญ.สิริอร วัชรานานันท์ สาขาวิชาโรคติดเชื้อ ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล อาจารย์ ดร.เอกวัฒน์  ผสมทรัพย์ ภาควิชาพยาธิวิทยา คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พญ.อังสนา ภู่เผือกรัตน์ สาขาวิชาโรคติดเชื้อ ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล และผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สมชาย เชื้อวัชรินทร์ ผู้อำนวยการศูนย์ความเป็นเลิศด้านเทคโนโลยีชีวภาพทางการแพทย์ (CEMB) และภาควิชาเทคโนโลยีชีวภาพ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวถึงที่มาของโครงการวิจัย ศึกษาวิธีการตรวจหาเชื้อ SARS-CoV2 จากน้ำลาย เพื่อคัดกรองผู้ติดเชื้อ COVID-19 การเก็บตัวอย่างน้ำลาย และตัวอย่างตรวจจากโพรงหลังจมูกและลำคอ จากผู้เข้ารับการตรวจที่คลินิกโรคระบบทางเดินหายใจ (ARI clinic) ในโรงพยาบาลรามาธิบดี ที่อายุมากกว่า 18 ปี มีอาการทางเดินหายใจและเข้าเกณฑ์เฝ้าระวังและสอบสวนผู้ป่วย COVID-19 (PUI) ในช่วงที่มีการระบาดของ COVID-19 ในกรุงเทพมหานคร จำนวน 200 ราย จากการทบทวนวรรณกรรมพบว่าต่อมน้ำลายมีตัวรับ (receptor) ของเชื้อ SARS-CoV-2 ซึ่งเป็นสาเหตุของ COVID-19 และพบว่าในผู้ป่วยที่ได้รับการยืนยันการวินิจฉัยโรค COVID-19 แล้ว สามารถตรวจพบเชื้อได้ในน้ำลายในช่วงที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล จึงเป็นที่มาของการศึกษานี้ โดยคณะผู้วิจัยต้องการศึกษาความสามารถของการใช้น้ำลายเพื่อการวินิจฉัย COVID-19

จากผลการศึกษาพบว่าการใช้น้ำลายเพื่อเป็นตัวอย่างในการตรวจวินิจฉัย COVID-19 มีความไวและความจำเพาะสูง การเก็บน้ำลายเพื่อเป็นตัวอย่างในการตรวจวินิจฉัย COVID-19 มีความเป็นไปได้ในการนำไปต่อยอดในการค้นหาผู้ป่วยในชุมชน และสถานที่ที่มีทรัพยากรจำกัด เนื่องจากการตรวจมีความสะดวก และสามารถเก็บตัวอย่างได้รวดเร็วในกลุ่มประชากรจำนวนมากได้ อีกทั้งยังสามารถลดการใช้ PPE และอุปกรณ์เก็บสิ่งส่งตรวจ คณะผู้วิจัยกำลังดำเนินการศึกษาวิธีการตรวจหาการติดเชื้อ SARS-CoV-2 ที่มีความไวสูง เพื่อเป็นเครื่องมีในการวินิจฉัย COVID-19 ที่ดียิ่งขึ้นต่อไป

Recent post