มหาวิทยาลัยมหิดล จัดงานครบรอบ “51 ปีวันพระราชทานนาม 132 ปี มหาวิทยาลัยมหิดล”

ประชุมหารือความร่วมมือทางวิชาการและการวิจัย กับ Curtin University ประเทศออสเตรเลีย
March 2, 2020

มหาวิทยาลัยมหิดล จัดงานครบรอบ “51 ปีวันพระราชทานนาม 132 ปี มหาวิทยาลัยมหิดล”

mu name20

วันที่ 2 มีนาคม 2563 มหาวิทยาลัยมหิดล จัดงานครบรอบ “51 ปีวันพระราชทานนาม 132 ปี มหาวิทยาลัยมหิดล” โดยมี ศาสตราจารย์ นายแพทย์บรรจง มไหสวริยะ รักษาการแทนอธิการบดี มหาวิทยาลัยมหิดล เป็นประธานพิธีวางพานพุ่มถวายราชสักการะพระบรมรูปสมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก พร้อมด้วย ศาสตราจารย์คลินิกเกียรติคุณ นายแพทย์ปิยะสกล สกลสัตยาทร นายกสภามหาวิทยาลัยมหิดล และผู้บริหารมหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมในพิธี จากนั้น เป็นพิธีเปิดนิทรรศการ เรื่อง “มหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์” รุ่งอรุณ ก่อนเก่า เรามหิดล ณ บริเวณห้องโถง ชั้น 1 สํานักงานอธิการบดี มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา โดยมีผู้ร่วมงานจากองค์กรภายนอกและส่วนงานต่าง ๆ ภายในมหาวิทยาลัยร่วมงานจำนวนมาก

นอกจากนี้ มีพิธีบําเพ็ญกุศลถวายเป็นพระราชกุศลแด่สมเด็จพระบรมราชชนก และการแสดงปาฐกถาเกียรติยศ ศาสตราจารย์นายแพทย์ชัชวาล โอสถานนท์ ครั้งที่ 11 เรื่อง “การปรับตัวของมหาวิทยาลัยเพื่อตอบโจทย์การเปลี่ยนแปลงในยุค Disruption” โดย ศาสตราจารย์คลินิกเกียรติคุณ นายแพทย์อุดม คชินทร อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ โดยได้กล่าวถึง การปรับเปลี่ยนกระบวนทัศน์การศึกษาเพื่อรองรับพลวัตโลกในยุคDisruption การปรับเปลี่ยนองค์ประกอบพื้นฐาน ได้แก่ หลักสูตร กระบวนการเรียนการสอน บทบาทของอาจารย์ผู้สอน และการสร้างผลสัมฤทธิ์เพื่อความสำเร็จอย่างยั่งยืน พายุลูกใหม่ที่กำลังเข้ามาเปลี่ยนแปลง ได้แก่ Blockchain , Artiticial Intelligence (AI), Quantum Computing การเข้ามาของเทคโนโลยีทำให้ อีก 10 ปีข้างหน้าหรือในปี ค.ศ.2030 จะมีแรงงานถูกแทนที่ด้วยเทคโนโลยีและ A.I. โดยเฉพาะอาชีพที่อาศัยทักษะการทำงานซ้ำๆ แบบเดิม และ 9 อาชีพใหม่ที่หายไป ในปี ค.ศ. 2020 ยุคที่ระบบอัติโนมัติเข้ามาแทนที่ เช่น แรงงานในโรงงาน และพนักงานออฟฟิศ เป็นต้น มหาวิทยาลัยต้องปรับตัวให้รวดเร็ว เพราะมหาวิทยาลัยเป็นที่พึ่งของคนทุกช่วงวัย ทำอย่างไรให้ปรับความยืดหยุ่น และมีความยั่งยืน เพราะ Disruption มีผลกระทบต่อเรา ซึ่งต้องแข่งกับ A.I. และต้องเอาชนะให้ได้ รวมถึงวิกฤตอุดมศึกษาไทย ที่ไม่ตอบโจทย์ประเทศ/โลกในยุค Disruptive Technologies ทักษะ สมรรถนะ ทัศนคติ ไม่ตอบสนองความต้องการของตลาดแรงงานที่เปลี่ยนแปลงไป ความตกต่ำในWorld University Ranking ไม่สามารถแข่งขันได้ในระดับนานาชาติ รวมถึงแนวโน้มใหญ่ของโลกในศตวรรษที่ 21การปรับตัวสู่ Data-Driven Economy และเป็นสังคมเศรษฐกิจฐานความรู้ยุคโลกาภิวัฒน์ การปรับนโยบายและเส้นทางการผลิตไปสู่ภาคส่วนที่เป็นการเพิ่มมูลค่าของทรัพยากร การขับเคลื่อนที่มุ่งเน้นด้านผลิตภัณฑ์ และการบริการที่อาศัยองค์ความรู้และนวัตกรรม รวมทั้งการผลิกผันมหาวิทยาลัยยุค 4.0 ที่อาศัยเทคโนโลยีส่งเสริมการเรียนรู้ที่ออกแบบมาเฉพาะในการช่วยเหลือให้ข้อมูลและคำปรึกษากับนักศึกษารายบุคคล ณ เวลาที่ต้องการ เป็นแนวโน้มใหญ่ของการศึกษาในอนาคต เทคโนโลยียังเปิดโอกาสให้ผู้เรียนออกแบบการเรียนรู้ของตนเองเพื่อตอบโจทย์งานแห่งอนาคต ยุคใหม่การศึกษาไทย 2020 และบทบาทของครูอาจารย์จะเปลี่ยนแปลงไปในอนาคต การจัดหลักสูตร soft skill ทักษะที่ค่อยๆ พัฒนามาจากการใช้ชีวิต การเข้าสังคมและการทำงาน ซึ่งเป็นทักษะที่สามารถเอาไปปรับใช้ได้ เป็นสิ่งสำคัญทำให้เกิดการเรียนรู้ ทำให้คนมีความเป็นคนและทำงานอย่างมีความสุข เป้าหมายอุดมศึกษาไม่ใช่ปริญญาอีกต่อไป นอกจากนี้ ภาวะผู้นำเป็นสิ่งสำคัญที่จะสร้างและเปลี่ยนแปลง ได้แก่ การปรับเปลี่ยนทัศนคติและวิธีคิด การปรับเปลี่ยนกระบวนการ และการสร้างทักษะเพื่อความสำเร็จ

Recent post