สถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเอเชีย ม.มหิดล จัดการประชุมเสวนา 20 ปี วันภาษาแม่สากล “ภาษา ชายแดน การศึกษา และบูรณาการศาสตร์” (Language, Border, Education, and Multidisciplinary)

ม.มหิดล ร่วมกับ สปสช. จัดอบรมหลักสูตรพัฒนาสมรรถนะผู้นำการเปลี่ยนแปลงในการบริหารจัดการกองทุนสุขภาพตำบล
February 21, 2020
กองแผนงาน มหาวิทยาลัยมหิดล จัดการบรรยายเรื่อง OKRs บันไดสู่ความสำเร็จ
February 22, 2020

สถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเอเชีย ม.มหิดล จัดการประชุมเสวนา 20 ปี วันภาษาแม่สากล “ภาษา ชายแดน การศึกษา และบูรณาการศาสตร์” (Language, Border, Education, and Multidisciplinary)

talk14

วันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2563 ศาสตราจารย์ นพ.บรรจง มไหสวริยะ รักษาการแทนอธิการบดี มหาวิทยาลัยมหิดล เป็นประธานกล่าวต้อนรับผู้เข้าร่วมการประชุมเสวนา 20 ปี วันภาษาแม่สากล “ภาษา ชายแดน การศึกษา และบูรณาการศาสตร์” (Language, Border, Education, and Multidisciplinary) โดยได้รับเกียรติจาก Ms. Maki Hayashikawa Chief of Section for Inclusive Quality Education, UNESCO Bangkok ประกาศการเฉลิมฉลองวันภาษาแม่ และ His Excellency Mr. Md. Nazmul Quaunine เอกอัครราชทูต สาธารณรัฐประชาชนบังกลาเทศ ประจำประเทศไทย เปิดการประชุม โดยมี รองศาสตราจารย์ ดร.ขวัญจิต ศศิวงศาโรจน์ ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเอเชีย มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวรายงาน ณ ห้องประชุมอเนกประสงค์ สถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเอเชีย มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา

ภายในงานได้จัดการเสวนา ได้แก่
1. “ภาษาแม่ ชุมชน โรงเรียน การฟื้นฟูภาษา พัฒนาการรู้หนังสือ”
2. “MOOC บทเรียนออนไลน์ภาษาแม่ วัฒนธรรม และชาติพันธุ์กับการเสริมสร้างพลังการเรียนรู้หนังสือ
3. “ภาษาแม่ กับพฤษศาสตร์ชาติพันธุ์ : กรณีศึกษากลุ่มบีซู โทร และมอแกน”
4. “คลังข้อมูลดิจิตอลกลุ่มชาติพันธุ์ในประเทศไทย”
และการนำเสนอ เรื่อง “ความร่วมมือกับภาคีเครือข่ายเพื่อการทำงานก้าวต่อไปในงานวิจัยภาษาแม่และวัฒนธรรมท้องถิ่น”

“วันภาษาแม่สากล” หรือ International Mother Language Day (IMLD) เป็นวันที่ องค์การการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ หรือ UNESCO ได้กำหนดให้ตรงกับวันที่ 21 กุมภาพันธ์ ของทุกปี โดยมีวัตถุประสงค์ให้เป็นวันแห่งการเฉลิมฉลองความสำคัญของภาษาแม่ในกลุ่มชนต่าง ๆ ทั่วโลก เพื่อส่งเสริมความหลากหลายทางภาษาและวัฒนธรรมในแต่ละประเทศ ซึ่งการอยู่ร่วมกันและเรียนรู้ภาษา ประเพณีและวัฒนธรรมของผู้อื่นจะนำมาซึ่งทัศนคติที่ดีต่อกันและการร่วมกันพัฒนาชุมชน ประเทศ และสังคมโลก ในทุกๆ ด้าน ผ่านความเข้าใจในต้นทุนทางภาษาและวัฒนธรรมของตนเองและเพื่อนมนุษย์ ทั้งนี้ UNESCO ได้ ประกาศวันภาษาแม่สากลในปี ค.ศ.1999 และมีการเฉลิมฉลองเป็นครั้งแรกในปี ค.ศ.2000 ศูนย์ศึกษาและฟื้นฟูภาษาและวัฒนธรรมในภาวะวิกฤต สถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเอเชีย มหาวิทยาลัยมหิดล ได้ทำงานร่วมกับกลุ่มชาติพันธุ์ในประเทศไทยจำนวน 27 กลุ่ม ผ่านการทำงานวิจัยด้านภาษาแม่หรือภาษาท้องถิ่นโดยเน้นให้ชุมชนเจ้าของภาษามีส่วนร่วม เป็นระยะเวลา 16 ปี เพื่อศึกษารวบรวม ฟื้นฟู ยกระดับภาษาแม่และส่งเสริผู้ใช้ภาษาแม่/ภาษาท้องถิ่นให้มีบทบาทสำคัญต่อการพัฒนาและแก้ไขปัญหาชุมชน สังคมและประเทศชาติ เพื่อนำไปสู่การขับเคลื่อนให้สังคมไทยเป็นสังคมพหุภาษา-วัฒนธรรม เนื่องในการครบรอบ 20 ปีแห่งการเฉลิมฉลอง “วันภาษาแม่สากล” ศูนย์ศึกษาและฟื้นฟูภาษาและ วัฒนธรรมในภาวะวิกฤต สถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเอเชีย มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมกับ ภาคีเครือข่าย ได้แก่ สถานเอกอัครราชทูตสาธารณรัฐประชาชนบังกลาเทศประจำประเทศไทย, มูลนิธิรักษ์ไทย, มูลนิธิเพื่อการฟื้นฟู ภาษาและภูมิปัญญาท้องถิ่น, มูลนิธิหมู่บ้านเด็กเพซตาล๊อตซี่ (PCF), สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) และ องค์การยูเนสโก (UNESCO) พร้อมทั้งตัวแทนกลุ่มชาติพันธุ์กลุ่มต่างๆ จากทุกภูมิภาคของประเทศไทย จึงได้จัดการประชุมเสวนา 20 ปีวันภาษาแม่สากล “ภาษา ชายแดน การศึกษา และ บูรณาการศาสตร์” ในวันศุกร์ที่ 21 กุมภาพันธ์ 2563 โดยมีเป้าหมายเพื่อร่วมเป็นส่วนหนึ่งของการแสดงพลังแห่งความ หลากหลายทางภาษาในวาระวันภาษาแม่สากลร่วมกับทุกประเทศทั่วโลก รวมทั้งเผยแพร่ประสบการณ์การทำงาน ภาษาและวัฒนธรรมท้องถิ่นในประเทศไทยเพื่อแสดงให้เห็นถึงความสำคัญของภาษาในการลดความเหลื่อมล้ำทาง สังคมซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาคุณภาพการศึกษาและคุณภาพชีวิตของผู้คนในสังคมต่อไป

Recent post