สถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรมเอเชีย ม.มหิดล เปิดตัวหนังสือ “ถอดรหัสพฤกษาผ่านเลนส์ภาษาและวัฒนธรรม : การบูรณาการศาสตร์เพื่อชุมชน”

มหาวิทยาลัยมหิดล เข้าร่วมการประชุมผู้บริหารมหาวิทยาลัยในอาเซียน “The ASEAN Univesity Leaders Meeting 2020 (AULM2020)”
December 2, 2020
คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล ลงนามความร่วมมือพัฒนาบริการอัจฉริยะ 5G ที่ขับเคลื่อนด้วย Cloud และ AI (5G Powered Smart Hospital Enabled with Cloud and AI) พร้อมรับรางวัล CommunicAsia 2020
December 2, 2020

สถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรมเอเชีย ม.มหิดล เปิดตัวหนังสือ “ถอดรหัสพฤกษาผ่านเลนส์ภาษาและวัฒนธรรม : การบูรณาการศาสตร์เพื่อชุมชน”

1606903332942_copy_1024x681

วันที่ 2 ธันวาคม 2563 ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ศิริเพ็ญ  อึ้งสิทธิพูนพร รองผู้อำนวยการฝ่ายวิจัยนวัตกรรมและการคลัง สถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรมเอเชีย มหาวิทยาลัยมหิดล และหัวหน้าโครงการบันทึกความรู้ทางด้านพฤกษศาสตร์ของกลุ่มเขมรถิ่นไทยในรูปแบบดิจิทัล เป็นประธานเปิดตัวหนังสือ หัวข้อ “ถอดรหัสพฤกษาผ่านเลนส์ภาษาและวัฒนธรรม:การบูรณาการศาสตร์เพื่อชุมชน” โดยมี คุณซองทิพย์ เสริมสวัสดิ์ศรี ผู้อำนวยการฝ่ายพัฒนาพื้นที่และงานบริการ มิวเซียมสยาม กล่าวต้อนรับณ ห้องคลังความรู้ อาคารสำนักงานมิวเซียมสยาม กรุงเทพฯ

ภายในงานมีการเสวนา เรื่อง “ถอดรหัสพฤกษาผ่านเลนส์ภาษาและวัฒนธรรม : การบูรณาการศาสตร์เพื่อชุมชน” โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ศิริเพ็ญ อึ้งสิทธิพูนพร  นอกจากนี้ ยังมีการเสวนา เรื่อง “การทำงานกับชุมชน วิธีการ ความรู้สึก ประสบการณ์”  โดย นายชัยวัฒน์ หอมชง และนายภีมระพัฒต์ รองสวัสดิ์ ผู้ช่วยวิจัยในโครงการฯ  และ การเสวนา เรื่อง “แผนการทำงานต่อยอด และทำงานวิจัยข้ามศาสตร์” ผ่าน Video Presentation โดย รองศาสตราจารย์ ดร.สุวลีย์ วรคุณพิเศษ ภาควิชาเวชศาสตร์สังคมและสิ่งแวดล้อม  คณะเวชศาสตร์เขตร้อน มหาวิทยาลัยมหิดล

โครงการบันทึกความรู้ทางด้านพฤกษศาสตร์ของกลุ่มเขมรถิ่นไทยในรูปแบบดิจิทัล เป็นการจัดอบรมเชิงปฏิบัติการให้คนในชุมชนสามารถบันทึกองค์ความรู้ในป่าชุมชนด้วยเครื่องมือบันทึกเสียง กล้องถ่ายภาพ และกล้องวิดีโอที่มีคุณภาพสูง ซึ่งเป็นหัวใจสำคัญในการบันทึกข้อมูลด้านภาษาและวัฒนธรรม (Language documentation) เพื่อเก็บรักษาในระยะยาว โดยเก็บเป็นไฟล์ดิจิทัล และใช้ภาษาท้องถิ่นในการสนทนา จากนั้น นักภาษาศาสตร์จะนำไปวิเคราะห์ทางด้านเสียง โดยถ่ายถอดเสียงด้วยโปรแกรม ELAN และ Export เพื่อจัดทำเป็นสื่อการเรียนรู้ต่าง ๆ เช่น วิดีโอ ที่มีคำบรรยายใต้ภาพ พจนานุกรมคำศัพท์ พจนานุกรมรูปภาพพืช เป็นต้น รวมทั้ง บูรณาการเป็นแบบเรียนภาษาเขมรถิ่นไทย-ภาษาไทย-ภาษาอังกฤษ  หนังสือมีจำนวน 5 เล่ม ได้แก่
1. พืชเขมรถิ่นไทย เล่ม 1 เป็นหนังสือพืชเขมรถิ่นไทยแบบง่าย ที่เกี่ยวกับพืชสมุนไพรใกล้บ้าน

2. พืชเขมรถิ่นไทย เล่ม 2 เป็นพืชที่อยู่ในป่าตาเกาว์

3. เรียนภาษาเขมรถิ่นไทยแบบบูรณาการ เล่ม 1 เป็นการบูรณาการภาษาเขมรถิ่นไทย ภาษาไทย ภาษาอังกฤษ โดยเนื้อหาเป็นบทสนทนาเกี่ยวกับคุณประโยชน์ของพืชที่ศึกษาจากป่าตาเกาว์

4. เรียนภาษาเขมรถิ่นไทยแบบบูรณาการ เล่ม 2 เป็นการบูรณาการภาษาเขมรถิ่นไทย ภาษาไทย ภาษาอังกฤษ เนื้อหาเป็นบทสนทนาเกี่ยวกับคุณประโยชน์ของพืชที่ศึกษาจากป่าตาเกาว์

5. คู่มือการบันทึกความรู้ท้องถิ่น : การใช้เทคโนโลยีภาคสนามทางภาษาและวัฒนธรรม เป็นหนังสือที่รวบรวมวิธีการบันทึกข้อมูลภาคสนาม ที่ใช้เทคโนโลยีเพื่อให้ได้ไฟล์ดิจิทัลที่มีคุณภาพสูง