คณะกรรมการสภามหาวิทยาลัยมหิดล เข้าเยี่ยมส่วนงาน ครั้งที่ 35/2563 (Council Visit) ณ คณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร

สมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี พระราชทาน ส.ค.ส แก่ผู้บริหาร มหาวิทยาลัยมหิดล
January 29, 2020
งานแสดงนิทรรศการและแนะแนวการศึกษา “ตลาดนัดหลักสูตรอุดมศึกษา” ครั้งที่ 24 ณ ศูนย์ประชุมอเนกประสงค์กาญจนาภิเษก มหาวิทยาลัยขอนแก่น
January 30, 2020

คณะกรรมการสภามหาวิทยาลัยมหิดล เข้าเยี่ยมส่วนงาน ครั้งที่ 35/2563 (Council Visit) ณ คณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร

ict-01

วันที่ 29 มกราคม 2563 ศาสตราจารย์คลินิกเกียรติคุณ นพ.ปิยะสกล สกลสัตยาทร นายกสภามหาวิทยาลัยมหิดล พร้อมด้วยกรรมการสภามหาวิทยาลัยมหิดล เข้าเยี่ยมส่วนงาน ครั้งที่ 35/2563 (Council Visit) ณ คณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร มหาวิทยาลัยมหิดล เพื่อกำหนดเป้าหมาย แผนดำเนินการปีงบประมาณ 2563 – 2564 และรับฟังผลสำเร็จของการดำเนินการที่ผ่านมา รวมทั้งการพัฒนาและความท้าทายในอนาคต โดยมี ดร.พัฒนศักดิ์ มงคลวัฒน์ คณบดีคณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร พร้อมผู้บริหารสถาบันฯ และผู้บริหารมหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมรับฟังความคิดเห็นในการเข้าเยี่ยมส่วนงาน (Council Visit) ในครั้งนี้ด้วย โดยคณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร มหาวิทยาลัยมหิดล มีประเด็นความโดดเด่นดังต่อไปนี้

1. ผลสำเร็จที่ภาคภูมิใจของคณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ในระยะเวลา 4 ปีที่ผ่านมา (2559-2562)
1.สร้างบุคลากรที่มีรายได้ข้ามพ้นรายได้ปานกลาง
2.หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (นานาชาติ) ได้รับการรับรองคุณภาพตามมาตรฐานระดับสากล AUN-QA ได้คะแนนระดับ Example of Best Practice ปี พ.ศ.2562-2566
3.พัฒนาบุคลากรในโครงการทุนพัฒนาอาจารย์คณะ ICT
จัดตั้ง Mahidol AIST Research Unit (MARU) ร่วมกับ The National Institute of Advanced Industrial Science and Technology (AIST), Japan
4.จัดตั้ง Mahidol Bremen Medical Informatics Research Unit (MIRU) ร่วมกับ University of Bremen, Germany

2. เป้าหมายและแผนดำเนินการปีงบประมาณ 2563-2564 (ตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12)
1.การเสริมสร้างและพัฒนาศักยภาพทุนมนุษย์ ได้แก่ โครงการพัฒนาหลักสูตร ICT+DST+Reskill (Flexi Education)
1.1 หลักสูตร ICT Flexi Education ผลิตบัณฑิตได้ประมาณ 180 คนต่อปี (หลักสูตร 4 ปี, หลักสูตร ICT-Bremen 3+2 (Digital Art) และหลักสูตร ICT-CMMU 4+1)
1.2 หลักสูตร DST Flexi Education ผลิตบัณฑิตได้ประมาณ 80 คนต่อปี (IoT, Cyber Security และ Data Science)
2.การพัฒนาวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิจัย และนวัตกรรม ได้แก่ โครงการสนับสนุนกลุ่มวิจัย Global Collaboration (Germany, Japan, Australia, China, Taiwan) โครงการวิจัยบูรณาการตามความต้องการประเทศ (ด้านสังคมสูงวัย ด้านการแพทย์ ด้านสิ่งแวดล้อม) และโครงการพัฒนา MUICT สู่ Intelligent Digital Hub
3.การส่งเสริมความเข้มแข็งของเศรษฐกิจกระแสใหม่ ได้แก่ โครงการพัฒนาเศรษฐกิจสร้างสรรค์ด้วย Digital Technology

Recent post