ศูนย์วิจัยและจัดการความรู้เพื่อการควบคุมยาสูบ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี ม.มหิดล ร่วมกับ (สสส.) และภาคีเครือข่าย จัดงานแถลงข่าว “บ้านปลอดบุหรี่/บุหรี่ไฟฟ้า ลดความรุนแรงต่อสุขภาพ”

สถาบันโภชนาการ ม.มหิดล ร่วมกับ Asia Pacific Food Analysis Network (APFAN) และสถาบันมาตรวิทยาแห่งชาติ จัดประชุมนานาชาติ Food Analysis Workshop: Proficiency Testing and Reference Materials Development
June 20, 2019
ม.มหิดล วิทยาเขตนครสวรรค์ จัดพิธีปิดการอบรม “โครงการอบรมผู้ช่วยแพทย์แผนไทย 330 ชม.
June 20, 2019

ศูนย์วิจัยและจัดการความรู้เพื่อการควบคุมยาสูบ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี ม.มหิดล ร่วมกับ (สสส.) และภาคีเครือข่าย จัดงานแถลงข่าว “บ้านปลอดบุหรี่/บุหรี่ไฟฟ้า ลดความรุนแรงต่อสุขภาพ”

S__145604615

วันที่ 20 มิถุนายน 2562 ศูนย์วิจัยและจัดการความรู้เพื่อการควบคุมยาสูบ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมกับ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) และภาคีเครือข่าย จัดงานแถลงข่าว “บ้านปลอดบุหรี่/บุหรี่ไฟฟ้า ลดความรุนแรงต่อสุขภาพ” ในการประชุมวิชาการบุหรี่กับสุขภาพแห่งชาติ ครั้งที่ 18 โดยมีศาสตราจารย์ นพ.รณชัย   คงสกนธ์ ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยและจัดการความรู้เพื่อการควบคุมยาสูบ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวถึงสถานการณ์แนวโน้มของการบริโภคยาสูบในประเทศไทยในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา มีแนวโน้มอัตราการสูบบุหรี่ค่อนข้างคงที่ โดยจากการสำรวจของสำนักงานสถิติแห่งชาติล่าสุดเมื่อปี พ.ศ. 2560 พบว่ามีประชากรสูบบุหรี่ทั้งสิ้น 10.7 ล้านคน (ร้อยละ 19.1) ซึ่งศูนย์วิจัยและจัดการความรู้เพื่อการควบคุมยาสูบ (ศจย.) พบว่า ประเทศไทยมีครัวเรือนที่มีคนสูบบุหรี่ มากถึง 4,962,045 ครัวเรือน คนที่ไม่สูบบุหรี่จึงได้รับควันบุหรี่มือสองในบ้าน โดยเฉลี่ยมากถึง 10,333,653 คน ซึ่งผลการวิจัยพบว่า ผู้หญิงที่สามีสูบบุหรี่ หรือ ผู้ที่ทำงานในสถานที่ที่มีคนสูบบุหรี่ มีโอกาสเสี่ยงที่จะ เป็นมะเร็งปอดเพิ่มขึ้น 24% และ 19% ตามลำดับ ส่วนผู้ได้รับควันบุหรี่มือสองมีโอกาสที่จะเป็นโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเพิ่มขึ้น 30% และเด็กทารกที่มีผู้ปกครองสูบุบหรี่มีโอกาสเกิดภาวะไหลตายเพิ่มขึ้น 2 เท่า มีโอกาสเกิดหลอดลมอักเสบหรือปอดอักเสบเพิ่มขึ้น ถึง 47% และมีโอกาสเป็นโรคหอบหืด เพิ่มขึ้น 39 % จากการสำรวจในปี พ.ศ.2561 โดย ศจย. คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี พบว่ามีครอบครัวที่ถูกสำรวจถึง 49% มีสมาชิกในครอบครัวสูบบุหรี่ และพบว่ามีความสัมพันธ์กับปัญหาความรุนแรงในครอบครัวอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ จากนั้น Professor Stanton A. Glantz, Ph.D. ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยและศึกษาการควบคุมยาสูบ มหาวิทยาลัยแห่งแคลิฟอร์เนีย ซานฟรานซิสโก กล่าวว่า บุหรี่ไฟฟ้าซึ่งเป็นอันตรายเหมือนกับผลิตภัณฑ์นิโคตินอื่น ๆ ที่มีการปรุงแต่งรสเพื่อดึงดูดลูกค้าหน้าใหม่โดยเฉพาะเยาวชน การใช้งานบุหรี่ไฟฟ้ามีการแพร่ระบาดมากโดยเฉพาะในเยาวชน และทำให้ผู้ใหญ่หยุดสูบบุหรี่ยากขึ้น ในงานนำเสนอของผมเรื่องบุหรี่ไฟฟ้า: สถานการณ์ฉุกเฉินด้านสาธารณสุข ผมจะแสดงหลักฐานว่าบุหรี่ไฟฟ้า ประกอบด้วยหลายประเภท ซึ่งองค์ประกอบที่ผลิตทั้งหมดและผลที่ติดตามมาล้วนเป็นอันตรายได้รับความนิยมผ่านทางการตลาดที่หลอกลวงและฉ้อฉล มีข้อแนะนำว่าพวกเขามีสุขภาพดี มีประโยชน์ในการเลิกสูบบุหรี่ จะช่วยให้ผู้ใช้หลีกเลี่ยงกฎหมายปลอดควันบุหรี่กำลังดึงดูดเยาวชนให้ติดนิโคติน ซึ่งหลายคนได้หันไปสูบบุหรี่ธรรมดา ทำให้ผู้สูบบุหรี่ส่วนใหญ่เลิกยากขึ้น เพิ่มความเสี่ยงต่อโรคหัวใจและปอด ก่อให้เกิดมลพิษในอากาศและอาจเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดโรคมะเร็ง  นายเลิศปัญญา บูรณบัณฑิต อธิบดีกรมกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว กระทรวงการพัฒนาสังคมและ ความมั่นคงของมนุษย์ กล่าวถึงพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ถูกกระทำด้วยความรุนแรงในครอบครัว พ.ศ.2550 ที่นิยาม “ความรุนแรงในครอบครัว” ว่า การกระทำใด ๆ ที่บุคคลในครอบครัวได้กระทำต่อกันโดยเจตนาให้เกิดอันตรายแก่ร่างกาย จิตใจ และรองศาสตราจารย์ นพ.อดิศักดิ์ ผลิตผลการพิมพ์ ผู้อำนวยการสถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว มหาวิทยาลัยมหิดล ได้เน้นถึง สารเคมีและสารพิษรวมถึงสารก่อมะเร็งในควันบุหรี่ ทั้งบุหรี่มวนและบุหรี่ไฟฟ้า มีผลต่อสุขภาพของทุกคนในครอบครัวที่มีผู้สูบบุหรี่ โดยเฉพาะเด็ก ควันจากบุหรี่เป็นมลพิษทางอากาศที่อันตรายที่สุดในบ้าน แม้ผู้ปกครองจะไม่ได้สูบบุหรี่ในบ้าน หรือสูบในบ้านตอนไม่มีใครอยู่ ก็ยังคงมีสารพิษจากควันบุหรี่ ติดตามเสื้อผ้า ผนัง โซฟา เบาะหนังแท้ หนังเทียมหรือแม้กระทั่งในรถยนต์ ที่เราเรียกว่า “บุหรี่มือสาม”

คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล ได้ทำงานด้านการรณรงค์เพื่อการไม่สูบบุหรี่ ด้วยมีหลักฐานเชิงประจักษ์ว่าควันและสารพิษจากบุหรี่ ส่งผลรุนแรงต่อสุขภาพคนไทย และในขณะนั้น ยังไม่มีหน่วยงานที่ดำเนินการเพื่อป้องกันไม่ให้คนไทยสูบบุหรี่มากขึ้น จึงได้เกิด “โครงการรณรงค์เพื่อการไม่สูบบุหรี่ มูลนิธิหมอชาวบ้าน” โดยท่านอาจารย์ประกิต เป็นเลขาธิการโครงการ และโรงพยาบาลรามาธิบดี ได้ประกาศเป็นโรงพยาบาลปลอดบุหรี่ ในปี 2530  ดำเนินการด้านการเป็นต้นแบบขององค์กรปลอดบุหรี่ จัดบริการคลินิกเลิกบุหรี่แก่บุคลากรและประชาชนผู้มารับบริการ และในปีนี้ศูนย์วิจัยและจัดการความรู้ด้านการควบคุมยาสูบ (ศจย.) ได้จัดการประชุมวิชาการ “บุหรี่กับสุขภาพแห่งชาติ ครั้งที่ 18” ซึ่งเป็นครั้งแรก ที่ รามาธิบดี เป็นเจ้าภาพ ได้เห็นความสำคัญของสุขภาพคนใกล้ตัว คือ คนในครอบครัว จึงได้กำหนดประเด็นในการรณรงค์ “บ้านปลอดบุหรี่/บุหรี่ไฟฟ้า ลดความรุนแรงต่อสุขภาพ” เรามีวิสัยทัศน์ ที่จะเป็นสถาบันทางการแพทย์ชั้นนำในระดับสากล มีพันธกิจที่จะจัดการศึกษา สร้างงานวิจัย ให้การบริการวิชาการ และดูแลสุขภาพ เพื่อสุขภาวะของสังคม  ณ ห้องประชุมวายุภักษ์ โรงแรมเซ็นทรา บาย เซ็นทารา กรุงเทพฯ

Recent post