พิธีลงนามบันทึกความร่วมมือ ระหว่างคณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี กับ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

มหาวิทยาลัยมหิดลต้อนรับคณะผู้ตรวจประเมินคุณภาพการศึกษาระดับหลักสูตรตามเกณฑ์ AUN – QA ระดับอาเซียน ครั้งที่ 163 (The 163rd AUN – QA Programme Assessment at Mahidol University)
October 15, 2019
สถาบันฯเด็ก ม.มหิดล แถลงข่าว “สมองเด็กไทยรอดจากภัยสารหนูแล้ว…(หรือไม่?)
October 15, 2019

พิธีลงนามบันทึกความร่วมมือ ระหว่างคณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี กับ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

Rama & Engineer_191015_0003

วันที่ 15 ตุลาคม 2562 ศาสตราจารย์ นพ.ปิยะมิตร ศรีธรา คณบดีคณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล พร้อมด้วย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. จักรกฤษณ์ ศุทธากรณ์ คณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมงานแถลงข่าว “รามาฯ – วิศวะ มหิดล เปิดหลักสูตรร่วม “แพทย์ – วิศวะ” โดยมีวัตถุประสงค์และความเป็นมาของโครงการร่วม : หลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิต วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิศวกรรมชีวการแพทย์ ณ ห้องประชุม 910A ชั้น 9 อาคารเรียนและปฏิบัติการรวมด้านการแพทย์และโรงเรียนพยาบาลรามาธิบดี คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล

ในโอกาสนี้ ศาสตราจารย์ นพ.ปิยะมิตร ศรีธรา คณบดีคณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล ได้กล่าวถึงความสำคัญและ ความร่วมมือในการจัดตั้งหลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิต – วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิศวกรรมชีวการแพทย์ ว่า การลงนามครั้งนี้ เป็นนวัตกรรมที่เกิดจากแนวโน้มการนำดิจิทัลและเทคโนโลยีเข้ามาใช้ในทางการแพทย์ในการรักษาผู้ป่วยมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง แพทย์จึงจำเป็นต้องปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น นอกจากความรู้ด้านการแพทย์ที่ดีแล้ว ทักษะและความเข้าใจทางด้านวิศวกรรม วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ตลอดจนการทำวิจัยและพัฒนานวัตกรรม ถือเป็นสิ่งสำคัญสำหรับแพทย์ยุคใหม่ อีกทั้ง คนรุ่นใหม่มีความสามารถและความสนใจทั้งในด้านการแพทย์และวิศวกรรม ดังนั้น หลักสูตรร่วมแพทย์–วิศวะ (พ.บ. – วศ. ม.) จะช่วยดึงศักยภาพและเปิดโอกาสให้คนรุ่นใหม่ได้แสดงความสามารถอย่างเต็มที่ในการสร้างนวัตกรรมทางการแพทย์ จากความรู้ทางด้านแพทย์และวิศวกรรม จากนั้น ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.จักรกฤษณ์ ศุทธากรณ์ คณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ได้กล่าวถึงรูปแบบการเรียนทางด้านวิศวกรรมและความเชื่อมโยงทางด้านการแพทย์ ว่า ปัจจุบันประเทศไทยได้รับการยกย่องว่าเป็นประเทศหนึ่งที่มีระบบสาธารณสุขที่ดีต่อประชาชน ขณะที่ไทยเรากำลังก้าวเป็นสังคมสูงวัย อีกทั้ง การเติบโตของบริการสุขภาพการแพทย์และแนวโน้มเฮลท์เทค ในปีหนึ่งๆ มีชาวต่างชาติที่เดินทางมาใช้บริการรักษาพยาบาลในประเทศไทย จำนวน 1.05 ล้านคนต่อปี และหากรวมผู้ติดตามด้วยจะมีจำนวนเป็น 3 ล้านคนต่อปี หลักสูตรร่วมแพทย์–วิศวะ (พ.บ. – วศ. ม.) จะเป็นอีกพลังในการสร้าง “คน”ที่จะร่วมสร้างประเทศฐานนวัตกรรม นำมาซึ่งสุขภาพดี คุณภาพชีวิตและเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจแก่ประเทศ การเรียนในรายวิชาทางด้านวิศวกรรม ผ่านหลักสูตรวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิศวกรรมชีวการแพทย์ (Biomedical Engineering) ในการสร้างแพทย์ที่เชี่ยวชาญในการรักษาและมีความรู้ความเข้าใจทางด้านวิศวกรรม ทำให้สามารถมองเห็นปัญหาและโอกาสในการแก้ปัญหา รวมทั้งสร้างนวัตกรรมให้เชื่อมโยงกับวิศวกรชีวการแพทย์ได้ จะเป็นลักษณะ Project Based Learning (PBL) โดยเน้นการทำ Project เพื่อให้เกิดการเรียนรู้จากการศึกษาค้นคว้าด้วยตนเองและการลงมือปฏิบัติจริง ให้เกิดทักษะการทำงานวิจัย เกิดกระบวนการคิด การแก้ปัญหาอย่างเป็นระบบ มุ่งส่งเสริมให้มีการทำงานวิจัย นวัตกรรม และการตีพิมพ์ผลงานระดับนานาชาติในวารสารวิชาการต่างประเทศ

รายละเอียดเพิ่มเติม

Recent post