มหาวิทยาลัยมหิดล (สถาบันพัฒนาสุขภาพอาเซียน) จับมือกับ สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) เสริมสร้างการมีส่วนร่วมของท้องถิ่นและประชาชนเพื่อขับเคลื่อนการสร้างหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าของไทยและนานาชาติ

มหาวิทยาลัยมหิดลต้อนรับอธิการบดีจาก University of Oxford สหราชอาณาจักร
September 4, 2019
สถาบันฯเด็กจัดลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือทางด้านเด็กและครอบครัว
September 4, 2019

มหาวิทยาลัยมหิดล (สถาบันพัฒนาสุขภาพอาเซียน) จับมือกับ สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) เสริมสร้างการมีส่วนร่วมของท้องถิ่นและประชาชนเพื่อขับเคลื่อนการสร้างหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าของไทยและนานาชาติ

a9

วันที่ 4 กันยายน 2562 ศาสตราจารย์ นายแพทย์บรรจง มไหสวริยะ รักษาการแทนอธิการบดีมหาวิทยาลัยมหิดล และนายแพทย์ศักดิ์ชัย กาญจนวัฒนา เลขาธิการสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พร้อมด้วย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.นายแพทย์ภูดิท เตชาติวัฒน์ ผู้อำนวยการสถาบันพัฒนาสุขภาพอาเซียน มหาวิทยาลัยมหิดล ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อรุณศรี มงคลชาติ ประธานหลักสูตรการจัดการสาธารณสุขมูลฐาน ทันตแพทย์อรรถพร ลิ้มปัญญาเลิศ รองเลขาธิการสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ นายแพทย์ชาตรี เจริญชีวะกุล ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมการมีส่วนร่วม ร่วมลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการ ระหว่างมหาวิทยาลัยมหิดล (สถาบันพัฒนาสุขภาพอาเซียน) และสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ณ ห้องประชุมบุญศิริ สถาบันพัฒนาสุขภาพอาเซียน มหาวิทยาลัยมหิดล

ในโอกาสนี้ ผู้บริหารมหาวิทยาลัยและที่ปรึกษาสถาบันฯ อาเซียน อาทิ ศาสตราจารย์ นายแพทย์ธีระ รามสูต ศาสตราจารย์เกียรติคุณ ดร.พันธุ์ทิพย์ รามสูต ศาสตราจารย์พิเศษ นายแพทย์ไพจิตร ปวะบุตร ศาสตราจารย์เกียรติคุณ ดร. นายแพทย์สำลี เปลี่ยนบางช้าง รองศาสตราจารย์ ดร. แพทย์หญิงอรพินท์ สิงหเดช รองศาสตราจารย์ นายแพทย์องอาจ วิพุธศิริ นายแพทย์วิวัฒน์ โรจนพิทยากร และ รศ.ดร.บุญยง เกี่ยวการค้า ให้เกียรติร่วมในพิธีลงนามดังกล่าว
ทั้งนี้ศาสตราจารย์ นายแพทย์บรรจง มไหสวริยะ ได้กล่าวถึงการลงนามความร่วมมือครั้งนี้ว่า มหาวิทยาลัยมหิดล โดยสถาบันพัฒนาสุขภาพอาเซียนจะร่วมทำงานกับสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติเพื่อสนับสนุนการขับเคลื่อนการสร้างหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าในด้านของการสร้างความเข้มแข็งและความเป็นเจ้าของของภาคท้องถิ่น ภาคประชาชน เพื่อสร้างความเข้มแข็งให้แก่ระบบสุขภาพไทยและเป็นแบบอย่างในด้านระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าให้แก่นานาประเทศ โดยการดำเนินการดังกล่าวสอดคล้องกับวาระสุขภาพโลกในการบรรลุหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าและเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนของโลกภายในปี ค.ศ. 2030

นายแพทย์ศักดิ์ชัย กาญจนวัฒนา เลขาธิการ สปสช. ได้กล่าวภายหลังจากการลงนามบันทึกข้อตกลงว่า ประเทศไทยเป็นประเทศกำลังพัฒนาที่ได้รับการชื่นชมและยอมรับให้เป็นแบบอย่างแก่นานาชาติที่สามารถสร้างหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าได้สำเร็จโดยใช้งบประมาณน้อย หนึ่งในปัจจัยสำคัญคือการมีส่วนร่วมของภาคท้องถิ่นและภาคประชาชนในการเป็นเจ้าของระบบหลักประกันสุขภาพ ดังนั้นความร่วมมือครั้งนี้ เป็นการส่งเสริมกลไกและปัจจัยสำคัญในการขับเคลื่อนนโยบายและระบบสุขภาพไทยให้มีความเข้มแข็งและครอบคลุมในทุกพื้นที่ และเผยแพร่องค์ความรู้ในด้านนี้ให้แก่นานาชาติ ทั้งนี้เป็นไปตามนโยบายของรัฐบาลและ ฯพณฯนายกรัฐมนตรี พลเอกประยุทธ์ จันโอชา ที่ได้กล่าวถ้อยแถลงในการประชุมคู่ขนานของการประชุมสมัชชาสหประชาชาติ เมื่อ พ.ศ. 2558 ที่ผ่านมาที่ให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางการเรียนรู้เพื่อสนับสนุนการพัฒนาด้านหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าให้แก่นานาชาติ

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.นายแพทย์ภูดิท เตชาติวัฒน์ ได้กล่าวว่า สถาบันพัฒนาสุขภาพอาเซียนจะเป็นหน่วยงานที่จะประสานเชื่อมโยงกับเครือข่ายทั้งภายในและภายนอกมหาวิทยาลัยมหิดล เพื่อร่วมกันพัฒนาศักยภาพ รวบรวม พัฒนา และเผยแพร่องค์ความรู้ โดยนำกรณีศึกษาของการสร้างการมีส่วนร่วมและความเป็นเจ้าของของภาคท้องถิ่น ภาคประชาชน ในการสร้างความครอบคลุมหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าของประเทศไทยสู่สาธารณะทั้งระดับชาติและนานาชาติ

Recent post