ม.มหิดล ร่วมงานแถลงความสำเร็จโครงการพัฒนาผู้ประกอบการใหม่ (SME Early Stage) ปี 2562
August 28, 2019
MUKA Bike Run For Fund 2019
August 28, 2019

Meet the President ประชาคมมหิดลพบอธิการบดี ครั้งที่ 2/2562

meet04

28 สิงหาคม 2562 มหาวิทยาลัยมหิดลจัดกิจกรรม “Meet the President ประชาคมมหิดลพบอธิการบดี” ครั้งที่ 2/2562 ณ ห้องประชุม Grand Auditorium ชั้น 4 คณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ICT) มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา โดยมีผู้ร่วมงานจากทุกกลุ่มสายงานของมหาวิทยาลัยมหิดลเข้าร่วมกิจกรรมในครั้งนี้

งาน “Meet the President ประชาคมมหิดลพบอธิการบดี” จัดขึ้นเพื่อเปิดโอกาสให้บุคลากรทุกสายงานของมหาวิทยาลัยมหิดลได้มีโอกาสพบปะและสื่อสารรวมทั้งเป็นเวทีให้มีการซักถาม และแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นซึ่งกันและกันกับทีมบริหารมหาวิทยาลัย เพื่อสร้างความเข้าใจอย่างถูกต้องในทิศทางการบริหารงาน สามารถนำพามหาวิทยาลัยไปสู่เป้าหมายที่ตั้งไว้

โดยงาน Meet the President ในครั้งนี้ จัดขึ้นเป็นครั้งที่ 4 นับตั้งแต่ ศาสตราจารย์ นายแพทย์บรรจง มไหสวริยะ เข้ารับตำแหน่งรักษาการแทนอธิการบดีมหาวิทยาลัยมหิดล ตั้งแต่วันที่ 1 สิงหาคม 2560 เป็นต้นมา โดยได้กล่าวถึงยุทธศาสตร์ 4 ด้าน ในการมุ่งสู่ 1 ใน 100 มหาวิทยาลัยโลก ซึ่งได้แก่ ยุทธศาสตร์ที่ 1 “Global Research and Innovation” ยุทธศาสตร์ที่ 2 “Academic and Entrepreneurial Education” ยุทธศาสตร์ที่ 3 “Policy Advocacy and Leaders in Professional / Academic Services” และ ยุทธศาสตร์ที่ 4 “Management to Self – Sufficiency and Sustainable Organization” ที่ผ่านมามหาวิทยาลัยมีผลงานดีเด่นด้านบริหารจัดการ โดยได้รับการจัดอันดับ 1 ของประเทศไทย และอันดับที่ 89 ของโลก UI GreenMetric World University Rankings 2018 มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา (พื้นที่ส่วนกลาง) ได้รับการรับรองระบบมาตรฐานการจัดการสิ่งแวดล้อม ISO 14001:2015 นอกจากนี้มหาวิทยาลัยมหิดลยังได้รับการจัดอันดับการประเมินคุณธรรมและความโปร่งใส จาก ITA ปี 2561 อยู่ในอันดับที่ 19 จากอันดับที่ 65 ในปี 2560

ม.มหิดลเป็นหนึ่งในคู่ร่วมมือหลักกับ บริษัท อมตะ คอร์ปอเรชัน จำกัด (มหาชน) เพื่อสร้างชุมชนอัจฉริยะในภูมิภาคอาเซียน ผ่านการพัฒนา Edu-Town และ Medi-Town ร่วมกัน โดยได้มีการลงนามความร่วมมือบันทึกความเข้าใจเมื่อวันที่ 24 กรกฎาคม 2562 นอกจากนี้ ได้มีการร่วมกับ ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) ดำเนินโครงการ Mahidol Digital Convergence University (DCU) เพื่อร่วมกันพัฒนาและส่งเสริมการเรียนการสอน การบริหารจัดการ รวมทั้งโครงสร้างพื้นฐานของมหาวิทยาลัย ให้มีความทันสมัย สะดวกรวดเร็ว และเป็นไปในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์มากยิ่งขึ้น เพื่อนำไปสู่การเป็น SMART UNIVERSITY

ด้านทรัพยากรบุคคล ได้มีการจัดสวัสดิการแบบยืดหยุ่น (Flexible Benefit) โดยมีหลักการ 1.เพื่อเป็นเครื่องมือดึงดูดและรักษาบุคลากร 2.เพื่อรักษา / เพิ่มระดับ Employee Engagement & Satisfaction 3.การนำหลักการ Pay for Performance มาปรับใช้เพื่อประสิทธิภาพในการบริหารงบประมาณ และ 4.แก้ไขปัญหา กรณีพนักงานมหาวิทยาลัยส่วนใหญ่ร้องเรียนว่าไม่ได้ใช้วงเงินสวัสดิการ (200,000/20,000) ผ่านที่ประชุมสภามหาวิทยาลัยในการประชุมครั้งที่ 545 เมื่อวันที่ 19 มิถุนายน 2552

ในการแข่งขัน “ขุนเลเกมส์” มหาวิทยาลัยมหิดลได้ส่งคณะนักกีฬาเข้าร่วมการแข่งขันดังกล่าวจำนวนทั้งสิ้น 381 คน เข้าชิงชัยใน 16 ชนิดกีฬา โดยมีสถาบันอุดมศึกษาเข้าร่วมการแข่งขัน 58 สถาบัน ซึ่งจากผลการแข่งขัน มหาวิทยาลัยมหิดลสามารถทำเหรียญรวมเป็นอันดับ 1 ได้สำเร็จเป็นสมัยที่ 4 ติดต่อกัน โดยในปีนี้สามารถชิงชัยได้จำนวนทั้งสิ้น 192 เหรียญ

นอกจากนี้ มหาวิทยาลัยมหิดลได้มีการสนับสนุนให้พนักงานมหาวิทยาลัยได้พัฒนา และเสริมสร้างสุขภาพพลานามัยด้านร่างกายและจิตใจของตนเอง ทั้งเชิงรุก และเชิงป้องกันขึ้นเป็นประโยชน์ในการพัฒนาคุณภาพชีวิตให้แก่บุคลากรทั้งยังเป็นการเสริมสร้างความสุข และความผูกพันต่อมหาวิทยาลัย สอดรับกับการนโยบายการเป็น HAPPY WORKPLACE

Recent post