รมต.กระทรวงการอุดมศึกษาฯ บรรยายพิเศษ เรื่อง “บทบาทของมหาวิทยาลัยต่อการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ชาติ” ณ คณะแพทยศาสตร์ รพ.รามาธิบดี ม.มหิดล

มหาวิทยาลัยมหิดลแสดงความยินดีกับผู้สำเร็จการศึกษาด้วยทุนมหิดล และทุนพัฒนาอาจารย์มหาวิทยาลัยมหิดล ประจำปีงบประมาณ 2561
August 14, 2019
มหาวิทยาลัยมหิดล จัดกิจกรรม “MU SDGs Talk”
August 15, 2019

รมต.กระทรวงการอุดมศึกษาฯ บรรยายพิเศษ เรื่อง “บทบาทของมหาวิทยาลัยต่อการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ชาติ” ณ คณะแพทยศาสตร์ รพ.รามาธิบดี ม.มหิดล

01 - DSC_9640

14 สิงหาคม 2562 ศาสตราจารย์ นายแพทย์บรรจง มไหสวิริยะ รักษาการแทนอธิการบดีมหาวิทยาลัยมหิดล พร้อมด้วยคณะผูบริหารมหาวิทยาลัย และส่วนงานต่างๆ ของมหาวิทยาลัยมหิดล ให้การต้อนรับ ดร.สุวิทย์ เมษินทรีย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ในโอกาสให้เกียรติมาบรรยายทางวิชาการ หัวข้อ “บทบาทของมหาวิทยาลัยต่อการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ชาติ” ณ ห้องประชุม 910 ชั้น 9 อาคารเรียนและปฏิบัติการรวมด้านการแพทย์และโรงเรียนพยาบาลรามาธิบดี คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล

ดร.สุวิทย์ เมษินทรีย์ เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมคนแรกของกระทรวง และคนปัจจุบัน เริ่มวาระการดำรงตำแหน่งตั้งแต่วันที่ 10 กรกฎาคม 2562 โดยท่านเป็นศิษย์เก่าเภสัชมหิดลรุ่นที่ 11 กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม หรือ อว. เป็นหนึ่งในหน่วยงานระดับกระทรวงของรัฐบาลไทย มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการส่งเสริม สนับสนุน และกำกับการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ การวิจัย และการสร้างสรรค์นวัตกรรม เพื่อการพัฒนาประเทศให้เท่าทันกับการเปลื่ยนแปลงของโลก โดยเป็นกระทรวงที่เกิดจากการรวมหน่วยงานกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ และสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติเข้าด้วยกัน

ดร.สุวิทย์ เมษินทรีย์ กล่าวว่า ส่วนหนึ่งที่ทางรัฐบาลโดยกระทรวง อว. มองว่าจุดแข็งของมหาวิทยาลัยมหิดลที่อยากให้ขับเคลื่อน ประเด็นแรก คือ เรื่อง Internationalization หรือ ความเป็นสากล กับอีกส่วนหนึ่ง คือเรื่อง Innovation ซึ่งสามารถนำมาบูรณาการและประมวลเพื่อตอบโจทย์รัฐบาลในเรื่องของเป้าหมายที่เรียกว่า Re-inventing Healthcare System หรือ การปฏิรูปและปรับปรุงระบบสุขภาพของทั้งประเทศ รวมไปถึงยังสามารถครอบคลุมไปถึงเรื่องของการเชื่อมโยงไปสู่การขยายผลกับอุตสาหกรรมการแพทย์ อุตสาหกรรมเครื่องมือแพทย์ เพื่อให้เกิดพึ่งพาตัวเองให้มีการใช้ผลิตภัณฑ์ในประเทศได้มากขึ้น ลดการนำเข้าจากต่างประเทศ

ประเด็นที่สอง เป็นเรื่องการสร้างความสามารถในการแข่งขัน หรือ Competitiveness ผ่านเรื่อง BCG Model ซึ่งก็คือ เศรษฐกิจใน 3 มิติ ประกอบด้วย มิติแรก คือ Bioeconomy หรือเศรษฐกิจชีวภาพ มิติที่สอง คือ Circular Economy หรือเศรษฐกิจที่หมุนเวียนต่างๆ และมิติที่สาม คือ Green Economy หรือเศรษฐกิจฐานรากที่มุ่งเน้นการใส่ใจต่อสิ่งแวดล้อม ซึ่งทางกระทรวง อว. จะจัดสรรงบประมาณเพื่อเข้ามาช่วยผลักดันในส่วนของทิศทางของเป้าหมายดังกล่าว นอกจากนี้ในอีกมิติหนึ่งในความเป็นสถาบันอุดมศึกษาซึ่งประเทศเองจะต้องแข่งขันกับนานาชาติ ทางรัฐบาลมองว่ามหาวิทยาลัยมหิดลน่าจะเป็น 1 ใน 2 มหาวิทยาลัย ซึ่งได้แก่ มหาวิทยาลัยมหิดล และจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในการที่จะเป็นมหาวิทยาลัยต้นแบบของประเทศที่ขึ้นไปอยู่ในอันดับ 1 ใน 100 มหาวิทยาลัยโลก โดยได้วางงบประมาณไว้ที่ 1,000 ล้านบาท และจะเปิดโอกาสให้มหาวิทยาลัยมหิดลได้เสนอ concept ต่างๆ เข้ามาหารือเพื่อขับเคลื่อนใน step ต่อไป

Recent post