คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี ม.มหิดล ร่วมกับ กระทรวงพม. สสส. จัดงานแถลงข่าวสร้างความตระหนักรู้ “ยุติความรุนแรงจากควันบุหรี่”

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ แพทย์หญิงสุวนิตย์ ธีระศักดิ์วิชยา ครูแพทย์ผู้วางกรอบแนวคิด 9 ลักษณะ ในการวางแผนการดูแลผู้ป่วยให้เป็นระบบตามมาตรฐานอย่างมีคุณภาพ
November 22, 2019
วิทยาลัยดุริยางคศิลป์ ม.มหิดล ได้เข้าร่วมการประเมินหลักสูตรดุริยางคศาสตรมหาบัณฑิต (Master of Music) และศิลปศาสตรมหาบัณฑิต (Master of Arts) โดย MusiQuE
November 22, 2019

คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี ม.มหิดล ร่วมกับ กระทรวงพม. สสส. จัดงานแถลงข่าวสร้างความตระหนักรู้ “ยุติความรุนแรงจากควันบุหรี่”

1

วันที่ 22 พฤศจิกายน 2562 ณ ห้องประชุมท่านผู้หญิงวิระยา ชวกุล ชั้น 5 อาคารศูนย์การแพทย์สิริกิติ์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.นรีมาลย์ นีละไพจิตร ผู้ช่วยผู้อํานวยการโรงเรียนพยาบาลรามาธิบดี ได้ร่วมงานแถลงข่าวสร้างความตระหนักรู้ “ยุติความรุนแรงจากควันบุหรี่” โดยกล่าวว่า คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล ได้สํารวจความคิดเห็นแม่บ้านเรื่องสุขภาพคนในครอบครัวกับการสูบบุหรี่ในกรุงเทพมหานครและ ปริมณฑล ปี 2562 พบว่า แม่บ้านถึงร้อยละ 96.2 มีความเห็นว่าไม่ควรสูบบุหรี่ในบ้าน ร้อยละ 74.3 เห็นว่าการสูบบุหรี่จัดเป็นความรุนแรงในครอบครัวเพราะทําอันตรายต่อสุขภาพคนในบ้าน เมื่อถามเจาะลงไปเรื่องบุหรี่ไฟฟ้า ร้อยละ 86.7 เห็นว่าบุหรี่ไฟฟ้าเป็นอันตราย กับสุขภาพ ทั้งนี้ นางอรุณี ชื่นชนม์ หัวหน้างานสังคมสงเคราะห์ โรงพยาบาลรามาธิบดี กล่าวว่า โรงพยาบาลรามาธิบดี มี “ศูนย์ช่วยเหลือ ผู้ถูกกระทําความรุนแรงในครอบครัว” ในรูปแบบ One Stop Service ภายใต้ชื่อ “ศูนย์นารีรักษ์” พร้อมให้ความช่วยเหลือผู้หญิงที่ถูกกระทํารุนแรง ในครอบครัว ทั้งการรักษาร่างกาย บําบัดฟื้นฟูจิตใจ การช่วยเหลือและพิทักษ์ในด้านกฎหมาย รวมถึงการบําบัดและควบคุมความประพฤติของผู้ชาย ที่เป็นผู้กระทํารุนแรงให้ได้รับผลเด็ดขาด โดยมีเป้าหมายเพื่อให้ผู้หญิงที่ได้รับความรุนแรงสามารถกลับไปใช้ชีวิตในครอบครัวได้ และลดปัญหาความรุนแรงในครอบครัวที่กําลังเป็นปัญหาใหญ่ในสังคมไทย เป็นความร่วมมือของทีมสหวิชาชีพ ซึ่งประกอบด้วย แพทย์ จิตแพทย์ พยาบาล นักสังคม สงเคราะห์ นักจิตวิทยา และนักกฎหมาย โดยมีทีมนักสังคมสงเคราะห์เป็นแกนกลางในการประสานงาน ช่วยเหลือ ติดตาม อย่างต่อเนื่อง ซึ่งการ บริการของศูนย์นารีรักษ์ จะประเมินความเสี่ยงด้านสังคม อารมณ์ จิตใจ และเศรษฐกิจ โดยให้บริการปรึกษา แนะนํา สนับสนุน เพื่อสร้างเสริมพลัง ใจและช่วยเหลือตามสภาพปัญหา ให้คําแนะนําด้านสิทธิเบื้องต้นทางกฎหมาย และติดต่อประสานงานเพื่อให้เข้าถึงแหล่งทรัพยากรทางสังคม โดยมีศาสตราจารย์ นพ.รณชัย คงสกนธ์ ประธานคณะกรรมการส่งเสริมและพัฒนาครอบครัว (กสค.) กล่าวว่า องค์การสหประชาชาติ ได้ กําหนดให้วันที่ 25 พฤศจิกายนของทุกปี เป็นวันยุติความรุนแรงต่อเด็กและสตรี สากล และรัฐบาลไทยได้กําหนดให้เดือนพฤศจิกายน เป็น เดือนแห่งการรณรงค์ยุติความรุนแรงต่อเด็กและสตรี โดยในส่วนของประเทศไทยได้มีการสํารวจความรุนแรงในครอบครัวไทยต่อผู้หญิง และบุคคลในครอบครัว ปี 2560 พบความรุนแรงต่อผู้หญิงและบุคคลในครอบครัว จํานวน 874,295 ครัวเรือน ทั้งนี้องค์การ สหประชาชาติระบุว่าประเทศไทยติดอันดับสถิติคดีความรุนแรงต่อเด็กและสตรี เป็นอันดับ 1 ใน 10 ของโลก “ประเด็นที่น่าเป็นห่วงของสังคมไทยและอาจจะเป็นภัยเงียบ นั่นก็คือการกระทําความรุนแรงต่อสุขภาพคนในครอบครัวที่มี สาเหตุมาจากการสูบบุหรี่ ซึ่งจากการสํารวจของสํานักงานสถิติแห่งชาติ ปี 2560 ที่ศูนย์วิจัยและจัดการความรู้เพื่อการควบคุมยาสูบ (ศจย.) สนับสนุนโดยสํานักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ได้ทําการวิเคราะห์พบว่า มีครัวเรือนที่มีคนสูบบุหรี่มากถึง 4,962,045 ครัวเรือน คนที่ไม่สูบบุหรี่จึงได้รับควันบุหรี่มือสองในบ้านโดยเฉลี่ยมากถึง 10,333,653 คน ซึ่งผลการวิจัยในวารสารก้าวทัน วิจัยกับ ศจย. ปี 2562 พบว่า 81% บ้านเป็นสถานที่รับควันบุหรี่มือสองจากคนในครอบครัวมากที่สุด โดยผู้หญิงที่มีสามีสูบบุหรี่หรือผู้ที่ ทํางานในสถานที่ที่มีคนสูบบุหรี่มีโอกาสเสี่ยงเป็นมะเร็งปอดเพิ่มขึ้น 24% และ19% ตามลําดับ ทั้งนี้เด็กทารกที่มีผู้ปกครองสูบบุหรี่ มี โอกาสเกิดภาวะไหลตายเพิ่มขึ้น 2 เท่า มีโอกาสเกิดหลอดลมอักเสบหรือปอดอักเสบเพิ่มขึ้น 47% และ มีโอกาสเป็นโรคหอบหืดเพิ่มขึ้น 39% ดังนั้นควันบุหรี่เป็นภัยร้ายต่อชีวิตคนในครอบครัวเพราะต้องใช้อากาศในบ้านร่วมกัน”

ติดตามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ : Press Release

Recent post