มหาวิทยาลัยมหิดลเปิดตัวห้องปฏิบัติการดิจิทัล เพิ่มศักยภาพการเรียนการสอนและงานวิจัยด้านวิทยาศาสตร์ชีวภาพ

การประชุมชี้เเจง “แนวทางการประเมินศักยภาพของบุคลากรสายวิชาการ”
November 11, 2019
มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมกับ สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) และ บริษัท ไทยยูเนียน กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) เปิด Space – F พื้นที่พัฒนาสตาร์ทอัพด้านอาหารระดับนานาชาติ
November 12, 2019

มหาวิทยาลัยมหิดลเปิดตัวห้องปฏิบัติการดิจิทัล เพิ่มศักยภาพการเรียนการสอนและงานวิจัยด้านวิทยาศาสตร์ชีวภาพ

lab4

วันที่ 11 พฤศจิกายน 2562 รองศาสตราจารย์ นพ.ธันย์  สุภัทรพันธุ์  รักษาการแทนรองอธิการบดี มหาวิทยาลัยมหิดล พร้อมด้วย รองศาสตราจารย์ ดร.ภญ.จุฑามณี สุทธิสีสังข์ รักษาการแทนรองอธิการบดีฝ่ายนโยบายและแผน รองศาสตราจารย์ ดร. สิทธิวัฒน์ เลิศศิริ คณบดีคณะวิทยาศาสตร์ และดร.ศิรวิทย์ สิตปรีชา หัวหน้าภาควิชาชีววิทยา มหาวิทยาลัยมหิดล เปิด “หน่วยปฏิบัติการชีววิทยาศาสตร์ระบบดิจิทัล” ห้องปฏิบัติการที่ใช้เทคโนโลยีดิจิทัลที่ทันสมัย สามารถเพิ่มศักยภาพการเรียนการสอนด้านวิทยาศาสตร์ชีวภาพสำหรับนักศึกษาของมหาวิทยาลัยมหิดลได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งด้านชีววิทยา จุลชีววิทยา ชีวเคมี และวิทยาศาสตร์การแพทย์แขนงต่างๆ  โดยมีผู้อำนวยการและผู้แทนจากโรงเรียนเครือข่ายทั่วประเทศของคณะวิทยาศาสตร์ ให้เกียรติร่วมในพิธีเปิดหน่วยปฏิบัติการชีววิทยาศาสตร์ระบบดิจิทัล ณ อาคารวิทยาศาสตร์ 3 ห้องปฏิบัติการกลาง คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา

“หน่วยปฏิบัติการชีววิทยาศาสตร์ระบบดิจิทัล” ประกอบด้วยห้องเรียนและระบบปฏิบัติการแบบดิจิทัลที่ใช้เทคโนโลยีทันสมัย เพื่อยกระดับศักยภาพของห้องปฏิบัติการทางชีววิทยาเดิม โดยปรับปรุงเทคโนโลยีด้านกล้องจุลทรรศน์และเลนส์ประกอบ ที่สามารถต่อกับกล้องดิจิทัลความละเอียดสูง สามารถแสดงภาพขึ้นสู่จอโทรทัศน์ขนาด 40 นิ้วที่ติดตั้งสำหรับผู้เรียนทุกกลุ่มย่อยได้อย่างเจาะจง พร้อมทั้งได้ออกแบบและจัดหาห้องควบคุมที่สามารถให้ผู้เรียนและผู้สอนสื่อสารกันได้แบบสองทิศทาง สามารถนำเสนอผลการศึกษาและภาพจากห้องเรียนหนึ่งไปสู่อีกห้องเรียนผ่านระบบ เพื่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างผู้เรียนแบบ Real-time นักศึกษาสามารถทำการบันทึกภาพ วิเคราะห์ และประมวลข้อมูลผลการทดลองได้อย่างรวดเร็ว ดาวน์โหลดข้อมูลจากผลปฏิบัติการ ทำการทดสอบบทเรียน ส่งงาน และค้นคว้าข้อมูลเพิ่มเติมได้อย่างอิสระ

ระยะแรกของโครงการนี้ได้ออกแบบระบบห้องปฏิบัติการ 2 ห้องให้สามารถรองรับการเรียนได้พร้อมกัน 40 กลุ่ม ให้สามารถเรียนพร้อมกันได้จำนวน 250 คน ทั้งนี้ ในปี พ.ศ. 2563 เมื่อเสร็จสมบูรณ์ทั้ง 6 ห้อง จะสามารถรองรับผู้เรียนได้พร้อมกันกว่า 800 คน

Recent post