มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมวิชาการนานาชาติ The First International Symposium on Botanical Gardens and Landscapes (BGL 2019)

คณะกรรมการสภามหาวิทยาลัยมหิดล เข้าเยี่ยมส่วนงาน ครั้งที่ 1/2562 (Council Visit) ณ วิทยาลัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการกีฬา
December 3, 2019
วิทยาเขตกาญจนบุรี มหาวิทยาลัยมหิดล ลงนามความร่วมมือทางวิชาการร่วมกับโรงเรียนระดับมัธยมศึกษา จังหวัดกาญจนบุรี จำนวน 5 โรงเรียน
December 3, 2019

มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมวิชาการนานาชาติ The First International Symposium on Botanical Gardens and Landscapes (BGL 2019)

BGL 2019 02.12.62_191203_0002

มหาวิทยาลัยมหิดล  โดย ภาควิชาพฤกษศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ ร่วมกับ สมาคมพืชสวนนานาชาติ (International Society for Horticultural Science; ISHS) เป็นเจ้าภาพจัดการประชุมวิชาการนานาชาติ เรื่อง The First International Symposium on Botanical Gardens and Landscapes (BGL 2019) ระหว่างวันที่  2 – 4 ธันวาคม 2562 ณ โรงแรมเอเชีย กรุงเทพมหานคร โดยมี  รองศาสตราจารย์ ดร.พลังพล คงเสรี คณบดีคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมเป็นประธานเปิดการประชุม โดยมีนักวิจัย นักวิทยาศาสตร์ นิสิต นักศึกษา ระดับปริญญาตรีและระดับบัณฑิตศึกษา รวม 154 คน จาก 15 ประเทศ ร่วมเผยแพร่ผลงานวิจัย พร้อมแลกเปลี่ยนประสบการณ์และองค์ความรู้ เกี่ยวกับความก้าวหน้าล่าสุดในทุกด้านของวิทยาการพืช ซึ่งครอบคลุม 12 หัวข้อ ได้แก่ Botanical gardens, Landscapes, Urban Horticulture and Gardens, Plant Genetic Resources, Plant Conservation, Plant Taxonomy, Plant Breeding, Plant Propagation, Plant Tissue Culture, Plant Production, Plant Biotechnology, and Ethnobotany พร้อมพบปะนักวิทยาศาสตร์ชั้นแนวหน้าในระดับนานาชาติ

ภายในงานมีการจัดแสดงผลงานวิจัยแบบโปสเตอร์และการนำเสนอผลงานที่น่าสนใจ อาทิ การเก็บรักษาเชื้อพันธุ์กล้วยไม้หายากซึ่งถูกรุกรานโดยภัยธรรมชาติและมนุษย์ในอุณหภูมิต่ำกว่าจุดเยือกแข็ง การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อสมุนไพรหายากบางชนิดเพื่อเพิ่มปริมาณสำหรับนำกลับสู่ธรรมชาติและสกัดสารออกฤทธิ์เพื่อใช้ในการวิจัยอื่นๆ การศึกษายีนส์ที่ควบคุมการแสดงออกของการสร้างเม็ดสีในปลีกล้วย การศึกษา DNA barcode เพื่อศึกษาวิวัฒนาการของพืชในกลุ่ม Acorus การศึกษาความแตกต่างของสายพันธุ์ Cereals จากลักษณะภายนอกประกอบกับ DNA Pattern และรูปแบบของโครโมโซม เพื่อใช้ในการปรับปรุงพันธุ์พืชที่เหมาะสมกับการนำไปใช้กับ Green roof เป็นต้น

Recent post