8 ส่วนงาน ม.มหิดล ผ่านการประเมินคุณภาพผลงานวิจัยเชิงวิชาการด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของสถาบันอุดมศึกษาในประเทศไทยปี พ.ศ. 2560 จัดโดย สกว.

มหาวิทยาลัยมหิดลหารือความร่วมมือในการพัฒนางานวิจัยสู่ประโยชน์เชิงพาณิชย์ ร่วมกับบริษัท เบทาโกร จำกัด (มหาชน)
December 26, 2018
มหาวิทยาลัยมหิดล เสวนาวิชาการ “50 ปี 50 ครูดีเด่น กับการศึกษาในยุค Thailand 4.0”
December 27, 2018

8 ส่วนงาน ม.มหิดล ผ่านการประเมินคุณภาพผลงานวิจัยเชิงวิชาการด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของสถาบันอุดมศึกษาในประเทศไทยปี พ.ศ. 2560 จัดโดย สกว.

Mahidol_standard_TH9-01

มหาวิทยาลัยมหิดล ขอแสดงความยินดีกับ 8 ส่วนงานที่ผ่านการประเมินคุณภาพผลงานวิจัยเชิงวิชาการด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของสถาบันอุดมศึกษาในประเทศไทยปี พ.ศ. 2560 ของสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) ได้แก่ คณะวิทยาศาสตร์ สถาบันชีววิทยาศาสตร์โมเลกุล คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล คณะเวชศาสตร์เขตร้อน คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี คณะเภสัชศาสตร์ คณะเทคนิคการแพทย์ และคณะพยาบาลศาสตร์

สาขาวิชาที่ประเมินโดย สกว. มี 6 กลุ่ม ได้แก่ 1.กลุ่มสาขาวิชาวิศวกรรมศาสตร์ 2.กลุ่มสาขาวิชาเทคโนโลยี 3.กลุ่มสาขาวิชาวิทยาศาสตร์ธรรมชาติ 4.กลุ่มสาขาวิชาวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีการเกษตรและสัตวแพทยศาสตร์ 5.กลุ่มสาขาวิชาแพทยศาสตร์และทันตแพทยศาสตร์ และ 6.กลุ่มสาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ

วัตถุประสงค์ของการประเมินฯ เพื่อทราบถึงปริมาณ และคุณภาพของผลงานวิจัยเชิงวิชาการระดับสาขาวิชาของสถาบันอุดมศึกษาในประเทศไทย เพื่อทราบถึงพัฒนาการของผลงานวิจัยเชิงวิชาการระดับสาขาวิชาของสถาบันอุดมศึกษาในประเทศไทย เพื่อนำข้อมูลที่ได้มาใช้ในการวางแผนและจัดสรรทุนวิจัยของ สกว. ในอนาคต และเพื่อให้หน่วยงานที่เข้าร่วมโครงการสามารถนำผลการประเมินไปใช้ในการพัฒนางานวิจัยของตน

สำหรับตัวชี้วัดที่ใช้ในการประเมินมี 3 ข้อ ได้แก่ 1. Equivalent Rating 5 Journal Publication / Faculty Member (ร้อยละ 30) 2. Life-time Citation / Faculty Member (ร้อยละ 35) และ 3. Life-time Citation / Life-time Journal Publication (ร้อยละ 35)

โดยมีหน่วยงานให้ความสนใจสมัครเข้าร่วมจำนวนทั้งสิ้น 405 หน่วยงาน จาก 25 สถาบันการศึกษา ซึ่งประกอบไปด้วย สถาบันอุดมศึกษาของรัฐจำนวน 18 แห่ง มหาวิทยาลัยราชภัฏจำนวน 2 แห่ง มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลจำนวน 4 แห่ง ร่วมด้วย สถาบันบัณฑิตศึกษาจุฬาภรณ์ อีก 1 แห่ง โดยมหาวิทยาลัยมหิดลส่งเข้าร่วมการประเมินฯ จำนวน 74 หน่วยงาน

ผลการประเมินกลุ่มสาขาวิชาเทคโนโลยี
– สาขา Biotechnology, Bio-Informatics มีหน่วยงานเข้าร่วมจำนวนทั้งสิ้น 10 หน่วยงาน มหาวิทยาลัยมหิดล โดย คณะวิทยาศาสตร์ / เทคโนโลยีชีวภาพ ผ่านการประเมินเป็นอันดับ 1 (TRF Index 4.4)
– สาขา Material Technology. Material Engineering, Material Sciences, Mining Engineering Polymer Technology มีหน่วยงานเข้าร่วมจำนวนทั้งสิ้น 13 หน่วยงาน มหาวิทยาลัยมหิดล โดย คณะวิทยาศาสตร์ / วิทยาศาสตร์และวิศวกรรมวัสดุ ผ่านการประเมินเป็นอันดับ 2 (TRF Index 4.4)
– สาขา Management Technology, Energy Management, Environment Management, Management Sciences, Management Information System, Industrial Management และ Multidisciplinary Technologies มีหน่วยงานเข้าร่วมจำนวนทั้งสิ้น 8 หน่วยงาน มหาวิทยาลัยมหิดล โดย คณะวิทยาศาสตร์ / หน่วยสหสาขาวิชา ผ่านการประเมินเป็นอันดับ 1 (TRF Index 4.4)

ผลการประเมินกลุ่มสาขาวิชาวิทยาศาสตร์ธรรมชาติ
– สาขา Chemistry มีหน่วยงานเข้าร่วมจำนวนทั้งสิ้น 16 หน่วยงาน มหาวิทยาลัยมหิดล โดย คณะวิทยาศาสตร์ / เคมี ผ่านการประเมินเป็นอันดับ 3 (TRF Index 4.7)
– สาขา Physics มีหน่วยงานที่เข้าร่วมจำนวนทั้งสิ้น 13 หน่วยงาน มหาวิทยาลัยมหิดล โดย คณะวิทยาศาสตร์ / ฟิสิกส์ ผ่านการประเมินเป็นอันดับ 3 (TRF Index 4.4)
– สาขา Mathematics and Statistics มีหน่วยงานที่เข้าร่วมจำนวนทั้งสิ้น 14 หน่วยงาน มหาวิทยาลัยมหิดล โดย คณะวิทยาศาสตร์ / คณิตศาสตร์ ผ่านการประเมินเป็นอันดับ 4 (TRF Index 4.1)
– สาขา Biochemistry / Molecular Biology / Genetics มีหน่วยงานที่เข้าร่วมจำนวนทั้งสิ้น 10 หน่วยงาน มหาวิทยาลัยมหิดล โดย สถาบันชีววิทยาศาสตร์โมเลกุล ผ่านการประเมินเป็นอันดับ 1 (TRF Index 5.0) และ คณะวิทยาศาสตร์ / ชีวเคมี ผ่านการประเมินเป็นอันดับ 2 (TRF Index 4.7)
– สาขา Microbiology มีหน่วยงานที่เข้าร่วมจำนวนทั้งสิ้น 6 หน่วยงาน มหาวิทยาลัยมหิดล โดย คณะวิทยาศาสตร์ / จุลชีววิทยา ผ่านการประเมินเป็นอันดับ 1 (TRF Index 4.4)

ผลการประเมินกลุ่มสาขาวิชาแพทยศาสตร์และทันตแพทยศาสตร์
– สาขาศัลยศาสตร์มีหน่วยงานที่เข้าร่วมจำนวนทั้งสิ้น 15 หน่วยงาน มหาวิทยาลัยมหิดล โดย คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล / ศัลยศาสตร์ออร์โธปิดิคส์และกายภาพบำบัด ผ่านการประเมินเป็นอันดับ 1 (TRF Index 4.7) และคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล / จักษุวิทยา ผ่านการประเมินเป็นอันดับ 2 (TRF Index 4.4)
– สาขาอายุรศาสตร์ มีหน่วยงานที่เข้าร่วมจำนวนทั้งสิ้น 18 หน่วยงาน มหาวิทยาลัยมหิดล โดย คณะเวชศาสตร์เขตร้อน ผ่านการประเมินเป็นอันดับ 2 (TRF Index 4.7) คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี / อายุรศาสตร์ ผ่านการประเมินเป็นอันดับ 4 (TRF Index 4.4) และคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล / อายุรศาสตร์ ผ่านการประเมินเป็นอันดับ 5 (TRF Index 4.1)
– สาขากุมารเวชศาสตร์ มีหน่วยงานที่เข้าร่วมจำนวนทั้งสิ้น 5 หน่วยงาน มหาวิทยาลัยมหิดล โดย คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี / กุมารเวชศาสตร์ ผ่านการประเมินเป็นอันดับ 2 (TRF Index 4.1)
– สาขา Other Medicine มีหน่วยงานที่เข้าร่วมจำนวนทั้งสิ้น 10 หน่วยงาน มหาวิทยาลัยมหิดล โดย คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล / เวชศาสตร์ป้องกันและสังคม ผ่านการประเมินเป็นอันดับ 2 (TRF Index 5.0)

ผลการประเมินกลุ่มสาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ
– สาขาพรีคลินิกมีหน่วยงานที่เข้าร่วมจำนวนทั้งสิ้น 34 หน่วยงาน มหาวิทยาลัยมหิดล โดย คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล / สถานส่งเสริมการวิจัย ผ่านการประเมินเป็นอันดับ 3 (TRF Index 4.7) คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล / จุลชีววิทยา ผ่านการประเมินเป็นอันดับ 4 (TRF Index 4.4) และมหาวิทยาลัยมหิดล โดย คณะวิทยาศาสตร์ / พรีคลินิก (กายวิภาคศาสตร์, เภสัชวิทยา, พยาธิชีววิทยา, สรีรวิทยา) ผ่านการประเมินเป็นอันดับ 6 (TRF Index 4.0)
– สาขาเภสัชศาสตร์ มีหน่วยงานที่เข้าร่วมจำนวนทั้งสิ้น 6 หน่วยงาน มหาวิทยาลัยมหิดล โดย คณะเภสัชศาสตร์ ผ่านการประเมินเป็นอันดับ 2 (TRF Index 4.1)
– สาขาเทคนิคการแพทย์ / สหเวชศาสตร์ มีหน่วยงานที่เข้าร่วมจำนวนทั้งสิ้น 16 หน่วยงาน มหาวิทยาลัยมหิดล โดย คณะเทคนิคการแพทย์ / สาขาเทคนิคการแพทย์ ผ่านการประเมินเป็นอันดับ 2 (TRF Index 4.7)
– สาขาพยาบาลศาสตร์ มีหน่วยงานที่เข้าร่วมจำนวนทั้งสิ้น 9 หน่วยงาน มหาวิทยาลัยมหิดล โดย คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี / โรงเรียนพยาบาลรามาธิบดี ผ่านการประเมินเป็นอันดับ 1 (TRF Index 5.0) และคณะพยาบาลศาสตร์ / การพยาบาลอายุรศาสตร์ ผ่านการประเมินเป็นอันดับ 2 (TRF Index 4.3)
– สาขาสาธารณสุขศาสตร์ มีหน่วยงานที่เข้าร่วมจำนวนทั้งสิ้น 15 หน่วยงาน มหาวิทยาลัยมหิดล โดย คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี / ระบาดวิทยาคลินิกและชีวสถิติ ผ่านการประเมินเป็นอันดับ 1 (TRF Index 4.7)

Recent post