มหาวิทยาลัยมหิดล สัมมนาหลักการและเทคนิคการพิจารณากลั่นกรองหลักสูตร “Outcome – Based Education”

ม.มหิดล ติดอันดับที่ 115 ของโลก และอันดับที่ 1 ของประเทศในสาขา Life Sciences & Medicine จากการจัดอันดับโดย QS World University Rankings by Subject 2017
January 9, 2018
Academic and Research Collaborative Meeting
January 9, 2018

มหาวิทยาลัยมหิดล สัมมนาหลักการและเทคนิคการพิจารณากลั่นกรองหลักสูตร “Outcome – Based Education”

edu1

วันที่ 13 มีนาคม 2560 ณ ห้องประชุม 322 ศูนย์การเรียนรู้มหิดล ศาลายา ศาสตราจารย์คลินิก นายแพทย์อุดม คชินทร อธิการบดีมหาวิทยาลัยมหิดล เป็นประธานเปิดการประชุมสัมมนาและมอบนโยบายทิศทางด้านการศึกษาของมหาวิทยาลัยเพื่อมุ่งสู่ “Outcome – Based Education” โดยมุ่งถึงรูปแบบของการจัดการเรียนการสอนที่ส่งเสริมและสร้างทักษะของนักศึกษามากกว่าการให้ความรู้และเนื้อหาความรู้ ผนวกกับบัณฑิจที่สำเร็จการศึกษาต้องมีความรู้ทางด้านภาษาที่มากกว่า 2 ภาษา ซึ่งเป็นส่วนที่จะทำให้บัณฑิตมีคุณภาพมีงานทำภายหลังสำเร็จการศึกษา ทั้งนี้ ทุกหลักสูตรจะต้องตามโลกให้ทัน รู้ว่าจะต้องผลิตบัณฑิตเพื่ออะไร และบัณฑิตที่จบไปแล้วจะไปอยู่ที่ไหน ตรงไหน โดยหลักสูตรต้องเปิดโอกาสให้นักศึกษาไปศึกษาดูงานจากการทำงานจริงอย่างน้อย 1 เทอม/6 หน่วยกิต เพื่อให้เกิดแรงบันดาลใจ

ในโอกาสนี้ ศาสตราจารย์คลินิก นายแพทย์สุวัฒน์ เบญจพลพิทักษ์ รองอธิการบดีฝ่ายการศึกษามหาวิทยาลัยมหิดล บรรยายเรื่อง “นโยบายการพัฒนาหลักสูตรใหม่/ ปรับปรุงหลักสูตร/ ปิดหลักสูตร” โดยมหาวิทยาลัยได้กำหนดคุณลักษณะบัณฑิตและบุคลากรที่พึงประสงค์ของมหาวิทยาลัยมหิดล 4 ข้อ คือ

1. T-Shaped breadth and depth รู้แจ้ง รู้จริง ทั้งด้านกว้างและลึก

2. Globally Talented มีทักษะ มีศักยภาพแข่งขันในระดับโลก ตอบสนองความต้องการของสังคม

3. Socially Contributing มีจิตสาธารณะ ทำประโยชน์กับสังคม

4. Entrepreneurially Minded กล้าคิด กล้าทำ กล้าตัดสินใจ สร้างสรรค์สิ่งใหม่ในทางที่ถูกต้อง ผลสัมฤทธิ์ดังกล่าวจะเกิดขึ้นได้นั้น ต้องมีองค์ประกอบ 3 ด้าน คือ Cognitive Domain, Interpersonal Domain และ Intrapersonal Domain ซึ่งการจัดการเรียนการสอนจะต้องมีความสอดคล้องและบูรณาการการวัดผลของการจัดการศึกษา จึงกำหนดเกณฑ์การเปิดหลักสูตรใหม่/ ปรับปรุงหลักสูตร เพื่อใช้เป็นข้อพิจาณาทั้งระดับปริญญาตรีและบัณฑิตศึกษา ดังนี้

1. เป็นหลักสูตรตอบสนองความต้องการของสังคม

2. ตอบสนองนโยบายและยุทธศาสตร์ของมหาวิทยาลัยมหิดลเป็น Outcome-based curriculum

3. เป็นการผลิตบัณฑิตในสาขาวิชาที่ขาดแคลน

4. เป็นสาขาวิชาที่ส่วนงานมีความเชี่ยวชาญ

5. เป็นหลักสูตรนานาชาติ

6. เป็นหลักสูตร 2 ปริญญา หรือ Joint degree กับสถาบันต่างประเทศ

สำหรับหลักสูตรภาษาไทย ต้องเข้าหลักเกณฑ์อย่างน้อย ข้อ 1 – 4 และหลักสูตรนานาชาติต้องเข้าหลักเกณฑ์ อย่างน้อย 1,2,4,5 และหรือข้อ 6 โดยหลักสูตรภาษาไทยระดับปริญญาตรี กิจกรรมการเรียนการสอนต้องใช้ภาษาอังกฤษเพื่อให้นักศึกษามีศักยภาพในการทำงานหรือศึกษาต่อ

นอกจากนี้ ได้ประกาศเกณฑ์การปิดหลักสูตร เช่น

1. การดำเนินการหลักสูตรไม่เป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรระดับปริญญาตรีและระดับบัณฑิตศึกษา พ.ศ. 2558 และหลักสูตรไม่เป็นตามเกณฑ์มาตรฐานขององค์กรวิชาชีพที่เกี่ยวข้อง

2. ไม่สอดคล้องกับความต้องการของสังคมหรือมีจำนวนนักศึกษาต่ำกว่าแผนการรับนักศึกษามากกว่า 50%

3. หลักสูตรไม่เปิดรับนักศึกษาหรือไม่มีนักศึกษาใหม่เข้าเรียนเป็นระยะเวลาติดต่อกัน 2 ปีการศึกษา 4. มีผลการดำเนินการของหลักสูตรต่ำกว่าจุดคุ้มทุนติดต่อกัน 2 ปีการศึกษา

จากนั้น รองศาสตราจารย์ แพทย์หญิงสุภาวดี ประคุณหังสิต ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายการศึกษา ได้บรรยายเรื่อง “มาตรฐานการออกแบบหลักสูตรและแนวปฏิบัติการพิจารณากลั่นกรองหลักสูตร” และฝึกปฏิบัติเทคนิคการพิจารณากลั่นกรองหลักสูตรในช่วงบ่าย

Recent post