ม.มหิดล จัดโครงการฝึกอบรมหลักสูตรผู้นำนักศึกษามหาวิทยาลัยมหิดล รุ่นที่ 9 (Mahidol University Leadership Program IX)

สถาบันพัฒนาสุขภาพอาเซียน จัดโครงการฝึกอบรมนานาชาติ ครั้งที่ 2
May 28, 2018
ลงนามความร่วมมือ BRIMEA ณ สาธารณรัฐประชาชนจีน
May 28, 2018

ม.มหิดล จัดโครงการฝึกอบรมหลักสูตรผู้นำนักศึกษามหาวิทยาลัยมหิดล รุ่นที่ 9 (Mahidol University Leadership Program IX)

leadership2

28 พฤษภาคม 2561 ศาสตราจารย์ นายแพทย์บรรจง มไหสวริยะ รักษาการแทนอธิการบดีมหาวิทยาลัยมหิดล เป็นประธานเปิดโครงการฝึกอบรมหลักสูตรผู้นำนักศึกษามหาวิทยาลัยมหิดล รุ่นที่ 9 (Mahidol University Leadership Program IX) พร้อมทั้งบรรยายพิเศษ ในหัวข้อ “บทบาทผู้นำนักศึกษามหาวิทยาลัยมหิดล ยุค 21st Century ต่อการพัฒนากิจกรรมนักศึกษา สู่ระดับนานาชาติ” โดยมี รองศาสตราจารย์ นายแพทย์ปรีชา สุนทรานันท์ รักษาการแทนรองอธิการบดีฝ่ายกิจการนักศึกษาและศิษย์เก่าสัมพันธ์ มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวรายงานวัตถุประสงค์ของการจัดโครงการ ณ ห้องมินิเธียร์เตอร์ ชั้น 3 ศูนย์การเรียนรู้มหิดล มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา

โครงการฝึกอบรมหลักสูตรผู้นำนักศึกษามหาวิทยาลัยมหิดล รุ่นที่ 9 (Mahidol University Leadership Program IX) จัดขึ้นเพื่อพัฒนานักศึกษาและเตรียมความพร้อมสำหรับผู้นำนักศึกษาให้มีคุณลักษณะบัณฑิตที่พึงประสงค์ของมหาวิทยาลัยมหิดล อีกทั้งสอดคล้องกับ Mahidol Core Values โดยมุ่งเน้นให้ผู้นำนักศึกษามีทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 (21st Century Skills) เป็น Global Citizen มีจิตสำนึกมุ่งประโยชน์เพื่อผู้อื่น และมีจิตอาสาเพื่อสังคม รวมถึงทักษะการใช้ชีวิตร่วมกับผู้อื่นอย่างมีความสุข ภายใต้พระราชดำรัสของสมเด็จพระบรมราชชนก ความว่า “ความสำเร็จที่แท้จริงอยู่ที่การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้เพื่อประโยชน์สุขแก่มวลมนุษยชาติ” ในระหว่างวันที่ 28 พฤษภาคม – 1 มิถุนายน 2561 ณ มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา และตำบลท่าฉลอม จังหวัดสมุทรสาคร โดยกลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วมโครงการ ได้แก่ ผู้นำนักศึกษามหาวิทยาลัยมหิดล รวมทั้งสิ้นจำนวน 72 คน ซึ่งประกอบด้วย สภานักศึกษามหาวิทยาลัยมหิดล สโมสรนักศึกษามหาวิทยาลัยมหิดล สโมสรนักศึกษาจากส่วนงาน และคณะกรรมการนักศึกษาบ้านมหิดล

ศาสตราจารย์ นายแพทย์บรรจง มไหสวริยะ รักษาการแทนอธิการบดีมหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวว่า “นักศึกษา” คือ สินทรัพย์ที่มีค่าสูงสุดของมหาวิทยาลัย ดังนั้น การพัฒนาอบรมให้นักศึกษาเป็นบัณฑิตที่สร้างประโยชน์สุข แก่สังคม และมวลมนุษยชาติโดยใช้ “การบวนการพัฒนา” ที่เข้ากันได้กับความเป็นตัวตน หรือทุนชีวิตของนักศึกษาซึ่งใช้ชีวิตอยู่ในกระแสสังคมของศตวรรษที่ 21 มหาวิทยาลัยมหิดลนำ 5 กระบวนการ ประกอบด้วย ค่านิยมองค์กร จิตอาสาและพันธกิจสัมพันธ์ มหาวิทยาลัยกับชุมชน การเรียนรู้สู่การเปลี่ยนแปลงและปรัชญาศาสนา และหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงและทักษะของศตวรรษที่ 21 มาใช้เพื่อให้นักศึกษาได้มีประสบการณ์การเรียนรู้ที่ดี โดยนำหลักการบริหารด้วยระบบคุณภาพระดับนานาชาติ การรวมพลังศิษย์เก่าเข้ามาร่วมพัฒนานักศึกษาและมหาวิทยาลัย การสร้างสุขภาวะลูกศิษย์และป้องกันอบายมุขมาเป็นฐานในการดำเนินงานเพื่อให้นักศึกษาออกไปเป็นพลเมืองโลก

Recent post