“จับใจ : ระบบหุ่นยนต์โต้ตอบเพื่อเฝ้าระวังผู้มีภาวะซึมเศร้าบนเครือข่ายสังคม”

สถาบันพัฒนาสุขภาพอาเซียน มหาวิทยาลัยมหิดล จัดฝึกอบรมหลักสูตรนักบริหารระดับสูงด้านสาธารณสุข (นบส.ส) Mini Master of Management in Health (Mini M.M)
May 6, 2018
มหาวิทยาลัยมหิดล จัดแสดงนิทรรศการและแนะแนวการศึกษาในงาน Dek-D’s TCAS Fair 2018
May 7, 2018

“จับใจ : ระบบหุ่นยนต์โต้ตอบเพื่อเฝ้าระวังผู้มีภาวะซึมเศร้าบนเครือข่ายสังคม”

chatbot3

โรคซึมเศร้าเป็นโรคทางจิตเวชประเภทหนึ่งที่พบได้บ่อย ซึ่งสามารถเกิดขึ้นได้ในช่วงชีวิตของคนเรา เหมือนกับโรคทางกายอื่นๆ ผู้ป่วยอาจไม่มีอาการเจ็บป่วยทางร่างกาย แต่จะเป็นอาการป่วยทางอารมณ์อย่างหนึ่ง ซึ่งต้องการการรักษาอย่างถูกวิธี เพราะหากปล่อยไว้ ผู้ป่วยอาจคิดสั้นฆ่าตัวตายได้
“จับใจบอท (Jubjai Bot)” แชทบอทด้านสุขภาพจิตที่จะช่วยประเมินอาการซึมเศร้าของผู้ใช้งาน หากพบว่าผู้รับการประเมินมีอาการซึมเศร้ามาก ก็จะช่วยในการตัดสินใจให้ผู้รับการประเมินไปพบแพทย์ได้เร็วขึ้น ซึ่งทีมงานที่พัฒนาแชทบอทตัวนี้มีทั้งหมด 4 ท่าน ดังนี้
1.ดร.กลกรณ์ วงศ์ภาติกะเสรี : Intelligent System Expert
อาจารย์ประจำภาควิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ ม.มหิดล
2.คุณพณิดา โยมะบุตร : Clinical Psychology Expert
นักจิตวิทยาคลินิก โรงพยาบาลศิริราช ม.มหิดล
3.ดร.ยงยศ แก้วพิทักษ์คุณ : AI and Machine Learning Expert
Co-Founder บริษัท พอดีคำดอทเอไอ จำกัด
4.คุณกัญธิณี กัจฉปคีรินทร์ : Chatbot Expert
วิศวกรคอมพิวเตอร์ บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) และเป็นผู้ป่วยโรคซึมเศร้าที่เข้ารับการบำบัด
จะเห็นได้ว่ามีทั้งผู้เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยี คอมพิวเตอร์ นักจิตวิทยา และผู้ป่วยโรคซึมเศร้า ที่มีแนวคิดร่วมกันในการสร้างนวัตกรรมใหม่ที่สามารถนำออกมาใช้ได้จริง ด้วยการพัฒนาระบบวิทยาการทางด้านปัญญาประดิษฐ์ (AI) ควบคู่กับหลักการทางด้านจิตวิทยาเพื่อช่วยผู้คนให้มีชีวิตที่ดีขึ้น
ดร.กลกรณ์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ ม.มหิดล กล่าวว่า “ปัจจุบันคนรอบตัวเราที่มีอาการของภาวะซึมเศร้าหลายคน รวมทั้งได้ยินข่าวศิลปินต่างๆ ที่มีการฆ่าตัวตายเนื่องจากโรคซึมเศร้า ซึ่งตอนแรกก็ไม่เข้าใจคำว่าโรคซึมเศร้าเหมือนกันว่าคืออะไรและเป็นอย่างไร เพราะผู้ป่วยก็ยังทำอะไรได้ปกติ และไม่สามารถรู้ได้เลยว่าเป็นโรคซึมเศร้า ก็เลยเริ่มมีการศึกษาพูดคุยกับนักวิจัยในทีม ผมจึงเริ่มมาคิดกันว่าเราจะแก้ปัญหาตรงนี้อย่างไร เราจะเอาสิ่งที่จับต้องไม่ได้ มาทำให้เป็นสิ่งที่จับต้องได้อย่างไร เพราะโรคซึมเศร้าเป็นโรคที่เข้าถึงได้ยาก จึงอยากจะใช้วิทยาการทางด้านปัญญาประดิษฐ์ (AI) ควบคู่กับหลักการทางด้านจิตวิทยา ในการประเมินภาวะโรคซึมเศร้าเพื่อให้ผู้รับการประเมินกล้าที่จะเปิดเผยความรู้สึกนึกคิดขณะทำการประเมินให้มากที่สุด จึงได้คิดชื่อ ‘จับใจบอท’ ขึ้นมา”
จับใจบอทถูกเผยแพร่ทาง Social Media เพื่อให้ผู้ที่สนใจเข้ารับการประเมินได้ใช้งานระบบและเก็บข้อมูล ซึ่งระบบจะถูกโปรแกรมให้ถามคำถามแบบอัติโนมัติ โดยคำถามถูกพัฒนาขึ้นจากแบบประเมินสุขภาพจิตคนไทย หรือ TMHQ ให้อยู่ในรูปแบบของการสนทนา ผู้รับการประเมินสามารถตอบคำถามตามความรู้สึกได้ จากนั้นระบบจะทำการประเมินภาวะซึมเศร้าให้แก่ผู้รับการประเมินช่วยให้ผู้รับการประเมินได้รู้ภาวะของตนเอง ว่ามีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคซึมเศร้ามากน้อยเพียงใด และจะมีการแนะนำวิธีดูแลตนเองให้แก่ผู้ป่วยด้วย ซึ่งข้อมูลในแบบประเมินทุกอย่างจะถูกเก็บไว้เป็นความลับ
ดร.กลกรณ์ กล่าวต่อไปว่า “ตอนนี้กระแสตอบรับค่อนข้างดี มีคนสนใจเข้าร่วมการประเมินกับทางจับใจบอทเป็นจำนวนมาก ซึ่งตอนนี้ทีมงานกำลังพัฒนาต่อยอดในส่วนของการประเมินให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น และอยากจะทำในรูปแบบของ Telemental Health คือหลังจากทำการประเมินแล้วหากมีภาวะเสี่ยง ผู้ป่วยสามารถปรึกษาแพทย์ หรือเข้ารับการรักษาผ่าน VDO Call ได้เพื่อการรักษาที่ทันท่วงที สำหรับผู้ที่สนใจจะประเมินภาวะซึมเศร้าของตนเองก็สามารถเข้าไปแชท ผ่าน Messenger ได้ทาง www.facebook.com/JubjaiBot

Recent post