ICT มหิดล (MUICT) ร่วมพิธีลงนามความร่วมมือ “เครือข่ายการศึกษาด้านอินเทอร์เน็ตของสรรพสิ่ง (IoT Academic Network)” ระหว่างเนคเทค และสถาบันการศึกษาชั้นนำ

The THE World Academic Summit “The transformative power of research: advancing knowledge, driving economies, building nations” ณ National University of Singapore สาธารณรัฐสิงค์โปร์
September 26, 2018
สถาบันโภชนาการ ม.มหิดล จัดอบรมเชิงปฏิบัติการด้านโภชนาการและการจัดอาหารกลางวัน
September 26, 2018

ICT มหิดล (MUICT) ร่วมพิธีลงนามความร่วมมือ “เครือข่ายการศึกษาด้านอินเทอร์เน็ตของสรรพสิ่ง (IoT Academic Network)” ระหว่างเนคเทค และสถาบันการศึกษาชั้นนำ

MOUNectec_250961-001-1140x760

วันที่ 25 กันยายน 2561 รศ.ดร. เจริญศรี มิตรภานนท์ คณบดีคณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ICT) มหาวิทยาลัยมหิดล พร้อมด้วย ดร.พัฒนศักดิ์ มงคลวัฒน์ รองคณบดีฝ่ายบริหารการศึกษา ได้เข้าร่วมพิธีลงนามความร่วมมือ “เครือข่ายการศึกษาด้านอินเทอร์เน็ตของสรรพสิ่ง (IoT Academic Network)” ระหว่างศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (เนคเทค) นำโดย ดร.ศรัณย์ สัมฤทธิ์เดชขจร ผู้อำนวยการศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ และผู้แทนจาก 23 สถาบันการศึกษาชั้นนำในระดับมัธยมศึกษา และระดับอุดมศึกษา ณ ห้อง Meeting room 3 ศูนย์ประชุมแห่งชาติสิริกิตติ์ ซึ่งความร่วมมือดังกล่าวมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริม และสนับสนุนบุคลากรในสถาบันการศึกษาทั้งระดับมัธยมศึกษา และระดับอุดมศึกษา ให้มีความรู้ และประสบการณ์ในการพัฒนาระบบ และผลิตภัณฑ์ด้าน IoT ในการนำไปถ่ายทอดให้แก่นักเรียน นักศึกษา เสริมสร้างทักษะเยาวชนของประเทศให้เป็นกำลังพลสำคัญ ในการผลักดันให้เกิดการใช้งาน IoTอย่างแพร่หลายในประเทศ

และในวันเดียวกันนี้ได้จัดให้มีงานสัมมนา “IoT ก้าวต่อไปของการศึกษาไทยสู่ตลาดงานยุค 4.0” ซึ่งถือเป็นการเปิดตัวสมาชิกในเครือข่าย IoT Academic Network แนะนำผลงานด้าน IoT จากนักเรียน นักศึกษา จากแต่ละสถาบันที่ไปคว้ารางวัลในเวทีประกวดต่างๆ และกล่าวถึงแนวทางการเรียนการสอนด้าน IoT จากสถาบันสมาชิกเครือข่าย และการเสวนาในหัวข้อ “IoT สอนอย่างไรให้ใช้ได้จริง ในตลาดงานยุค 4.0” โดยเหล่าวิทยากรที่มีความรู้ ความสามารถ ในแวดวงการศึกษา ไอที และอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ เช่น ปาฐกถาในหัวข้อ “ปฏิวัติการเรียนการสอนในศตวรรษท่ี 21 ตลาดแรงงานในยุค 4.0” โดย รศ.ดร.ยืน ภู่วรวรรณ ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษ และที่ปรึกษาสำนักบริการคอมพิวเตอร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เป็นต้น
นอกเหนือจากนี้ มีการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเรื่องการเรียนการสอนด้านเทคโนโลยีของไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง IoT ในปัจจุบัน รวมทั้งแนวทางที่ควรจะเป็นในการก้าวต่อไปในอนาคต พร้อมกรณีตัวอย่างที่น่าสนใจ รวมทั้งมุมมองจากภาคเอกชนในแง่ของความคาดหวังที่มีต่อตลาดแรงงานด้าน IoT ตามเป้าประสงค์ อีกด้วย

Recent post