10 นักวิจัยม.มหิดล คว้ารางวัลในงาน “วันนักประดิษฐ์” ประจำปี 2561

การประชุมนานาชาติรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดล ประจำปี 2018
February 2, 2018
รักษาการแทนรองอธิการบดีฝ่ายพัฒนาคุณภาพ ร่วมแสดงความยินดี เนื่องในโอกาส “ครบรอบ 54 ปี คล้ายวันสถาปนาบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล” และได้ใบรับรองระบบการจัดการคุณภาพ ISO 9001:2015
February 5, 2018

10 นักวิจัยม.มหิดล คว้ารางวัลในงาน “วันนักประดิษฐ์” ประจำปี 2561

inven4

‪เมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2561‬ ศาสตราจารย์ ดร.นายแพทย์ภัทรชัย กีรติสิน ผู้อำนวยการสถาบันบริหารจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรม มหาวิทยาลัยมหิดล มอบช่อดอกไม้แสดงความยินดีแก่ 10 นักวิจัยจากมหาวิทยาลัยมหิดล ที่เข้ารับรางวัลในงาน “วันนักประดิษฐ์” ประจำปี 2561 จาก พลอากาศเอกประจิน จั่นตอง รองนายกรัฐมนตรี จัดโดย สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ณ ศูนย์นิทรรศการและการประชุมไบเทค บางนา กรุงเทพฯ             

รางวัลผลงานวิจัย เป็นรางวัลที่มอบให้กับนักวิจัย ซึ่งได้อุทิศตนให้แก่การวิจัยในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง หรือหลายเรื่องในกลุ่มวิชาการ หรือสหวิทยาการอย่างต่อเนื่อง ผลงานวิจัยดีเด่นที่แสดงถึงความคิดริเริ่ม ต้องเป็นผลงานวิจัยที่ ทำสะสมกันมา ไม่น้อยกว่า 5 ปี ตั้งเป็นผู้ที่มีจริยธรรมของนักวิจัย เป็นที่ยอมรับและยกย่องในวงวิชาการนั้นๆ สมควรเป็นแบบอย่างแก่นักวิจัยอื่นได้ สำหรับในปีนี้ มีนักวิจัยที่ได้รับรางวัลจากมหาวิทยาลัยมหิดลจำนวน 1 ผลงาน ได้แก่

ศาสตราจารย์ ดร.มัลลิกา อิ่มวงศ์ และคณะ รางวัลระดับดี ผลงานวิจัยเรื่อง “การแพร่กระจายของเชื้อมาลาเรียชนิดต้านยาอาร์ทิมิซินิน : การสังเกตการณ์ด้านระบาดวิทยาชีวโมเลกุล” (สังกัดคณะเวชศาสตร์เขตร้อน)               

รางวัลวิทยานิพนธ์ เป็นรางวัลที่มอบให้แก่นักวิจัยที่สำเร็จการศึกษาในระดับปริญญาเอก ทำงานวิจัยที่มีคุณภาพสูง เป็นประโยชน์ต่อวงวิชาการและเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาประเทศ เป็นวิทยานิพนธ์ของนักศึกษาที่มีสัญชาติในหลักสูตรระดับปริญญาเอกของสถาบันการศึกษาระดับอุดมศึกษา ซึ่งตีพิมพ์เป็นรูปเล่มและได้รับการอนุมัติจากสถาบันการศึกษาแล้วย้อนหลังไม่เกิน 5 ปี และผ่านการพิจารณาจากคณะกรรมการสอบวิทยานิพนธ์แล้ว ทั้งนี้เป็นผลงานที่มีคุณภาพใช้วิธีวิเคราะห์หรือสังเคราะห์ที่เหมาะสมยิ่ง มีความชัดเจนมีศักยภาพสูงต่อการนำไปใช้ในอนาคต และได้รับการเผยแพร่ในวารสารที่เป็นที่ยอมรับในวงวิชาการระดับชาติ หรือระดับแล้วนานาชาติ สำหรับในปีนี้มีวิทยานิพนธ์จากมหาวิทยาลัยมหิดลได้รับรางวัลจำนวน 2 เรื่อง ได้แก่

1.      ดร.ภูมิ ชัยรัตน์ รางวัลระดับดีมาก วิทยานิพนธ์ เรื่อง “การศึกษากลไกการรวมตัวและบทบาทของฮยูแม็นดีเฟ้นซิน 6 ในระบบภูมิคุ้มกันแบบทั่วไป และการประยุกต์ใช้ไซเดอโรฟอร์ในการกำจัดแบคทีเรียแกรมลบเฉพาะกลุ่ม” (สังกัดคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล)  

2.      ดร.พงศกร กาญจนบุษย์ รางวัลระดับดี วิทยานิพนธ์ เรื่อง “การประกอบด้วยตัวเองและกลศาสตร์ระดับนาโน จากฟิล์มบางอิสระของอนุภาคนาโน” (สังกัดคณะวิทยาศาสตร์)                  รางวัลผลงานประดิษฐ์คิดค้น เป็นรางวัลที่มอบให้แก่นักประดิษฐ์สร้างสรรค์ผลงานผลผลิต ผลิตภัณฑ์ กรรมวิธี กระบวนการ วิธีการ มาตรการหรือระบบ ตลอดจนนวัตกรรม วิทยาการต่างๆ ที่ดีเด่นและพิสูจน์แล้วว่าเป็นประโยชน์แก่สังคมและประเทศชาติ เป็นผลงานที่เกิดจากความคิดริเริ่ม และความเพียรพยายามของผู้ประดิษฐ์คิดค้น ซึ่งเป็นของใหม่หรือปรับปรุงให้ดีขึ้น ทรัพยากรที่ใช้ในการประดิษฐ์คิดค้น ส่วนใหญ่เป็นทรัพยากรที่มีในประเทศไทย มีคุณค่าทางวิชาการ มีศักยภาพในการพัฒนาไปสู่ผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม หรือนำไปใช้ประโยชน์ในทางอื่นได้ สำหรับในที่นี้มีผลงาน จากนักวิจัยมหาวิทยาลัยมหิดลที่ได้รับรางวัลจำนวน 9 ผลงาน ได้แก่

1.      รองศาสตราจารย์ ดร.ปัณรสี ฤทธิประวัติ และคณะ รางวัลระดับดีมาก ผลงานประดิษฐ์คิดค้นเรื่อง “ระบบฟื้นฟูกล้ามเนื้อผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง : ไจโรโรลเลอร์”(สังกัดคณะวิศวกรรมศาสตร์)  

2.      ศาสตราจารย์ ดร.มัลลิกา อิ่มวงศ์ รางวัลระดับดี ผลงานประดิษฐ์คิดค้นเรื่อง “การตรวจเชื้อมาลาเรียที่มีความไวสูง (Ultra-sensitive qPCR) เพื่อค้นหาผู้ที่ติดเชื้อที่ไม่แสดงอาการของโรค” (สังกัดคณะเวชศาสตร์เขตร้อน)  

3.      รองศาสตราจารย์ ดร.เจริญศรี มิตรภานนท์ และคณะ รางวัลระดับดี ผลงานประดิษฐ์คิดค้นเรื่อง “ระบบเมดนาเซียแผนที่ความรู้งานวิจัยจากงานประจำของชุมชนนักปฏิบัติทางการแพทย์และสาธารณสุข เพื่อส่งเสริมสนับสนุนการเรียนรู้และตัดสินใจในการพัฒนาการบริการสุขภาพแก่สังคมไทย” (สังกัดคณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร)  

4.      ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ทัศนียา รัตนฤาทัย นพรัตน์แจ่มจำรัส และคณะ รางวัลระดับดี ผลงานประดิษฐ์คิดค้นเรื่อง “แบบจำลองสำหรับการฝึกปฏิบัติการเจาะเยื่อหุ้มหัวใจ” (สังกัดสถาบันนวัตกรรมการเรียนรู้)  

5.      นางสุดตา ปรักกโมดม และคณะ รางวัลประกาศเกียรติคุณ ผลงานประดิษฐ์คิดค้นเรื่อง “ระบบอิเล็กทรอนิกส์เวชระเบียนงานระงับความรู้สึกศิริราช” (สังกัดคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล)  

6.      ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อมรา อภิลักษณ์ และคณะ รางวัลประกาศเกียรติคุณ ผลงานประดิษฐ์คิดค้นเรื่อง “เซ็นเซอร์ฐานกระดาษร่วมกับอนุภาคควอนตัมดอทสำหรับการตรวจวัดสารเคมีกำจัดแมลง” (สังกัดคณะเทคนิคการแพทย์)  

7.      ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วรพันธ์ คู่สกุลนิรันดร์ และคณะ รางวัลประกาศเกียรติคุณ ผลงานประดิษฐ์คิดค้นเรื่อง “การสร้างโมเดลสามมิติของกระดูกโดยใช้กล้อง Kinect” (สังกัดคณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร)  

8.      ดร.ศรีสุภา ปาลกะวงศ์ ณ อยุธยา และคณะ รางวัลประกาศเกียรติคุณ ผลงานประดิษฐ์คิดค้นเรื่อง “โปรเทียร์” (สังกัดคณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร)  

9.      ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วรพันธ์ คู่สกุลนิรันดร์ และคณะ รางวัลประกาศเกียรติคุณ ผลงานประดิษฐ์คิดค้นเรื่อง “การพัฒนาแบบจำลองการฝึกการให้สัญญาณมือและการตัดสินใจในการให้สัญญาณไฟจราจร” (สังกัดคณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร) งานวันนักประดิษฐ์จัดขึ้นเป็นประจำทุกปี เพื่อระลึกถึงวันประวัติศาสตร์ของการจดทะเบียนและทูลเกล้าฯ ถวายสิทธิบัตรการประดิษฐ์ “เครื่องกลเติมอากาศที่มีผิวน้ำหมุนช้าแบบทุ่นลอย” หรือ “กังหันน้ำชัยพัฒนา” แด่ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชฯ ซึ่งเป็นสิทธิบัตรในพระปรมาภิไธยพระมหากษัตริย์พระองค์แรกของไทยและเป็นครั้งแรกของโลก

Recent post