มหาวิทยาลัยมหิดลจัดโครงการ “อบรมอาชาบำบัดเบื้องต้น รุ่นที่ 2”

พิธีมอบประกาศเกียรติคุณให้แก่ผู้ที่สามารถเลิกสูบบุหรี่ได้สำเร็จจากโครงการ “The HERO 2nd : No Smoking”
April 25, 2018
งานรณรงค์กำจัดโรคไข้มาลาเรีย ปี 2561 “World Malaria Day : Ready to beat malaria”
April 26, 2018

มหาวิทยาลัยมหิดลจัดโครงการ “อบรมอาชาบำบัดเบื้องต้น รุ่นที่ 2”

archa03

วันที่ 24-25 เมษายน 2561 รองศาสตราจารย์ น.สพ.ปานเทพ รัตนากร คณบดีคณะสัตวแพทยศาสตร์ พร้อมด้วย รองศาสตราจารย์ นพ. อดิศักดิ์ ผลิตผลการพิมพ์ ผู้อำนวยการสถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว เป็นประธานเปิดโครงการ “อบรมอาชาบำบัดเบื้องต้น รุ่นที่ 2” ซึ่งทางคณะสัตวแพทยศาสตร์ ร่วมกับ สถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว มหาวิทยาลัยมหิดล จัดขึ้น ณ ห้องกบิลปักษา ชั้น 3 อาคารเรียนและปฏิบัติการรวมฯ คณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

คลินิคอาชาบำบัด (Equine Assisted Therapy Clinic) เป็นความร่วมมือกันระหว่าง คณะสัตวแพทยศาสตร์ และ สถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อการศึกษาวิจัยการประยุกต์ใช้ความรู้ด้านประสาทวิทยาศาสตร์ และพัฒนาการมนุษย์ในการบำบัดเด็กพิเศษ โดยใช้ม้าซึ่งมีโครงสร้างและการเคลื่อนไหวสะโพกคล้ายมนุษย์ พร้อมทั้งประเมินผลการรักษาด้วยเครื่องมือมาตรฐานทาง cognitive Neuroscience เป็นที่ทราบกันว่า เด็กพิเศษ โดยเฉพาะ ASD และ ADHD  มีความบกพร่องด้าน การเรียนรู้ การสื่อสาร การปฎิสัมพันธ์ คอกนิทีฟ การควบคุมกล้ามเนื้อมัดใหญ่ กล้ามเนื้อมัดเล็ก รวมไปถึงการประสานสัมพันธ์ของดวงตาและมือ (Sensory integration) ซึ่งความบกพร่องดังกล่าว ปัจจุบันการศึกษาวิจัยทางประสาทวิทยาศาสตร์ได้พบตัวบ่งชี้ (Neurobiomarker) ทางระบบประสาทและสมองที่เกี่ยวข้องกับการเชื่อมต่อข้อมูลของสมองส่วนหน้า ที่ทำหน้าที่สำคัญของทักษะการบริหารสมอง (Executive function ) การกำกับอารมณ์ การยับยั้งชั่งใจ การเรียนรู้ การจดจ่อและสมาธิ รวมถึงสมองบริเวณกระหม่อมและกลีบขมับที่ควบควบคุมการประสานสัมพันธ์ของกล้ามเนื้อ ความจำ และสมองน้อย(cerebellum) ที่เกี่ยวข้องการมิติสัมพันธ์ การทรงตัว การทรงท่า โครงการดังกล่าวจึงได้นำความรู้ที่ได้มาออกแบบกิจกรรม บนหลังม้า เพื่อส่งเสริมและพัฒนาภาวะบกพร่องดังกล่าว พร้อมทำการวิจัยถึงประสิทธิผลของกิจกรรมที่ออกแบบรายบุคล ซึ่งพบว่าได้ผลดีและสามารถเพิ่มความสามารถ ของสมองส่วนทักษะการบริหารขั้นสูงของเด็กได้

Recent post