ม.มหิดล – ทีเซลส์ – สวทช.- จุฬาฯ ผนึกกำลังวิจัยผลักดันนวัตกรรมยาจากธรรมชาติ หวังต่อยอดเชิงพาณิชย์

งานวิศวกรรมเพื่อความรับผิดชอบต่อสังคมจัดโครงการ “ห้องสมุดพี่ให้น้องปีที่ 12”
May 31, 2018
เปิดโครงการประชุมวิชาการทางกายภาพบำบัดระหว่างสถาบัน ครั้งที่ 7
May 31, 2018

ม.มหิดล – ทีเซลส์ – สวทช.- จุฬาฯ ผนึกกำลังวิจัยผลักดันนวัตกรรมยาจากธรรมชาติ หวังต่อยอดเชิงพาณิชย์

4institute17

31 พฤษภาคม 2561 มหาวิทยาลัยมหิดล กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โดย ศูนย์ความเป็นเลิศด้านชีววิทยาศาสตร์ (ทีเซลส์) และ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) และ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ร่วมลงนามความร่วมมือ ( MOU) ตามพันธกิจในการส่งเสริมและพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน การพัฒนาบุคลากรที่จำเป็นต่อการพัฒนาธุรกิจและอุตสาหกรรมด้านชีววิทยาศาสตร์เพื่อสร้างมูลค่าเชิงพาณิชย์ในอนาคต ในงานแถลงข่าวความร่วมมือและเสวนาด้านนวัตกรรมการพัฒนายาจากธรรมชาติด้วยเทคโนโลยีขั้นสูง ณ ห้องโถง ชั้น 1 อาคารพระจอมเกล้า กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ถนนพระราม 6 กรุงเทพฯ

ศาสตราจารย์ นายแพทย์บรรจง มไหสวริยะ รักษาการแทนอธิการบดีมหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวว่า “ในปี 2559 ศูนย์ความเป็นเลิศด้านชีววิทยาศาสตร์ (ทีเซลส์) ร่วมกับ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดตั้งศูนย์ความเป็นเลิศด้านการค้นหาตัวยา (ECDD) ซึ่งในปัจจุบันมีความพร้อมทั้งอุปกรณ์ และเทคนิควิธีการคัดกรองที่ช่วยให้สามารถดำเนินการวิจัยได้อย่างรวดเร็ว ศูนย์ ECDD นี้ ดำเนินงานโดยอาศัยความร่วมมือระหว่างนักวิจัยและผู้เชี่ยวชาญจากหลากหลายสาขา เช่น นักเคมี แพทย์ นักวิจัยที่มีความเชี่ยวชาญในด้านต่างๆ ทั้งในและต่างประเทศ เช่น การรวบรวมสารเคมีที่สกัดจากสมุนไพร หรือสังเคราะห์จากนักเคมี การรวบรวมระบบการตรวจวัดฤทธิ์ทางยาของสารจากห้องปฏิบัติการต่างๆ ทั้งจากภายใน และภายนอกประเทศ เช่น เซลล์มะเร็งกว่า 100 ชนิด อีกทั้งยังจะสร้างทรัพยากรบุคคลที่มีความเชี่ยวชาญในเรื่องการคิดค้นและพัฒนายาด้วย นอกจากนี้ ศูนย์มีการจัดตั้งระบบ วิธีการ และมีระบบควบคุมคุณภาพที่มีมาตรฐาน (standard) ตั้งแต่ระบบการจัดเก็บสาร (compound management system) ระบบการทดสอบฤทธิ์ของสาร ด้วยระบบ high throughout screening ที่มีความทันสมัยและสามารถทดสอบสารได้เป็นจำนวนมากอย่างแม่นยำ (หมื่น – แสนชนิด ภายใน 3 – 4 วัน) ซึ่งจะแทนการทดสอบด้วยวิธีเดิมๆ ที่ใช้ระยะเวลาเป็นปีๆ หลังจากที่ได้สารที่มีฤทธิ์เป็นที่น่าสนใจแล้ว เรายังมีระบบที่จะใช้ศึกษากลไกการออกฤทธิ์ของสาร และการทดสอบความปลอดภัยของสารด้วย เพื่อที่จะพัฒนาสารไปเป็นตัวยาต่อไป”

ในงานแถลงข่าว มีการจัดเสวนา “ก้าวสำคัญสู่นวัตกรรมเปิด การค้นหายาจากธรรมชาติ” โดย ดร.ศุภฤกษ์ บวรภิญโญ จาก ศูนย์ความเป็นเลิศด้านการค้นหาตัวยา (ECDD) มหาวิทยาลัยมหิดล ได้ร่วมเสวนาในครั้งนี้ด้วย

Recent post