คณะเทคนิคการแพทย์ ม.มหิดล จัดสัมมนาวิชาการเนื่องในโอกาสวันคล้ายวันสถาปนา คณะเทคนิคการแพทย์ มหาวิทยาลัยมหิดล และวันเทคนิคการแพทย์ไทย

โครงการจัดตั้งสถาบันอุทยานธรรมชาติวิทยาสิรีรุกขชาติ ม.มหิดล ประชุมคณะกรรมการดำเนินงานโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริฯ มหาวิทยาลัยมหิดล ครั้งที่ 1/2565
June 24, 2022
โรงเรียนพยาบาลรามาธิบดี คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี ม.มหิดล จัดบรรยายพิเศษ เรื่อง แหล่งทุนวิจัย นโยบาย ทิศทางการส่งเสริมการวิจัย และการสนับสนุนต่าง ๆ ที่มหาวิทยาลัยสนับสนุนให้แก่คณาจารย์
June 24, 2022

คณะเทคนิคการแพทย์ ม.มหิดล จัดสัมมนาวิชาการเนื่องในโอกาสวันคล้ายวันสถาปนา คณะเทคนิคการแพทย์ มหาวิทยาลัยมหิดล และวันเทคนิคการแพทย์ไทย

วันที่ 24 มิถุนายน 2565 ศาสตราจารย์ ดร.ฉัตรเฉลิม อิศรางกูร ณ อยุธยา คณบดีคณะเทคนิคการแพทย์ มหาวิทยาลัยมหิดล เป็นประธานเปิดงานและกล่าวต้อนรับ ผู้เข้าร่วมสัมมนาวิชาการเนื่องในโอกาสวันคล้ายวันสถาปนา คณะเทคนิคการแพทย์ มหาวิทยาลัยมหิดล และวันเทคนิคการแพทย์ไทย เรื่อง “เทคนิคการแพทย์กับบริบทการพัฒนานวัตกรรมทางการแพทย์บนพลวัตของสังคมไทย” ผ่านระบบออนไลน์

ภายในงานมีการบรรยายพิเศษ ในหัวข้อ “สัมฤทธิ์ผลการจัดการสถานการณ์โควิด – 19 ของประเทศไทย และการเปลี่ยนผ่านสู่โรคประจำถิ่น” โดย ศาสตราจารย์คลินิกเกียรติคุณ นายแพทย์ปิยะสกล สกลสัตยาทร นายกสภามหาวิทยาลัยมหิดล โดยได้กล่าวถึง สถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด – 19 ในประเทศไทย การรับมือในการแพร่ระบาด แนวคิดพื้นฐานของหลักการทางระบาดวิทยา “ส่งเสริม ป้องกัน รักษา ฟื้นฟู” คือ ต้องมีการบริหารจัดการสถานการณ์วิกฤต ควบคุมการแพร่ระบาดของโรค ตรวจวินิจฉัยรักษาและพัฒนาวัคซีน ส่งเสริมมาตรการควบคุมเพื่อป้องกันโรค และการฟื้นฟูเยียวยาผลกระทบและการมีส่วนร่วมของภาคประชาชน โดยขณะนี้กำลังมีการเปลี่ยนผ่านสู่โรคประจำถิ่น จะต้องมี “2 U และ 3 พอ” 2 U คือ Universal Prevention และ Universal Vaccination เพื่อให้ประชาชนมีการปฏิบัติตัวป้องกันการติดเชื้อ และภูมิคุ้มกันโรคอย่างเพียงพอ ลดอาการรุนแรงหากมีการติดเชื้อ 3 พอ คือ เตียงพอ ที่จะรองรับผู้ป่วยวิกฤตอย่างเพียงพอ เวชภัณฑ์และวัคซีนพอ มียาเวชภัณฑ์ และวัคซีนที่มีประสิทธิภาพตามมาตรฐาน การดูแลรักษา ป้องกันโรคเพียงพอ หมอพอ มีบุคลากรทางการแพทย์ และสาธารณสุขทุกระดับเพียงพอ ระบบการดูแลรักษาที่มีประสิทธิภาพ ซึ่งภาวะวิกฤติโควิดที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพ เศรษฐกิจ และจิตใจของประชาชน กำลังผ่านไป โอกาสแห่งการพัฒนาที่ยั่งยืนได้ก้าวเข้ามา ขอให้ทุกคนมีความสามัคคีร่วมมือร่วมใจ ประยุกต์ พัฒนา และบูรณาการศักยภาพที่มีอยู่ให้เป็นรูปธรรม เพื่อบรรลุเป้าหมายเดีวกัน คือ การอยู่ดีมีสุขของประชาชน

นอกจากนี้ ยังมีการบรรยายพิเศษในหัวข้อ “บทบาทเทคนิคการแพทย์ไทยในสถานการณ์โควิด – 19 และก้าวต่อไปในยุคแห่งการเปลี่ยนแปลง” โดย ทนพ.สมชัย เจิดเสริมอนันต์ นายกสภาเทคนิคการแพทย์ และหัวข้อ “เทคนิคการแพทย์มหิดลกับการดูแลสุขภาพประชาชน และการขับเคลื่อนนวัตกรรมเพื่อความยั่งยืนของสังคมไทย” โดย ศาสตราจารย์ ดร.ฉัตรเฉลิม อิศรางกูร ณ อยุธยา คณบดีคณะเทคนิคการแพทย์ มหาวิทยาลัยมหิดล โดยในช่วงบ่าย มีการเสวนากลุ่มย่อยในหัวข้อต่าง ๆ จากอาจารย์ และผู้เชี่ยวชาญ และการนำเสนอผลงานวิชาการของนักศึกษาในระดับชั้นปริญญาโท และปริญญาเอก คณะเทคนิคการแพทย์ มหาวิทยาลัยมหิดล