มหาวิทยาลัยมหิดล เข้าร่วมประชุมรายงานความคืบหน้าการดำเนินโครงการของมหาวิทยาลัยมหิดล แก่ผู้ทรงคุณวุฒิกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (กสศ.)

มหาวิทยาลัยมหิดล บรรยายในโครงการสัมมนาเพื่อสร้างการรับรู้แนวทางการพัฒนาคุณภาพหลักสูตรโดยใช้เกณฑ์ AUN-QA (AUN-QA Criteria Overview) ของมหาวิทยาลัยขอนแก่น
April 1, 2022
สถาบันสิทธิมนุษยชนและสันติศึกษา ม.มหิดล จัดกิจกรรมสัมมนาออนไลน์ หัวข้อ “การศึกษาเชิงวิพากษ์ : จินตนาการใหม่มหาวิทยาลัยเพื่อประชาธิปไตยและสิทธิมนุษยชน”
April 1, 2022

มหาวิทยาลัยมหิดล เข้าร่วมประชุมรายงานความคืบหน้าการดำเนินโครงการของมหาวิทยาลัยมหิดล แก่ผู้ทรงคุณวุฒิกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (กสศ.)

วันที่ 1 เมษายน 2565 ศาสตราจารย์ ดร. นายแพทย์ภัทรชัย กีรติสิน เป็นประธานการประชุมรายงานความคืบหน้าและการดำเนินโครงการของมหาวิทยาลัยมหิดล แก่ผู้ทรงคุณวุฒิกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (กสค.) เพื่อรายงานความก้าวหน้า แลกเปลี่ยนเรียนรู้การทำงานของโครงการทุนพัฒนาอาชีพและนวัตกรรมที่ใช้ชุมชนเป็นฐาน ของมหาวิทยาลัยมหิดล จำนวน 2 โครงการ ได้แก่ โครงการต้นแบบการฝึกอบรมและส่งเสริมอาชีพผู้ดูแลเด็กพิเศษ หัวหน้าโครงการ ได้แก่ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ แพทย์หญิงแก้วตา นพมณีจำรัสเลิศ สถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว และโครงการ สร้างผู้ประกอบการอาหารและตลาดออนไลน์ชุมชนโพธิ์ทอง หัวหน้าโครงการ ได้แก่ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ชิตชยางค์ ยมาภัย สถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเอเชีย ณ ห้องประชุมชั้น 2 อาคารสิริวัฒนภักดี มหาวิทยาลัยมหิดล

กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (กสศ.) ได้เปิดรับข้อเสนอโครงการ จากหน่วยงานสถาบันการศึกษา ภาครัฐและเอกชน ที่มีแนวคิดการพัฒนานวัตกรรมชุมชน หรือการพัฒนาทักษะอาชีพที่ใช้ชุมชนเป็นฐาน และมีประสบการณ์ที่เกี่ยวข้อง โดยจะคัดเลือกโครงการที่มีศักยภาพสูงสุดเข้าร่วมโครงการ และทำสัญญาสนับสนุนกับหน่วยเสนอโครงการ โดยมีหลักการสำคัญ 4 แนวคิด ได้แก่ 1.) ใช้ชุมชนเป็นฐาน ยกระดับการประกอบ อาชีพ ให้แก่กลุ่มเป้าหมาย โดยจัดให้มีกระบวนการ เสริมศักยภาพ และใช้ทุนของชุมชน ในการพัฒนาอาชีพ กำหนดแผนธุรกิจ และแผนกำลังคนที่เหมาะสม 2.) พัฒนาทักษะการประกอบอาชีพด้วยตนเอง การพัฒนาทักษะการประกอบการด้วยตนเองบนพื้นฐานทรัพยากรชุมชน แรงงานฝีมือใน ชุมชน ให้ความ สำคัญกับการเพิ่ม ทักษะใหม่ที่จำเป็น พัฒนาข้อมูลทักษะ อาชีพรายบุคคล 3.) เสริมสร้างสมรรถนะเพื่อความยั่งยืน และ 4.) ติดตามประเมิน ถอดความรู้ ประเมินผลสำเร็จการเปลี่ยนแปลงของกลุ่มเป้าหมาย รวมถึงมีการสรุปบทเรียนและแลกเปลี่ยนประสบการณ์กับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง