คณะเภสัชศาสตร์ ม.มหิดล ร่วมกับ คณะเภสัชศาสตร์ ม.เชียงใหม่ จัดประชุมวิชาการนานาชาติ “2021 US-Thai Pharmacy Consortium”

การตรวจประเมินคุณภาพตามเกณฑ์ EdPEx ประจำปี 2564 สถาบันวิจัยประชากรและสังคม ในรูปแบบการตรวจประเมิน Online MU EdPEx Assessment
June 7, 2021
ม.มหิดล จัดงานชี้แจง เรื่อง “แนวทางการเขียนโครงการเพื่อเสนอขอทุนอุดหนุนโครงการขับเคลื่อนนโยบายชี้นำสังคม ปีงบประมาณ 2564”
June 7, 2021

คณะเภสัชศาสตร์ ม.มหิดล ร่วมกับ คณะเภสัชศาสตร์ ม.เชียงใหม่ จัดประชุมวิชาการนานาชาติ “2021 US-Thai Pharmacy Consortium”

198829891_10158472171312677_5991329487531719795_n

วันที่ 7 มิถุนายน 2564 รองศาสตราจารย์ ภก.สุรกิจ นาฑีสุวรรณ คณบดีคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล พร้อมด้วย รองศาสตราจารย์ ดร. ภญ.อุษา ฉายเกล็ดแก้ว รองคณบดีฝ่ายวิเทศสัมพันธ์และประชาสัมพันธ์ มหาวิทยาลัยมหิดล เข้าร่วมการประชุมวิชาการนานาชาติ “2021 US-Thai Pharmacy Consortium” โดยมี คณาจารย์ นักวิจัย นักวิชาการ นักศึกษาเภสัชศาสตร์ จาก 18 สถาบันการศึกษาด้านเภสัชศาสตร์ของประเทศไทย และ 16 สถาบันการศึกษาด้านเภสัชศาสตร์ของประเทศสหรัฐอเมริกา คณาจารย์และนักวิชาการจากสถาบันการศึกษาด้านเภสัชศาสตร์ในกลุ่มประเทศอาเซียน เภสัชกรประจำบ้าน และเภสัชกรวิชาชีพ เข้าร่วมการประชุม ผ่านระบบออนไลน์

ในโอกาสนี้ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ภก.ศุภทัต ชุมนุมวัฒน์ ผู้ช่วยคณบดีฝ่ายวิชาการ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมเป็นวิทยากรบรรยาย หัวข้อ “Pharmacist Immunization in Thailand” และ อาจารย์ ภญ.เจนนิษฐ์ มีนวัฒนา คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล เป็นวิทยากรบรรยาย หัวข้อ ’Immunization by Pharmacists: Experiences from the US and Philippines; Expanding Scope of Practice in Thailand’ ร่วมกับ Prof. Alan Lau จาก University of Illinois at Chicago

การประชุมครั้งนี้ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมกับ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และศูนย์ประสานงานการศึกษาเภสัชศาสตร์แห่งประเทศไทย (ศ.ศ.ภ.ท.) จัดขึ้นระหว่างวันที่ 7 – 9 มิถุนายน 2564 เพื่อเป็นเวทีในการเผยแพร่ และแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ทางวิชาการด้านเภสัชศาสตร์ศึกษา (Pharmacy Education) และด้านเภสัชศาสตร์ (Pharmacy & Pharmaceutical Sciences) ในสาขาต่างๆ ที่เกี่ยวข้องในวิชาชีพเภสัชกรรม เพื่อผลักดันให้เกิดการแลกเปลี่ยนและถ่ายทอดเทคโนโลยีในระดับสากล รวมทั้ง จุดประกายความก้าวหน้าด้านเภสัชศาสตร์ และวิชาชีพเภสัชกรรมระหว่างคณาจารย์ เภสัชกรวิชาชีพ นักวิชาการ และนักวิจัยทางเภสัชศาสตร์ในประเทศไทย ประเทศสหรัฐอเมริกา และกลุ่มประเทศอาเซียน นอกจากนี้ ยังเป็นการเปิดโลกทัศน์ด้านเทคโนโลยีทางการศึกษา (Educational Technology) ที่เกี่ยวข้อง เพื่อนำไปใช้ในการพัฒนาการจัดการเรียนการสอนและการพัฒนาวิชาชีพ ยกระดับบทบาทของสถาบันการศึกษาด้านเภสัชศาสตร์ของประเทศไทย ในฐานะผู้นำด้านเภสัชศาสตร์ศึกษาในกลุ่มประเทศอาเซียน และส่งเสริมการสร้างเครือข่ายการพัฒนาการศึกษาด้านเภสัชศาสตร์และวิชาชีพเภสัชกรรมในการพัฒนาประเทศไทย ให้เป็นศูนย์กลางด้านการศึกษา การวิจัย และการบริการวิชาชีพทางเภสัชกรรม