มหาวิทยาลัยมหิดล ลงนามความร่วมมือร่วมกับ มูลนิธิสถาบันเพื่อการวิจัยและนวัตกรรมด้านเอชไอวี เพื่อพัฒนางานวิจัย บริการวิชาการ และสร้างเครือข่ายการทำงานด้านสาธารณสุข

พิธีเปิดการอบรมเชิงปฏิบัติการหัวข้อ แนวทางการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลสำหรับสำนักงานอธิการบดี (PDPA for OSM)
November 6, 2020
มหาวิทยาลัยมหิดล เข้าร่วมประชุมคณะทำงานกำหนดมาตรฐานการจัดทำเอกสารสำคัญทางการศึกษาในรูปแบบดิจิทัล (Digital Transcript)
November 6, 2020

มหาวิทยาลัยมหิดล ลงนามความร่วมมือร่วมกับ มูลนิธิสถาบันเพื่อการวิจัยและนวัตกรรมด้านเอชไอวี เพื่อพัฒนางานวิจัย บริการวิชาการ และสร้างเครือข่ายการทำงานด้านสาธารณสุข

001_1024x683

วันที่ 6 พฤศจิกายน 2563 ศาสตราจารย์ นายแพทย์บรรจง มไหสวริยะ อธิการบดีมหาวิทยาลัยมหิดล และแพทย์หญิงนิตยา ภานุภาค พึ่งพาพงศ์ ผู้อำนวยการบริหารมูลนิธิสถาบันเพื่อการวิจัยและนวัตกรรมด้านเอชไอวี ลงนามความร่วมมือระหว่าง มหาวิทยาลัยมหิดล กับ มูลนิธิสถาบันเพื่อการวิจัยและนวัตกรรมด้านเอชไอวี ในโอกาสนี้ ศาสตราจารย์กิตติคุณ นายแพทย์ประพันธ์ ภานุภาค ที่ปรึกษาอาวุโสด้านการวิจัยและสนับสนุนนโยบาย มูลนิธิสถาบันเพื่อการวิจัยและนวัตกรรมด้านเอชไอวี ศาสตราจารย์คลินิกเกียรติคุณ นายแพทย์ปิยะสกล สกลสัตยาทร นายกสภามหาวิทยาลัยมหิดล ศาสตราจารย์ นายแพทย์วชิร คชการ รองอธิการบดีฝ่ายวิจัยและวิชาการ รองศาสตราจารย์ ดร. นภเรณู สัจจรักษ์ ธีระฐิติ รองอธิการบดีฝ่ายวิเทศสัมพันธ์และสื่อสารองค์กร รองศาสตราจารย์ แพทย์หญิงจุฬธิดา โฉมฉาย คณบดีวิทยาลัยนานาชาติ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. นายแพทย์ภูดิท เตชาติวัฒน์ ผู้อำนวยการสถาบันพัฒนาสุขภาพอาเซียน ศาสตราจารย์ แพทย์หญิงพรรณี ปิติสุทธิธรรม หัวหน้าภาควิชาอายุรศาสตร์เขตร้อน คณะเวชศาสตร์เขตร้อน และรองศาสตราจารย์ ดร.สุดารัตน์ มุสิกะวงศ์ รองผู้อำนวยการฝ่ายวิเทศสัมพันธ์ ความร่วมมือ และการสร้างเครือข่าย สถาบันวิจัยประชากรและสังคม เข้าร่วมงาน ณ ห้องประชุมศาสตราจารย์เกียรติคุณ นายแพทย์นที รักษ์พลเมือง ชั้น 5 สำนักงานอธิการบดี มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา

มหาวิทยาลัยมหิดล และ มูลนิธิสถาบันเพื่อการวิจัยและนวัตกรรมด้านเอชไอวี มีเจตนารมณ์ร่วมกันเพื่อพัฒนางานวิจัย บริการวิชาการ และสร้างเครือข่ายการทำงานด้านสาธารณสุข โดยอาศัยหลักการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และสนับสนุนซึ่งกันและกัน โดยจะเป็นการขยายความร่วมมือจากเดิม ที่ได้สนับสนุนนักศึกษาวิทยาลัยนานาชาติ ให้มีประสบการณ์ทำงาน อาสาสมัครทางด้านการแพทย์ หรือทางสาธารณสุข ที่มูลนิธิสถาบันเพื่อการวิจัยและนวัตกรรมด้านเอชไอวี และการทำงานวิจัยด้าน HIV ร่วมกับ คณะเวชศาสตร์เขตร้อน สู่ความร่วมมือในระดับมหาวิทยาลัย ไปยังส่วนงานต่างๆ ได้แก่ คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ และสถาบันวิจัยประชากรและสังคม ที่มีการทำวิจัยใน Cluster ด้าน HIV โดยเฉพาะ นอกจากนี้ ยังรวมถึงการสร้างเครือข่ายทางด้านสาธารณสุขผ่านทางเครือข่ายมหาวิทยาลัยอาเซียนด้านการสร้างเสริมสุขภาพ (AUN-HPN) เพื่อผลักดันให้เกิดเป็น Policy Advocacy ในระดับประเทศ และ ในระดับอาเซียนต่อไป