ต้อนรับนักวิทยาศาสตร์รางวัลโนเบลสาขาเคมี แสดงปาฐกถาเนื่องในโอกาสฉลอง 60 ปี คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล‬

พิธีเปิดการประชุมวิชาการ “Symposium on ICT in Medicine and Public Health” และเปิดหน่วย MIRU
February 12, 2018
สิ่งประดิษฐ์คิดค้น “เซ็นเซอร์ฐานกระดาษร่วมกับอนุภาคควอนตันดอท สำหรับการตรวจวัดสารเคมีกำจัดแมลง”
February 13, 2018

ต้อนรับนักวิทยาศาสตร์รางวัลโนเบลสาขาเคมี แสดงปาฐกถาเนื่องในโอกาสฉลอง 60 ปี คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล‬

sc08

เมื่อวันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2561 ศาสตราจารย์คลินิก นายแพทย์อุดม คชินทร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ พร้อมด้วย ศาสตราจารย์ นายแพทย์บรรจง มไหสวริยะรักษาการแทนอธิการบดีมหาวิทยาลัยมหิดล ให้การต้อนรับ Sir James Fraser Stoddart นักวิทยาศาสตร์รางวัลโนเบลสาขาเคมี ประจำปี 2559 ในโอกาสมาแสดงปาฐกถา เรื่อง“My Journey To Stockholm” เพื่อเป็นเกียรติเนื่องในโอกาสฉลอง 60 ปี คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล และเพื่อเป็นการสร้างแรงบันดาลใจให้กับนักเรียน นักศึกษา และบุคคลทั่วไปที่สนใจด้านวิทยาศาสตร์ ณ ห้องบรรยาย L-01 ตึกกลม คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล (พญาไท)‬ ‪

ศาสตราจารย์คลินิก นายแพทย์อุดม คชินทร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ได้กล่าวต้อนรับและกล่าวขอบคุณการมาเยือนของ Sir James Fraser Stoddart โดยมีใจความสำคัญว่า “ในการปฏิรูปการศึกษานั้นบัณฑิตต้องมีคุณสมบัติเหมาะสมกับความต้องการของสังคมและอาจารย์ที่ดีจะต้องสามารถสร้างแรงบันดาลใจให้แก่นักเรียนในการเปลี่ยนแปลงอนาคตของตนเองให้ดีขึ้นได้อย่างมั่นคงและถาวร ซึ่งการมาเยือนของ Sir James Fraser Stoddart ในครั้งนี้เชื่อว่าจะสามารถสร้างแรงบันดาลใจเป็นต้นแบบแห่งความสำเร็จในการก้าวสู่รางวัลโนเบลในอนาคตได้เป็นอย่างดี”‬

Sir James Fraser Stoddart เกิดเมื่อวันที่ 24 พฤษภาคม 2485 เป็นนักเคมีชาวสกอต จากมหาวิทยาลัยนอร์ธเวสเทิร์น ประเทศสหรัฐอเมริกา เป็นหนึ่งในนักวิทยาศาสตร์ชั้นนำด้านการพัฒนาออกแบบและสังเคราะห์เครื่องจักรที่มีขนาดเล็กระดับโมเลกุล โดยเริ่มจากการออกแบบและสังเคราะห์ “โรแทกเซน” (rotaxane) ซึ่งประกอบด้วยโมเลกุลรูปวงแหวนที่ร้อยกับโมเลกุลแกน และควบคุมให้วงแหวนเคลื่อนที่ไปมาตามแนวโมเลกุลแกนได้ด้วยปฏิกิริยาเคมี หรือการให้พลังงานรูปแบบต่างๆ จากจุดนี้ทำให้เกิดการพัฒนาเครื่องจักรขนาดจิ๋วที่สามารถต่อยอดไปสู่การสร้างลิฟท์ระดับโมเลกุล จำลองการทำงานของกล้ามเนื้อในระดับโมเลกุล หรือการสร้างชิปคอมพิวเตอร์ที่มีโมเลกุลเป็นฐาน ด้วยความสำเร็จในการค้นพบอันยิ่งใหญ่ที่เกี่ยวกับการออกแบบและการสังเคราะห์เครื่องจักรระดับโมเลกุลนี้ Sir James Fraser Stoddart ได้รับรางวัลโนเบลสาขาเคมี ประจำปี 2559 ร่วมกับนักวิทยาศาสตร์อีก 2 ท่าน คือ Professor ‬Jean-Pierre Sauvage และ Professor Ben L. Feringa

Recent post