ดร.ภูมิ ชัยรัตน์ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล รางวัลสภาวิจัยแห่งชาติ : รางวัลวิทยานิพนธ์ ประจำปี ๒๕๖๐ ระดับดีมากจนบุษย์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล รางวัลสภาวิจัยแห่งชาติ : รางวัลวิทยานิพนธ์ ประจำปี ๒๕๖๐ ระดับดี

ดร.พงศกร กาญจนบุษย์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล รางวัลสภาวิจัยแห่งชาติ : รางวัลวิทยานิพนธ์ ประจำปี ๒๕๖๐ ระดับดี
March 2, 2018
มหาวิทยาลัยมหิดล ได้รับเกียรติจาก ASEAN University Network (AUN) ให้เป็นเจ้าภาพจัดการประชุมวิชาการนานาชาติ AUN-QA International Conference 2018 26 – 27 มีนาคม 2561 ณ โรงแรมดุสิตธานี กรุงเทพฯ
March 2, 2018

ดร.ภูมิ ชัยรัตน์ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล รางวัลสภาวิจัยแห่งชาติ : รางวัลวิทยานิพนธ์ ประจำปี ๒๕๖๐ ระดับดีมากจนบุษย์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล รางวัลสภาวิจัยแห่งชาติ : รางวัลวิทยานิพนธ์ ประจำปี ๒๕๖๐ ระดับดี

paneth3

จากงาน “วันนักประดิษฐ์” ประจำปี ๒๕๖๑ ที่จัดโดย สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ณ ศูนย์นิทรรศการและการประชุมไบเทค บางนา กรุงเทพฯ เมื่อเร็วๆ นี้ ผลงานวิทยานิพนธ์ เรื่อง “การศึกษากลไกการรวมตัวและบทบาทของฮยูแม็นดีเฟ้นซิน ๖ ในระบบภูมิคุ้มกันแบบทั่วไป และการประยุกต์ใช้ไซเดอโรฟอร์ในการกำจัดแบคทีเรียแกรมลบเฉพาะกลุ่ม” โดย ดร.ภูมิ ชัยรัตน์ จากคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล ได้รับรางวัลระดับดีมาก จึงขอนำผลงานมาเผยแพร่ให้ทราบโดยทั่วกันดังนี้ ‬‬

อัตราการดื้อยาของจุลชีพที่สูงขึ้นและการลดลงของการค้นพบยาปฏิชีวนะชนิดใหม่ ล้วนก่อให้เกิดปัญหาสำคัญทางด้านสาธารณสุข ปัจจุบันทั่วโลกมีการเสียชีวิตจากเชื้อแบคทีเรียดื้อยาประมาณ ๗ แสนราย และหากปัญหาเหล่านี้ ไม่ได้รับการแก้ไขอย่างถูกต้อง คาดว่าภายใน ๓๐ ปีข้างหน้า จำนวนการเสียชีวิตจะสูงขึ้นถึง ๑๐ ล้านคน และสร้างความสูญเสียทางเศรษฐกิจกว่า ๓ พันล้านล้านบาท ซึ่งจะทำให้โรคติดเชื้อโดยจุลชีพดื้อยากลายเป็นโรคร้ายแรง ที่คร่าชีวิตผู้ป่วยมากกว่าโรคมะเร็ง ดังนั้นจึงมีความจำเป็นในการคิดค้นและพัฒนาวิธีการรักษาแบบใหม่สำหรับโรคที่เกิดจาก การติดเชื้อจุลชีพ เพื่อนำมาใช้ทดแทนการรักษาโรคติดเชื้อโดยใช้ยาปฏิชีวนะ

งานวิจัยในส่วนแรกเน้นเรื่องการศึกษาโครงสร้างและกลไกการทำงานของฮยูแม็นดีเฟ้นซิน ๖ (HD6) ที่หลั่งออกมาจาก พาเนทเซลล์ (Paneth cell) เพื่อตอบสนองการบุกรุกของจุลชีพในลำไส้ สิ่งที่น่าสนใจเกี่ยวกับ HD6 คือ เปปไทด์ต้านจุลชีพ ส่วนใหญ่จะทำลายเซลล์แบคทีเรียโดยตรง ในทางตรงข้าม HD6 จะรวมตัวเป็นโพลิเมอร์เพื่อจับและป้องกันจุลชีพไม่ให้ บุกรุกเข้าเซลล์ของมนุษย์ ซึ่งจะทำให้จุลชีพเหล่านั้นไม่สามารถก่อโรคได้ การศึกษาโครงสร้างและกลไกการทำงานของ HD6 ในลำไส้นั้นได้ก่อให้เกิดความรู้ความเข้าใจพื้นฐานเกี่ยวกับเปปไทด์ชนิดนี้ ซึ่งสามารถนำความรู้ที่ได้ไปประยุกต์ใช้ในการออกแบบ และการผลิตโพลิเมอร์ต้านจุลชีพที่จะไม่ออกฤทธิ์ฆ่าเชื้อจุลชีพโดยตรง แต่จะยับยั้งปัจจัยสำคัญที่เชื้อเหล่านั้นต้องใช้ในการก่อโรค (virulence factors) ดังนั้นประโยชน์ที่สำคัญของการใช้โพลิเมอร์ประเภทนี้ คือ จะลดอัตราการอุบัติของเชื้อจุลชีพดื้อยาในระยะยาว เนื่องจากเชื้อจุลชีพเหล่านั้นไม่ได้ถูกทำลาย เพียงแต่จะสูญเสียความสามารถในการก่อโรคในมนุษย์ และจะถูกขับออกจากร่างกายของมนุษย์ไปในที่สุด

งานวิจัยในส่วนหลังมุ่งพัฒนาการประยุกต์ใช้ไซเดอโรฟอร์ในการกำจัดแบคทีเรียแกรมลบเฉพาะกลุ่ม โดยทั่วไปแล้ว แบคทีเรียแกรมลบจะมีการสร้างเยื่อหุ้มเซลล์ชั้นนอก (outer membrane, OM) ที่สามารถป้องกันไม่ให้ ยาปฏิชีวนะเข้าไปในเซลล์แบคทีเรียได้ ซึ่งส่งผลให้การกำจัดแบคทีเรียแกรมลบนั้นมีประสิทธิภาพที่ต่ำกว่า การกำจัดแบคทีเรีย แกรมบวก ในบางกรณีอาจจะต้องใช้ยาปฏิชีวนะในปริมาณที่สูงขึ้น ซึ่งจะก่อให้เกิดผลข้างเคียงที่รุนแรงในผู้ป่วยได้ งานวิจัยในส่วนนี้จึงต้องการนำไซเดอโรฟอร์ ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญสำหรับการก่อโรคของเชื้อแบคทีเรียมาใช้ในการเพิ่มประสิทธิภาพของวิธีการกำจัดแบคทีเรียแกรมลบ และเนื่องจากแบคทีเรียแต่ละชนิดใช้ไซเดอโรฟอร์ที่ต่างประเภทกัน จึงคาดว่าวิธีการที่อาศัยไซเดอโรฟอร์นั้นจะส่งผลกระทบต่อแบคทีเรียเฉพาะกลุ่ม และลดผลข้างเคียงที่จะเกิดขึ้นกับแบคทีเรียในกลุ่มอื่น เช่น ไมโครไบโอต้า จากการศึกษาพบว่า อัตราการอุบัติของเชื้อแบคทีเรียดื้อยาในกลุ่ม Enterobacteriaceae เช่น Escherichia coli และ Salmonella นั้นค่อนข้างสูงกว่าเชื้อแบคทีเรียกลุ่มอื่น ดังนั้นงานวิจัยชิ้นนี้จึงเริ่มต้นจากการทดลองในแบคทีเรียแกรมลบกลุ่มนี้ และวิธีการที่ถูกคิดค้นขึ้นสามารถแบ่งออกได้เป็นสองวิธีดังนี้ วิธีการแรก คือ การใช้ไซเดอโรฟอร์นำพา ยาปฏิชีวนะไปยังกลุ่มแบคทีเรียที่ต้องการกำจัด และการใช้ไซเดอโรฟอร์นั้นสามารถช่วยให้ตัวยาผ่าน OM ของแบคทีเรีย แกรมลบเข้าไปในเซลล์ได้ดีขึ้น วิธีการที่สอง คือ การผลิตและใช้แอนติบอดี้เพื่อดักจับไซเดอโรฟอร์ที่แบคทีเรียผลิตออกมา เพื่อใช้ในการดึงธาตุเหล็กจากสิ่งแวดล้อมออกมาใช้ ซึ่งคาดว่าจะยับยั้งการเจริญเติบโตและการก่อโรคของแบคทีเรีย เพราะธาตุ เหล็กเป็นแร่ธาตุที่จำเป็นสำหรับการเจริญเติบโตของแบคทีเรีย อีกคุณประโยชน์ที่สำคัญของวิธีการทั้งสอง คือ แบคทีเรีย จะมีการพัฒนาการดื้อยาได้ยากขึ้น เนื่องจากแบคทีเรียต้องสังเคราะห์กลุ่มยีนใหม่ เพื่อใช้ในการผลิตไซเดอโรฟอร์ชนิดใหม่

งานวิจัยชิ้นนี้ก่อให้เกิดวิธีการแบบใหม่และหลากหลายสำหรับใช้กำจัดเชื้อแบคทีเรียเฉพาะกลุ่ม ซึ่งอาศัยการพัฒนาต่อยอด จากวิธีการต้านจุลชีพที่ธรรมชาติใช้ในการกำจัดเชื้อเหล่านั้น และการศึกษาวิธีการเหล่านี้จะก่อให้เกิดความรู้ความเข้าใจพื้นฐานสำคัญ อันนำไปสู่การพัฒนาวิธีการรักษาโรคที่เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียต่อไปในอนาคต เพื่อแก้ปัญหาเชื้อดื้อยาที่พบมากขึ้น เรื่อยๆ ในปัจจุบัน

Recent post