แถลงข่าวการประชุมวิชาการร่วมคณะแพทยศาสตร์สามสถาบัน พ.ศ.2560 : จุฬาฯ-รามาฯ-ศิริราชฯ “3 โรงเรียนแพทย์ : บทบาทต่อสาธารณสุขของไทย”

มหาวิทยาลัยมหิดล จัดกิจกรรม “แนะแนวทางสู่รั้วมหิดล” ณ โรงเรียนจุฬาภรณราชวิทยาลัย ตรัง
November 13, 2017
พิธีมอบครุยวิทยฐานะแก่ผู้ทรงคุณวุฒิผู้ที่ได้รับปริญญากิตติมศักดิ์ สาขาวิชาต่างๆ ของมหาวิทยาลัยมหิดล ประจำปีการศึกษา 2559
November 13, 2017

แถลงข่าวการประชุมวิชาการร่วมคณะแพทยศาสตร์สามสถาบัน พ.ศ.2560 : จุฬาฯ-รามาฯ-ศิริราชฯ “3 โรงเรียนแพทย์ : บทบาทต่อสาธารณสุขของไทย”

3institute6

วันที่ 6 กันยายน 2560 ศาสตราจารย์นายแพทย์ประสิทธิ์ วัฒนาภา คณบดีคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล , ศาสตราจารย์นายแพทย์ปิยะมิตร ศรีธรา คณบดีคณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล และศาสตราจารย์นายแพทย์สุทธิพงศ์ วัชรสินธุ คณบดีคณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ร่วมแถลงข่าวการประชุมวิชาการร่วมคณะแพทยศาสตร์สามสถาบัน พ.ศ.2560 : จุฬาฯ-รามาฯ-ศิริราชฯ “3 โรงเรียนแพทย์: บทบาทต่อสาธารณสุขของไทย” ณ ห้อง Lotus 3-4 ชั้น 22 โรงแรมเซ็นทาราแกรนด์ แอท เซ็นทรัลเวิลด์ กรุงเทพฯ
ในการแถลงข่าวครั้งนี้ ศาสตราจารย์นายแพทย์สุทธิพงศ์ วัชรสินธุ คณบดีคณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า ในงานมีการเสวนาในเรื่อง “งานวิจัยนวัตกรรมทางการแพทย์” บทบาทของโรงเรียนคณบดีคณะแพทยศาสตร์ แพทย์ทางด้านสาธารณสุขของประเทศมีด้วยกัน 3 ด้าน คือ 1. การทำให้บุคลากรทางการแพทย์ที่มีคุณภาพ 2.การให้บริการทางการแพทย์ และ 3. การสร้างงานวิจัยทางการแพทย์ ซึ่งทั้ง 3 ด้านต้องมีความสอดคล้องกัน งานวิจัยถือว่ามีความสำคัญ หากทั้ง 3 สถาบันไม่มีงานวิจัยก็จะไม่มีการสร้างสรรค์องค์ความรู้หรือนวัตกรรรมทางการแพทย์ใหม่ๆ ได้ ส่งผลต่อการผลิตบุคลากรและการให้บริการที่มีประสิทธิภาพ นอกจากนี้ยังมีการนำเสนองานวิจัยของคนไทย เพื่อคนไทยที่มีความโดดเด่น จนเป็นที่ยอมรับของนานาชาติ ทางด้านการศึกษาได้กล่าวถึงนวัตกรรมที่นำมาใช้ในการเรียนการสอน เช่น ห้องเรียนอัจฉริยะ (Smart Classroom) นำเข้ามาใช้ในระบบการเรียนการสอนปัจจุบัน โดยมีการจัดสภาพแวดล้อมการเรียนรู้อย่างเหมาะสม ทางด้านสาธารณสุขได้กล่าวถึงการลดโดสของยาสามารถลดค่าใช้จ่ายของภาครัฐ
ศาสตราจารย์นายแพทย์ประสิทธิ์ วัฒนาภา คณบดีคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล ได้กล่าวถึงการเสวนาในเรื่อง “ศาสตร์พระราชากับการสาธารณสุขไทย” ว่า ศาสตร์พระราชาซึ่งมีมานานหลายปีที่ผ่านมา เช่น ศาสตร์พระราชาสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน เป็นสิ่งที่ไม่ไกลเกินเอื้อม ไม่ยากที่ทุกคนจะทำ ศาสตร์ในการเป็นตัวอย่างของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช พระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9 เราได้เห็นความเพียรของพระองค์ท่าน ทำอย่างไรให้คนอยู่กับป่าด้วยกันโดยอาศัยหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงที่นำมาเกี่ยวข้องกับระบบสาธารณสุขได้อย่างไร โดยไม่ได้ขึ้นอยู่กับโรงพยาบาล ภาครัฐ ทุกคนมีส่วนร่วม ศาสตร์ของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช พระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9 เป็นศาสตร์ที่ควรนำมาปรับใช้ในระบบสาธารณสุข เพราะสิ่งที่ท่านพระราชทานได้เชื่อมโยงกันหมด ไม่ว่าจะเป็น คน สัตว์ และสิ่งแวดล้อม ถ้าสิ่งแวดล้อมดี เชื้อโรคก็จะน้อยลง สิ่งเหล่านี้ขยายได้ไม่มีที่สิ้นสุด
ศาสตราจารย์นายแพทย์ปิยะมิตร ศรีธรา คณบดีคณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี กล่าวว่า ในส่วนของการเตรียมงานทั้งในส่วนของงานวิชาการ ตอนนี้มีความพร้อม 100% ภายในงานจะมีนิทรรศการแสดงผู้มีคุณูปการต่อระบบสาธารณสุขไทยในราชวงศ์จักรี ตั้งแต่รัชกาลที่ 1 – 9 โดยเฉพาะรัชกาลที่ 9 และสมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก ที่ทรงเป็นพระราชบิดาแห่ง การสาธารณสุขไทย นอกจากนี้ในวันที่ 15 กันยายน 2560 ภาคบ่าย มีการเสวนา เรื่อง “เด็กไทยกับสื่อ : เทคโนโลยีสื่อกับการพัฒนาเด็กไทย” จะมีการพูดคุยใน 2 ประเด็นหลัก คือ 1. เรื่องเทคโนโลยีสื่อกับการพัฒนาเด็กไทย ปัจจุบันนี้เด็กไทยจำนวนหนึ่งหมกมุ่นกับการติดแท็บเล็ต ติดมือถือ นับว่าเป็นโอกาสที่ดีที่ครั้งนี้เปิดโอกาสให้ประชาชนเข้ามารับฟัง การใช้จอในการเลี้ยงลูกส่งผลเสียหลายอย่างกับเด็ก ควรหันมาสร้างแหล่งความรู้ และการกระจายองค์ความรู้ พัฒนาบุคลิกภาพของลูกได้รู้จักสังคมภายนอกมากยิ่งขึ้น 2. เรื่องบุหรี่ไฟฟ้า นักวิชาการของ 3 สถาบันไม่ว่าจะเป็นแพทย์เฉพาะทางด้านจิตเวช แพทย์เฉพาะทางด้านระบบการเดินหายใจ แพทย์เฉพาะทางทางด้านหลอดเหลือด โดยหารือกันว่าบุหรี่ไฟฟ้านำเข้ามาในประเทศได้ เพราะจะทำให้ค่อย ๆ ช่วยลดการติดสารนิโคตินลดลง และอีกเสียง คือ ไม่ให้นำเข้าบุหรี่ไฟฟ้า เพราะ จะทำให้ติดบุหรี่ชนิดใหม่มากขึ้น โดยเรื่องนี้ได้มีการสรุปจากนักวิชาการและแพทย์แขนงต่างๆ จากทั้ง 3 สถาบันแล้ว และจะได้นำมาพูดในวันดังกล่าวด้วย

Recent post