ถ้าจะออกใบเสร็จรับรองภาษี ณ ที่จ่าย
จะต้องทำยังไงบ้างคะ
Test - สอบถามค่ะ
-
- Posts: 2
- Joined: Mon Apr 11, 2022 5:03 pm
Re: Test - สอบถามค่ะ
การออกใบเสร็จรับรองภาษี หัก ณ ที่จ่าย เป็นเอกสารที่ผู้จ่ายเงินที่มีหน้าที่หัก ณ ที่จ่าย ออกให้ผู้รับเงินเมื่อได้ทำการหักเงินบางส่วนไว้ตามข้อกำหนดของกรมสรรพากร ซึ่งมีการกำหนดอัตราที่แตกต่างกัน โดยมีรูปแบบและรายละเอียดที่กรมสรรพากรกำหนด ดังนี้
1.จัดทำเป็นภาษาไทยหรือภาษาอังกฤษ ในกรณีที่จัดทำเป็นภาษาต่างประเทศอื่นต้องมีคำแปลภาษาไทยกำกับ
2.ตัวเลขที่ใช้สามารถใช้ได้ทั้งเลขไทยและเลขอารบิค
3.ต้องจัดทำสำเนาคู่ฉบับ ซึ่่งเป็นฉบับที่ 3 นอกเหนือจากฉบับที่ 1 และ 2 ที่ออกให้ผู้ถูกหัก ณ ที่จ่ายไป เพื่อใช้เป็นหลักฐานในกรณีที่ได้ออกหนังสือรับรองหัก ณ ที่จ่ายให้ไปแล้วแต่ชำรุดหรือสูญหาย ให้ผู้ที่ออกหนังสือรับรองภาษีหัก ณ ที่จ่ายออกใบแทนหนังสือรับรองหัก ณ ที่จ่ายได้ โดยถ่ายสำเนาฉบับที่ 3 และใส่ข้อความว่า “ใบแทน” ไว้ด้านบนของเอกสาร และมีการลงลายมือชื่อของผู้ออกใบแทนไว้เป็นหลักฐานด้วย
4.ระบุประเภทของเงินได้พึงประเมินที่ถูกหัก ณ ที่จ่ายในหนังสือรับรองภาษีหัก ณ ที่จ่าย
5.ในกรณีที่ออกหนังสือรับรองหัก ณ ที่จ่ายจากเงินได้พึงประเมินประเภทเงินเดือน แล้วมีการหักเงินเข้ากองทุนสำรองเลี้ยงชีพ กองทุนประกันสังคม กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (กบข.) และกาองทุนสงเคราะห์ตามกฎหมายว่าด้วยโรงเรียนเอกชน สามารถระบุจำนวนเงินที่หักเข้ากองทุนดังกล่าวในแต่ละปีในหนังสือรับรองภาษีหัก ณ ที่จ่ายได้
การลงชื่อของผู้มีหน้าที่หัก ณ ที่จ่ายในหนังสือรับรองภาษีหัก ณ ที่จ่าย สามารถทำได้ทั้งประทับตรายางและลงลายมือชื่อจริง หรือพิมพ์จากคอมพิวเตอร์ที่มีการเก็บลายมือชื่อไว้แล้วก็ได้
สำหรับการกรอกข้อมูลในหนังสือรับรองหัก ณ ที่จ่าย ต้องกรอกให้อ่านเข้าใจง่ายซึ่งสามารถทำได้ทั้งการเขียนและการพิมพ์ และผู้จ่ายเงินต้องทำเครื่องหมาย ✔ ลงในช่อง ロว่าเป็น (1) หัก ณ ที่จ่าย (2)ออกให้ตลอดไป (3)ออกให้ครั้งเดียว (4) อื่น ๆ (ระบุ)………………………………..
ในส่วนของการลงลายมือชื่อผู้จ่ายเงิน ต้องระบุข้อความดังนี้
1.ลงลายมือชื่อผู้จ่ายเงินหรือผู้ที่ได้รับมอบหมาย
2.ระบุวัน เดือน ปี ที่ออกหนังสือรับรองหัก ณ ที่จ่าย
3.ประทับตรานิติบุคคล (ถ้ามี)
สำหรับมหาวิทยาลัยจะมีการออกหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย 3 รูปแบบด้วยกันคือ
1.หนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย กรณีจ่ายเงินเดือน ค่าจ้าง กรณีบุคคลากรของมหาวิทยาลัย ออกโดยกองทรัพยากรบุคคล
2.หนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย กรณีจ่ายเงินเดือนข้าราชการบำนาญ บำเหน็จรายเดือนลูกจ้าง ออกโดยกรมบัญชีกลาง
3.หนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย กรณีจ่ายเงินค่าสินค้าและบริการ การจ้างงาน ออกโดยกองคลัง
****สามารถดาวน์โหลดแบบฟอร์มหนังสือรับรองหัก ณ ที่จ่ายได้ที่เว็บไซต์ของกรมสรรพากร****
1.จัดทำเป็นภาษาไทยหรือภาษาอังกฤษ ในกรณีที่จัดทำเป็นภาษาต่างประเทศอื่นต้องมีคำแปลภาษาไทยกำกับ
2.ตัวเลขที่ใช้สามารถใช้ได้ทั้งเลขไทยและเลขอารบิค
3.ต้องจัดทำสำเนาคู่ฉบับ ซึ่่งเป็นฉบับที่ 3 นอกเหนือจากฉบับที่ 1 และ 2 ที่ออกให้ผู้ถูกหัก ณ ที่จ่ายไป เพื่อใช้เป็นหลักฐานในกรณีที่ได้ออกหนังสือรับรองหัก ณ ที่จ่ายให้ไปแล้วแต่ชำรุดหรือสูญหาย ให้ผู้ที่ออกหนังสือรับรองภาษีหัก ณ ที่จ่ายออกใบแทนหนังสือรับรองหัก ณ ที่จ่ายได้ โดยถ่ายสำเนาฉบับที่ 3 และใส่ข้อความว่า “ใบแทน” ไว้ด้านบนของเอกสาร และมีการลงลายมือชื่อของผู้ออกใบแทนไว้เป็นหลักฐานด้วย
4.ระบุประเภทของเงินได้พึงประเมินที่ถูกหัก ณ ที่จ่ายในหนังสือรับรองภาษีหัก ณ ที่จ่าย
5.ในกรณีที่ออกหนังสือรับรองหัก ณ ที่จ่ายจากเงินได้พึงประเมินประเภทเงินเดือน แล้วมีการหักเงินเข้ากองทุนสำรองเลี้ยงชีพ กองทุนประกันสังคม กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (กบข.) และกาองทุนสงเคราะห์ตามกฎหมายว่าด้วยโรงเรียนเอกชน สามารถระบุจำนวนเงินที่หักเข้ากองทุนดังกล่าวในแต่ละปีในหนังสือรับรองภาษีหัก ณ ที่จ่ายได้
การลงชื่อของผู้มีหน้าที่หัก ณ ที่จ่ายในหนังสือรับรองภาษีหัก ณ ที่จ่าย สามารถทำได้ทั้งประทับตรายางและลงลายมือชื่อจริง หรือพิมพ์จากคอมพิวเตอร์ที่มีการเก็บลายมือชื่อไว้แล้วก็ได้
สำหรับการกรอกข้อมูลในหนังสือรับรองหัก ณ ที่จ่าย ต้องกรอกให้อ่านเข้าใจง่ายซึ่งสามารถทำได้ทั้งการเขียนและการพิมพ์ และผู้จ่ายเงินต้องทำเครื่องหมาย ✔ ลงในช่อง ロว่าเป็น (1) หัก ณ ที่จ่าย (2)ออกให้ตลอดไป (3)ออกให้ครั้งเดียว (4) อื่น ๆ (ระบุ)………………………………..
ในส่วนของการลงลายมือชื่อผู้จ่ายเงิน ต้องระบุข้อความดังนี้
1.ลงลายมือชื่อผู้จ่ายเงินหรือผู้ที่ได้รับมอบหมาย
2.ระบุวัน เดือน ปี ที่ออกหนังสือรับรองหัก ณ ที่จ่าย
3.ประทับตรานิติบุคคล (ถ้ามี)
สำหรับมหาวิทยาลัยจะมีการออกหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย 3 รูปแบบด้วยกันคือ
1.หนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย กรณีจ่ายเงินเดือน ค่าจ้าง กรณีบุคคลากรของมหาวิทยาลัย ออกโดยกองทรัพยากรบุคคล
2.หนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย กรณีจ่ายเงินเดือนข้าราชการบำนาญ บำเหน็จรายเดือนลูกจ้าง ออกโดยกรมบัญชีกลาง
3.หนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย กรณีจ่ายเงินค่าสินค้าและบริการ การจ้างงาน ออกโดยกองคลัง
****สามารถดาวน์โหลดแบบฟอร์มหนังสือรับรองหัก ณ ที่จ่ายได้ที่เว็บไซต์ของกรมสรรพากร****