Call : +66 2849 6565


Prince Mahidol Hall

A Splendid Realization of a Grand Dream
The Building that Symbolizes the Success of Mahidol University

Events & News

  • Mahidol University SDGs Showcase 2024

    กองกายภาพและสิ่งแวดล้อมเข้าร่วมจัดแสดงโปสเตอร์และบูธผลงาน Innovation for Campus Sustainability 2024 ในงานมหกรรมมหิดลเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน 2024

    Hall Rental Rate

    Hall Rental Rate (อัตราค่าบำรุงสถานที่มหิดลสิทธาคาร)

    ลอยบัว มหิดล 2562

    ณ มหิดลสิทธาคาร 11 พ.ย.62 เวลา 16.00 น.

    Harry Potter in Concert

    คอนเสิร์ตออร์เคสตราที่หยิบบทเพลงประกอบภาพยนตร์มาบรรเลงคลอไปกับการฉายภาพยนตร์ ที่เป็นภาคเปิดของตำนานโลกเวทมนตร์

  • Infocomm 2019

    Infocomm Southeast Asia 2019 : AV Technology Tour at Prince Mahidol Hall

    TiWSC : 2019

    Thailand International Wind Symphony Competition 2019

    Safety Day : Safety Culture

    โครงการ “Safety Day รณรงค์อาชีวอนามัยและความปลอดภัย” ครั้งที่ 3 ประจำปี 2562 (MU Safety day: Safety Culture)

    Amadeus

    ครั้งแรกในเมืองไทยที่คุณจะได้สัมผัสประสบการณ์ที่ยิ่งใหญ่และน่าประทับใจ จากภาพยนตร์เรื่อง “Amadeus”

  • สาขาวิชาสถาปัตยกรรม คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร เข้าศึกษาดูงาน

    ด้านการออกแบบสถาปัตยกรรม และการบริหารจัดการหอแสดงดนตรี

    MU 50 Years

    โครงการเสวนา 50 ปี วันพระราชทานนาม 131 ปี มหาวิทยาลัยมหิดล "เดินหน้าประเทศไทยกับความท้าทายในอนาคต"

    Children’s Day Concert

    Family members of all ages are welcome to join adventurous Peter, the bad wolf, and the magic puppets of Sema Thai Marionette in a feast for the ears and eyes.

    AlumniMT2018

    คืนสู่เหย้า 60 ปี คณะเทคนิคการแพทย์ ในวันเสาร์ที่ 15 ธันวาคม 2561 ณ บริเวณด้านหน้าอาคารมหิดลสิทธาคาร ตั้งแต่เวลา 17.00 เป็นต้นไป

  • DISTANT WORLDS

    ครั้งแรกในประเทศไทยกับคอนเสิร์ต DISTANT WORLDS ที่คอนดักเตอร์ชื่อดัง Arnie Roth จะนำบทเพลงของเกม FINAL FANTASY ภาคต่างๆ มากมาย มาร่วมบรรเลงกับวง THAILAND PHILHAMONIC ORCHESTRA

    Berliner Philharmoniker

    การมาแสดงคอนเสิร์ตครั้งแรกในประเทศไทยของวง Berliner Philharmoniker ซึ่งได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวางว่าเป็นวงออร์เคสตราแถวหน้าที่ดีที่สุดวงหนึ่งของโลก

    งานมหกรรมคุณภาพ มหาวิทยาลัยมหิดล 2561

    กำหนดจัดงานมหกรรมคุณภาพ มหาวิทยาลัยมหิดล ประจำปี 2561

    ปัญญามหิดล คุณภาพคน คุณภาพงาน

    Walk Run Bike Fighting Stroke

    เดิน วิ่ง ปั่น ป้องกันอัมพาต  วันอาทิตย์ที่ 28 ตุลาคม 2561
    มีจุดเริ่มต้นและสิ้นสุดการวิ่ง ณ มหิดลสิทธาคาร มหาวิทยาลัยมหิดล วิทยาเขตศาลายา

     
  • พิธีจุดเทียนชัยถวายพระพรชัยมงคล

    เนื่องในวันเฉลิมพระชนมพรรษา พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว 5 ธันวาคม 2556

    Tokyo Philharmonic Orchestra

    คอนเสิร์ตฉลอง 100 ปี ปรากฏการณ์ครั้งสำคัญของวงการดนตรีคลาสสิกในเมืองไทย

    Soft opening มหิดลสิทธาคาร

    มหาวิทยาลัยมหิดล ได้จัดสร้างหอประชุมของมหาวิทยาลัย บนเนื้อที่ ๕๔ ไร่

Prince Mahidol Hall

 

Mahidol University provides a shuttle bus service for staff and students between Salaya, Phayathai and Bangkok Noi Campuses. The service is free of charge.

Shuttle Bus Service

Salaya Link

       YOUTUBE Clip (Car to Prince Mahidol Hall)  การเดินทางโดยรถยนต์ส่วนตัว

       YOUTUBE Clip (ฺBus Salaya Link to Prince Mahidol Hall)  การเดินทางด้วยรถโดยสารศาลายา ลิงค์

 

MU map

 

 

 

ลักษณะพิเศษของอาคารมหิดลสิทธาคาร

1. งานสถาปัตยกรรม

อาคารหอประชุมนี้เปรียบเสมือนเป็น Landmark ใหม่ของมหาวิทยาลัยมหิดล ที่จะสะท้อนถึงความสง่างาม และแสดงให้เห็นถึงความเป็นศูนย์กลางทางด้านวิชาการแพทย์ และด้านการดนตรีแห่งภูมิภาคนี้ได้เป็นอย่างดี โดยรูปแบบภายนอกอาคาร มีการผสมผสานสถาปัตยกรรมไทย ที่สามารถมองเห็นได้จากระยะไกลในขณะเดียวกันโครงสร้างอาคารก็ยังแสดงออกถึงความเป็นมหาวิทยาลัยมหิดล คือความรู้ด้านการแพทย์โดยเห็นได้จากโครงสร้างหลังคาที่เป็นครีบเหมือนซี่โครงมนุษย์ ส่วนของหลังคาถูกออกแบบและใช้วัสดุพิเศษ เพื่อป้องกันเสียงรบกวนจากภายนอก โดยออกแบบให้เป็นหลังคา 2 ชั้น หลังคาชั้นที่ 2 จะปิดทับด้วยพื้นคอนกรีตเพื่อการกันเสียงจากภายนอก ผนังภายในเตรียมไว้ในการติดตั้งวัสดุที่มีคุณภาพพิเศษด้าน Acoustic รวมทั้งฝ้าเพดานที่มีการถูกออกแบบให้มีรูปแบบและใช้วัสดุเพื่อผลการได้ยินที่ถูกต้องตามกิจกรรมการแสดงโดยผู้เชี่ยวชาญพิเศษด้านการออกแบบโรงละคร ส่วนวัสดุปูพื้นเวที เป็นพื้นไม้พิเศษที่มีความยืดหยุ่นได้ดี และสามารถรองรับการขนย้ายอุปกรณ์หนัก เช่น เปียโน หรือฉากต่างๆ ได้บริเวณส่วนโถงรับรอง (Lobby) และทางเดินโดยรอบอาคารที่อยู่ใต้หลังคา ถูกออกแบบให้สามารถนำแสงธรรมชาติเข้ามาใช้ได้เป็นอย่างดี โดยการใช้กระจกประหยัดพลังงาน (Low-E) คือ ลดความร้อนจากแสงแดดภายนอก ไม่ให้เข้ามาภายในได้

2. งานวิศวกรรมโครงสร้าง

เนื่องจากพื้นที่การใช้งานภายในอาคารที่เป็นหอประชุม จำเป็นต้องใช้ช่วงเสา (Span) ที่กว้าง และสูงเป็นพิเศษ ทำให้โครงสร้างของอาคารมีขนาดใหญ่ปราศจากเสากลาง เพื่อรองรับหลังคาด้านบน การออกแบบจึงเน้นที่จะโชว์โครงสร้างให้สามารถมองเห็นจากภายนอกได้อย่างชัดเจน โดยเฉพาะเสาคอนกรีตและโครงหลังคาเหล็ก ที่มีรูปแบบทันสมัย และรองรับพื้นที่ขนาดใหญ่ภายในได้อย่างดี โครงสร้างรับหลังคาเวทีสามารถรองรับระบบฉากที่มีน้ำหนักมากเป็นพิเศษเนื่องด้วยความจุของจำนวนที่นั่งที่มีมากถึง 2,016 ที่นั่ง ทำให้ต้องมีการออกแบบเป็นชั้นลอยที่ชั้น 2 และชั้น 3 โดยเป็นโครงสร้างที่ยื่นออกมา (Cantiliver) ยาวถึง 15 เมตร โดยไม่มีเสาด้านล่าง ซึ่งออกแบบเป็นโครงสร้างคอนกรีตเสริมเหล็ก คล้ายอัฒจันทร์สนามกีฬา

3. งานระบบวิศวกรรม

อาคารที่มีพื้นที่ภายในขนาดใหญ่ทั้งความกว้างและความสูง การออกแบบระบบปรับอากาศเป็นสิ่งที่ต้องพิจารณาเป็นพิเศษ เนื่องจากมีค่าใช้จ่ายสูง ดังนั้นการประหยัดพลังงานจึงเป็นเรื่องสำคัญ ผู้ออกแบบจึงเลือกการออกแบบระบบปรับอากาศภายในห้องประชุมเป็นแบบ Displacement คือให้ลมเย็นจ่ายออกจากพื้นอาคารบริเวณใต้ที่นั่งผู้ชม ซึ่งวิธีนี้จะช่วยให้สามารถปรับอุณหภูมิที่สบายแก่บริเวณที่นั่งได้ง่ายโดยไม่ต้องสูญเสียพลังงานไปกับพื้นที่ว่างขนาดใหญ่ที่เหนือขึ้นไป นอกจากนี้ต้องคำนึงถึงการป้องกันเพลิงไหม้และระบบดับเพลิง ตามกฎกระทรวงใหม่ ติดตั้งระบบสื่อสารการได้ยินได้ฟังที่รองรับกิจกรรมต่างๆ อย่างมีประสิทธิภาพขณะที่หลอดไฟส่องสว่างในห้องประชุมก็ถูกปรับเปลี่ยนเป็นหลอด LED ที่ประหยัดพลังงานกว่าหลอดไฟทั่วไป

4. ระบบพิเศษประกอบอาคาร

อาคารนี้มีการออกแบบที่สามารถรองรับกิจกรรมที่หลากหลาย โดยมีการเน้นด้านการใช้งานสำหรับการแสดงดนตรีเป็นพิเศษ โดยมีผู้เชี่ยวชาญทางด้านการออกแบบโรงละคร (Theater Counsultant) เป็นที่ปรึกษาทางด้านการออกแบบระบบ แสง เสียง และเวทีโดยเฉพาะ โดยสามารถแบ่งออกเป็นส่วนต่างๆ ดังนี้

4.1 งานระบบเสียง (Sound & Communication) ประกอบด้วยงานออกแบบที่เกี่ยวข้องกับการควบคุมและการกระจายเสียงภายในหอประชุมทั้งหมด รวมถึงการสื่อสารและการถ่ายทอดสัญญาณต่างๆ ทั้งภาพและเสียง
4.2 งานระบบไฟ (Production Lighting) ประกอบด้วยงานออกแบบระบบไฟสำหรับเวทีการแสดง และภายในหอประชุม
4.3 งานระบบเวที (Stage Engineering) เป็นงานออกแบบระบบที่เกี่ยวกับเวทีการแสดงทั้งหมดที่รวมถึงการออกแบบระบบลิฟต์บนเวที (Stage Elevator) และลิฟต์ของวงดนตรี (Orchestra Elevator) รวมทั้งระบบฉากและ Catwalk ต่างๆ ที่อยู่เหนือเวทีด้วย
4.4 งานระบบ (Acoustic) เป็นงานออกแบบเพื่อรองรับระบบเสียงที่เกิดขึ้นจากการแสดงบนเวทีเพื่อให้ผู้ชมสามารถรับอรรถรสเสียงจากการชม ไม่ว่าจะนั่งอยู่ใกล้หรือไกลได้เป็นอย่างดี โดยระบบ Acoustic ของอาคารนี้จะถูกออกแบบให้สามารถปรับเปลี่ยนได้เพื่อให้สอดคล้องกับการใช้งานประเภทต่างๆ คือ ทั้งสะท้อนเสียง และดูดซับเสียงได้ดี ทั้งนี้ งานออกแบบ Acoustic นี้ จะผสมผสานไปกับงานออกแบบตกแต่งภายใน ได้แก่ พื้น ผนัง และฝ้าเพดาน เพื่อให้เป็นส่วนหนึ่งของห้องประชุมและมีคุณสมบัติด้าน Acoustic ที่ดีในตัว รวมไปถึงการออกแบบที่ว่าง (Space Volumn) ภายในห้องประชุม ที่มีการคำนวณให้เหมาะสมกับจำนวนคน 2,016 ที่นั่ง นอกจากนี้ การออกแบบ Acoustic ยังต้องควบคุมเสียงที่จะเกิดจากระบบปรับอากาศภายในให้มีค่าของเสียง(Noise Control) ให้น้อยที่สุด รวมทั้งป้องกันเสียงจากภายนอก ไม่ให้เข้ามารบกวนภายใน โดยการใช้ประตูชนิดกันเสียงทุกจุด และใช้หลังคาคอนกรีต (หลังคาชั้นที่ 2) เพื่อป้องกันเสียงจากการจราจรภายนอก โดยเฉพาะจากถนนบรมราชชนนี

 

 

แนวความคิดในการออกแบบอาคาร

  แนวคิดหลักคือการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างองค์ประกอบอาคารในด้านสถาปัตยกรรม บริบทโดยรอบ และความหมายในเชิงสัญลักษณ์ของมหาวิทยาลัย รวมถึงการบูรณาการนวัตกรรมทางด้านการออกแบบโครงสร้าง ระบบอาคาร และการประหยัดพลังงานด้วย 

    มหาวิทยาลัยมหิดลถือกำเนิดและมีความสัมพันธ์กับการแพทย์มาโดยตลอด กอปรกับชื่อเสียงที่โดดเด่นของการเป็นโรงเรียนแพทย์ชั้นนำ ความสำคัญนี้ได้ถูกประยุกต์สู่การสร้างรูปทรงและที่ว่างของอาคาร ที่นำมาจากโครงสร้างทางกายภาพของมนุษย์และพืช ผสานความอ่อนช้อยของสถาปัตยกรรมไทยและการประยุกต์รูปแบบตราสัญลักษณ์และต้นไม้ประจำมหาวิทยาลัยมาใช้ในโครงการ

การออกแบบอาคาร

  เป็นอาคารที่ถูกออกแบบให้สามารถรองรับการใช้งานที่หลากหลาย ทั้งการแสดงละคร ดนตรีศิลปวัฒนธรรมต่างๆ การประชุมสัมมนาระดับประเทศและภาคพื้นทวีป พิธีพระราชทานปริญญาบัตร การปฐมนิเทศนักศึกษา ฯลฯ รวมทั้งสามารถจัดเป็นห้องบรรยายการเรียนการสอนของมหาวิทยาลัยได้ จึงทำให้การออกแบบต้องคำนึงถึงองค์ประกอบต่างๆ หลายๆปัจจัย โดยเฉพาะการจัดแสดงด้านดนตรี ที่ต้องมีความพิถีพิถันทางด้านการออกแบบระบบ Acoustic รวมถึง Space ภายในอาคาร ให้สามารถถ่ายทอดคุณภาพของเสียงที่เกิดขึ้นจากการแสดงบนเวทีถึงผู้ชม จำนวนประมาณ 2,016 ที่นั่งได้อย่างดี

 

 

 

Background Image

Header Color

:

Content Color

: