Skip to content
Home » วิทยาลัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการกีฬา

วิทยาลัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการกีฬา

แนะนำการเรียน

Clip video : ( youtube )

เรียนวิทยาลัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการกีฬา ม.มหิดล เป็นยังไง ตอนที่ 1 [by We Mahidol]

หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตร์การกีฬา

การสมัคร

หลักสูตรปกติ เปิดรับในระบบ TCAS โดยใช้คะแนน GPAX, TGAT, TPAT1 และ A-level

ค่าธรรมเนียมการศึกษา โดยประมาณ

ค่าธรรมเนียมการศึกษาเหมาจ่าย เทอมละ 21,000 บาท

อาชีพหลังจบ

  • นักวิทยาศาสตร์การกีฬา ประจำทีมกีฬา , สมาคมกีฬา , ศูนย์วิทยาศาสตร์การกีฬา , ศูนย์ฝึกกีฬา , การกีฬาแห่งประเทศไทย และโรงพยาบาล
  • ผู้ช่วยวิจัยด้านวิทยาศาสตร์การกีฬา/พัฒนาผลิตภัณท์ เครื่องมือ และอุปกรณ์กีฬา
  • นักพัฒนาการกีฬาสังกัดกรมพลศึกษา สังกัดกรุงเทพมหานคร สังกัดกรมการปกครองส่วนท้องถิ่น
  • ผู้ช่วยด้านการฟื้นฟูสมรรถภาพทางกาย ประจำคลินิก ศูนย์ฟื้นฟูสุขภาพ / สร้างเสริมสุขภาพ
  • ผู้ฝึกสอนด้านสมรรถภาพทางกายประจำสโมสรกีฬา
  • ผู้ฝึกสอนออกกำลังกายแบบกลุ่มและเฉพาะบุคคล ประจำศูนย์สุขภาพและออกกำลังกาย หรือผู้ฝึกสอนอิสระ
  • อาชีพอื่น ๆ ที่มีความเกี่ยวข้องกับการกีฬา เช่น นักนันทนาการ สังกัดกรุงเทพมหานคร นักสันทนาการ สังกัดกรมการปกครองส่วนท้องถิ่น นักวิชาการสาธารณสุข สังกัดสาธารณสุขจังหวัด เป็นต้น

หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการออกกำลังกายและการกีฬา

การสมัคร

หลักสูตรปกติ เปิดรับในระบบ TCAS โดยใช้คะแนน GPAX, TGAT, TPAT1 และ A-level

ค่าธรรมเนียมการศึกษา โดยประมาณ

  • วิชาเอกการออกกำลังกายและการกีฬา
    ค่าธรรมเนียมการศึกษาเหมาจ่าย เทอมละ 21,000 บาท
  • วิชาเอกกีฬาฟุตบอล
    ค่าธรรมเนียมการศึกษาเหมาจ่าย เทอมละ 25,000 บาท

อาชีพหลังจบ

วิชาเอกการออกกำลังกายและการกีฬา

  • ผู้ฝึกสอนออกกำลังกายแบบกลุ่มและเฉพาะบุคคล
  • นักวิชาการด้านการออกกำลังกายและการกีฬา  เช่น นักนันทนาการและผู้นำการออกกำลังกายของกรมการปกครองส่วนท้องถิ่น ข้าราชการสังกัดกรุงเทพมหานคร นักพัฒนากีฬาของกรมพลศึกษา นักวิทยาศาสตร์การกีฬาของการกีฬาแห่งประเทศไทย
  • ผู้ฝึกสอนด้านสมรรถภาพทางกาย
  • ที่ปรึกษาการจัดการโครงการสร้างเสริมสุขภาพด้วยการออกกำลังกายและการกีฬา
  • อาชีพอื่น ๆ ที่มีความเกี่ยวข้องกับกีฬาและการออกกำลังกาย เช่น พนักงานขายเครื่องมือออกกำลังกายและกีฬา  ผู้ประกอบการธุรกิจขนาดเล็กเกี่ยวกับการออกกำลังกายและการกีฬา

วิชาเอกกีฬาฟุตบอล

  • ผู้ฝึกสอนกีฬาฟุตบอลระดับเยาวชน
  • ผู้ตัดสินกีฬาฟุตบอล
  • นักฟุตบอลอาชีพ
  • นักวิเคราะห์เกมการแข่งขันกีฬาฟุตบอล
  • ผู้ฝึกสอนด้านสมรรถภาพทางกาย
  • ผู้ประสานงานของสโมสรกีฬาฟุตบอล
  • อาชีพอื่นๆ ที่มีความเกี่ยวข้องกับกีฬาและการออกกำลังกาย เช่น ข้าราชการสังกัดกรุงเทพมหานคร ผู้แทนขายเครื่องออกกำลังกายและอุปกรณ์กีฬา นักวิทยาศาสตร์การกีฬาของการกีฬาแห่งประเทศไทย  ผู้ประกอบการ Academy ฟุตบอล ตัวแทนดูแลผลประโยชน์นักฟุตบอล

วิชาสำคัญที่สามารถต่อยอดในอาชีพได้

– วิชา ฝึกประสบการณ์วิชาชีพ 1 และ 2

– วิชา ผู้ฝึกเฉพาะบุคคล

– วิชา วิธีสอนทางการกีฬา

– วิชา การจัดการโครงการ

– วิชา การวิเคราะห์สมรรถนะนักกีฬาฟุตบอลและฟุตซอล

– วิชา การปฐมพยาบาลและการกู้ชีพขั้นพื้นฐาน

– วิชา การจัดการดูแลในภาวะฉุกเฉินทางกีฬา

– วิชา ทดสอบสมรรถภาพทางกาย

– วิชา กายวิภาคศาสตร์ขั้นพื้นฐาน

– วิชา กายวิภาคศาสตร์ประยุกต์ในการเคลื่อนไหว

– วิชา หลักวิทยาศาสตร์การฝึกกีฬา

– วิชา การเสริมสร้างสมรรถภาพและการวางแผนการฝึกซ้อม

– วิชา การเรียนรู้ด้านการเคลื่อนไหว

– วิชา จิตวิทยาการกีฬาและการออกกำลังกาย

– วิชา กิจกรรมการออกกำลังกายกลุ่ม

– วิชา การช่วยชีวิตคนจมน้ำและความปลอดภัยทางน้ำ

กิจกรรมภายในคณะที่ส่งเสริมให้เป็นประโยชน์ในอนาคตต่อชีวิตการทำงาน

  • โครงการฝึกอบรมหลักสูตรพนักงานฉุกเฉินการแพทย์ (ระดับ 2) ภายใต้โครงการความร่วมมือระหว่างวิทยาลัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการกีฬาและภาควิชาเวชศาสตร์ฉุกเฉิน คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล
  • ทุนการศึกษา
  • กิจกรรมสโมสรนักศึกษาวิทยาลัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการกีฬา
  • MUSS Football Academy
  • ชมรมกีฬา
  • ทุนการศึกษาหลังปริญญา
  • กิจกรรมการแนะนำสถานที่ฝึกประสบการณ์วิชาชีพ สำหรับนักศึกษาชั้นปี 4
  • กิจกรรม Inhouse Training สำหรับนักศึกษาชั้นปี 3
  • โครงการค่ายยุวชนรักกีฬา ส่งเสริมให้นักศึกษาได้เรียนรู้ทักษะการสอนกีฬาประเภทต่างๆ  กับเด็กที่มีอายุระหว่าง 6-12 ปี
  • โครงการศึกษาดูงานสำหรับนักศึกษาทุกชั้นปี ส่งเสริมให้นักศึกษาได้ศึกษาเรียนรู้เกี่ยวกับการทำงานกับหน่วยงานภาครัฐ เช่น การกีฬาแห่งประเทศไทย และสมาคมกีฬา รวมทั้งภาคเอกชน ประเภทฟิตเนส สถานออกกำลังกาย และสโมสรกีฬาต่างๆ
  • โครงการ MUSS GO INTER เป็นการเปิดโอกาสให้นักศึกษาได้พัฒนาความสามารถ เรียนรู้วัฒนธรรม ขนบธรรมเนียมประเพณี การศึกษา และการใช้ชีวิตในต่างประเทศ
  • โครงการ JOB FAIR – โครงการพัฒนาบุคลิกภาพนักศึกษาอันพึงประสงค์ เพื่อเตรียมความพร้อมสู่การทำงาน

ข้อมูลสำหรับการศึกษาต่อ

สามารถศึกษาต่อระดับปริญญาโทกับหลักสูตรวิทยาศาตรมหาบัณฑิต สาขาวิทยาศาสตร์การกีฬา โดยมีแผนการเรียนให้เลือกดังนี้

แผน ก แบบ ก 2
         เป็นผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีหรือเทียบเท่า ในสาขาวิทยาศาสตร์การกีฬา กายภาพบำบัด พยาบาล วิทยาศาสตร์ วิทยาศาสตร์สุขภาพทุกสาขา พลศึกษาหรือสาขาอื่นที่เกี่ยวข้อง มีแต้มระดับคะแนนเฉลี่ยสะสมระดับปริญญาตรีตลอดหลักสูตร ไม่ต่ำกว่า 2.50  สถาบันการศึกษาที่ผู้สมัครสำเร็จการศึกษามาทั้งในประเทศและต่างประเทศต้องเป็นสถาบันการศึกษาที่ สำนักงานคณะกรรมการ การอุดมศึกษาให้การรับรอง

แผน ข
         เป็นผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีหรือเทียบเท่า ในสาขาวิทยาศาสตร์การกีฬา กายภาพบำบัด พยาบาล วิทยาศาสตร์ วิทยาศาสตร์สุขภาพทุกสาขา พลศึกษาหรือสาขาอื่นที่เกี่ยวข้อง มีแต้มระดับคะแนนเฉลี่ยสะสมระดับปริญญาตรีตลอดหลักสูตรไม่ต่ำกว่า 2.50  มีประสบการณ์ทำงานที่เกี่ยวกับการออกกำลังกาย หรือการฝึกสอนทางการกีฬา อย่างใดอย่างหนึ่ง โดยมีหนังสือรับรองจากองค์กร หรือหน่วยงานที่ปฏิบัติงานดังกล่าว  ผู้ที่มีคุณสมบัตินอกเหนือจากข้อ (1) หรือ (2) อาจได้รับการพิจารณาให้สมัครเข้ารับการคัดเลือกเข้าศึกษาตามดุลยพินิจของกรรมการบริหารหลักสูตร และคณบดีบัณฑิตวิทยาลัย  สถาบันการศึกษาที่ผู้สมัครสำเร็จการศึกษามาทั้งในประเทศและต่างประเทศต้องเป็นสถาบันการศึกษาที่ สำนักงานคณะกรรมการ การอุดมศึกษาให้การรับรอง
         มีผลการสอบภาษาอังกฤษผ่านตามเกณฑ์ของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล (สามารถเทียบโอนคะแนนภาษาอังกฤษ MU ELT ภายในระยะเวลา 2 ปี)+++ผู้ที่มีคุณสมบัตินอกเหนือจากเกณฑ์ดังกล่าวนี้อาจได้รับการพิจารณาให้สมัครเข้ารับการคัดเลือกเข้าศึกษาตามดุลยพินิจขอประธานหลักสูตรและคณบดีบัณฑิตวิทยาลัย

ติดต่อสอบถาม

Website : วิทยาลัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการกีฬา
Facebook : วิทยาลัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการกีฬา