- หลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิต (Doctor of Medicine)
- หลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิต – วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต (M.D.-M.Eng.)
- หลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิต-การจัดการมหาบัณฑิต (นานาชาติ) (M.D.-M.M.)
- หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาความผิดปกติของการสื่อความหมาย
- หลักสูตรฉุกเฉินการแพทยบัณฑิต
- หลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต
- หลักสูตรศึกษาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาหูหนวกศึกษาและการศึกษาของคนหูหนวก
แนะนำการเรียน
Clip video : ( youtube )
50 Facts ชีวิตนักศึกษาแพทย์ รามาธิบดี ม.มหิดล (MURA) by We Mahidol
หลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิต (Doctor of Medicine)
มีการจัดการเรียนการสอนวิชาวิทยาศาสตร์การแพทย์ที่เข้มข้นทั้งในชั้นพรีคลินิกและคลินิก เน้นการดูแลผู้ป่วยแบบองค์รวมอย่างรอบด้าน สามารถบริหารจัดการได้อย่างมีประสิทธิภาพตามระบบสาธารณสุขของประเทศไทย เน้นกระบวนการคิดอย่างเป็นระบบและสร้างองค์ความรู้ใหม่ผ่านทักษะการทำวิจัย พัฒนาทักษะความเป็นผู้นำและการทำงานเป็นทีม ซึ่งเป็นทักษะสำคัญในการทำงานเป็นแพทย์ที่มีประสิทธิภาพ
อัตราค่าธรรมเนียมการศึกษา (หลักสูตรปกติ)
ภาคการศึกษาละ 30,000 บาท
* รวมทั้งหมด 12 ภาคการศึกษา (ค่าใช้จ่ายประมาณ 360,000 บาท / 6 ปี)
ทุนการศึกษา :
ติดตามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ https://www.rama.mahidol.ac.th/studentaffairs/th/welfare
อาชีพหลังจบ :
เป็นแพทย์ผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรม แพทย์นักวิจัย หรือสาขาอาชีพอื่นที่เกี่ยวข้องกับระบบสุขภาพ และสามารถศึกษาต่อเพื่อเป็นแพทย์เฉพาะทางได้
การสมัคร
1. สมัครในระบบ TCAS กำหนดเกณฑ์ขั้นต่ำ ได้แก่ คะแนนเฉลี่ยสะสม ≥3.50 คะแนน TOEFL แบบ IBT (Internet based test) ≥ 80 หรือ IELTS (Academic modules) ≥ 6.5 ซึ่งสอบมาแล้วไม่เกิน 2 ปี นับถึงวันปิดรับสมัคร และคะแนนความสามารถทางวิชาการตามรายละเอียดที่คณะกำหนด ตัดสินผลเพื่อสัมภาษณ์ โดย Portfolio และ ตัดสินคัดเลือกโดย Multiple Mini Interview (MMI)
ติดตามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ https://www.rama.mahidol.ac.th/meded/th/rama_admission
2. สมัครผ่านระบบ กสพท. คะแนนที่ใช้ในการคัดเลือก ได้แก่ 7 วิชาสามัญ และคะแนนวิชาเฉพาะ กสพท
หลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิต – วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต (M.D.-M.Eng.)
เป็นหลักสูตรร่วมกันระหว่างแพทยศาสตรบัณฑิตและวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต ภายใต้โครงการร่วม 2 หลักสูตร พ.บ. – วศ.ม. (วิศวกรรมชีวการแพทย์) เพื่อสร้างแพทย์ที่มีความรู้ความสามารถทางด้านวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยีทางการแพทย์ สามารถประยุกต์ใช้ความรู้ เครื่องมือและเทคโนโลยีทางการแพทย์กับการรักษาผู้ป่วยได้อย่างถูกต้องและให้ประสิทธิภาพสูงสุด โดยปลูกฝังความเป็นนักวิจัยและนวัตกรให้แก่นักศึกษาแพทย์ทั้งในด้านของกระบวนการคิด ทักษะ และความสามารถทางการวิจัย ซึ่งจะได้รับปริญญาแพทยศาสตรบัณฑิตและวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
อัตราค่าธรรมเนียมการศึกษา
หลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิต ค่าใช้จ่ายประมาณ 360,000 บาท
หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต (นานาชาติ) ค่าใช้จ่ายประมาณ 280,000 บาท
ทุนการศึกษา :
ไม่มี
อาชีพหลังจบ
เป็นแพทย์นวัตกรที่สามารถต่อยอดเพื่อพัฒนางานวิจัยและนวัตกรรมทางการแพทย์ แพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทาง สามารถศึกษาต่อเฉพาะทางหรือหลักสูตรปริญญาเอกทั้งในและต่างประเทศ มีประสบการณ์ทำงานวิจัยและผลงานตีพิมพ์ในระดับนานาชาติเป็นพื้นฐาน
การสมัคร
สมัครในระบบ TCAS กำหนดเกณฑ์ขั้นต่ำ ได้แก่ คะแนนเฉลี่ยสะสม ≥3.50 คะแนน TOEFL แบบ IBT (Internet based test) ≥ 80 หรือ IELTS (Academic modules) ≥ 6.5 ซึ่งสอบมาแล้วไม่เกิน 2 ปี นับถึงวันปิดรับสมัคร และคะแนนความสามารถทางวิชาการตามรายละเอียดที่คณะกำหนด ตัดสินผลเพื่อสัมภาษณ์ โดย Portfolio และ ตัดสินคัดเลือกโดย Multiple Mini Interview (MMI) ติดตามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ https://www.rama.mahidol.ac.th/meded/th/rama_admission
หลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิต-การจัดการมหาบัณฑิต (นานาชาติ) (M.D.-M.M.)
เป็นหลักสูตรร่วมกันระหว่างแพทยศาสตรบัณฑิตและการจัดการมหาบัณฑิต ภายใต้โครงการร่วม 2 หลักสูตร พ.บ. – กจ.ม. (การจัดการมหาบัณฑิต (นานาชาติ)) เพื่อผลิตแพทย์ที่มีทักษะการบริหารบริหารจัดการ มีภาวะผู้นำและมีความรู้ความสามารถทางการบริหารจัดการที่สามารถสร้างการเปลี่ยนแปลงเพื่อสุขภาวะของสังคมไทยได้ บัณฑิตที่สำเร็จการศึกษานอกจากจะมีความรู้ ความสามารถ คุณธรรมและจริยธรรมทางวิชาชีพในฐานะแพทย์อย่างเต็มที่แล้ว ยังจะมีสมรรถนะและทักษะทางด้านการบริหารจัดการและภาวะผู้นำที่จะเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันให้กับระบบสาธารณสุขของประเทศอีกด้วย ซึ่งจะได้รับปริญญาแพทยศาสตรบัณฑิตและและการจัดการมหาบัณฑิต (นานาชาติ)
อัตราค่าธรรมเนียมการศึกษา
หลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิต ค่าใช้จ่ายประมาณ 360,000 บาท
หลักสูตรการจัดการมหาบัณฑิต (นานาชาติ) ค่าใช้จ่ายประมาณ 480,000 บาท
ทุนการศึกษา :
อาชีพหลังจบ
เป็นแพทย์ แพทย์ที่มีทักษะในการบริหารจัดการ มีความสามารถในการนำทีมงานทีมและทำงานรว่มกับแพทย์ พยาบาล และบุคลากรสาธารณสุข หรือสามารถศึกษาเพิ่มเติมเพื่อเป็นผู้บริหารองค์กรที่มีความรู้ด้านการจัดการที่ดี สามารถศึกษาต่อเฉพาะทางหรือหลักสูตรปริญญาเอกทั้งในและต่างประเทศ มีประสบการณ์ทำงานวิจัยและผลงานตีพิมพ์ในระดับนานาชาติเป็นพื้นฐาน
การสมัคร
สมัครในระบบ TCAS กำหนดเกณฑ์ขั้นต่ำ ได้แก่ คะแนนเฉลี่ยสะสม ≥3.50 คะแนน TOEFL แบบ IBT (Internet based test) ≥ 80 หรือ IELTS (Academic modules) ≥ 6.5 ซึ่งสอบมาแล้วไม่เกิน 2 ปี นับถึงวันปิดรับสมัคร และคะแนนความสามารถทางวิชาการตามรายละเอียดที่คณะกำหนด ตัดสินผลเพื่อสัมภาษณ์ โดย Portfolio และ ตัดสินคัดเลือกโดย Multiple Mini Interview (MMI)
รายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ https://www.rama.mahidol.ac.th/meded/th/rama_admission
ติดต่อสอบถาม
สามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ งานแพทยศาสตรศึกษา
คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี ชั้น 3 อาคารบริหาร ถนนพระราม 6 เขตราชเทวี กรุงเทพฯ
โทรศัพท์ 0 2201 0117, 0 2201 1644, 0 2201 1289
E-mail: thatchanan.mao@mahidol.edu /sirichart.kha@mahidol.ac.th
หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาความผิดปกติของการสื่อความหมาย
เป็นแห่งแรกในประเทศไทยที่ผลิตนักเวชศาสตร์สื่อความหมายที่ให้บริการผู้ป่วยด้านการแก้ไขการพูดและการได้ยิน เน้นไปที่การตรวจวินิจฉัยปัญหาที่เกิดขึ้นกับระบบการได้ยินต่างๆ การฟื้นฟูสมรรถภาพทางการได้ยิน วินิจฉัยความผิดปกติของการสื่อความหมายทางภาษา ประเมินสภาพความผิดปกติ ทดสอบความสามารถทางด้านภาษาและการพูดรวมถึงการกลืน บำบัดรักษา/แก้ไขและฟื้นฟูสมรรถภาพของความผิดปกติที่ไม่ว่าจะเกิดขึ้นกับกระบวนการพูด ระบบภาษา หรือการทำงานของอวัยวะที่ใช้ในการพูด ให้คำแนะนำเกี่ยวกับความผิดปกติของผู้ป่วยและเรียนรู้วิธีการรักษาที่ถูกต้อง การเลือกใช้เครื่องมือช่วยรักษาที่เหมาะสมกับผู้ป่วย ติดตามผลการรักษา ตลอดจนการเผยแพร่ความรู้เพื่อป้องกันความผิดปกติทางภาษาและการพูดอีกด้วย ผู้ประกอบวิชาชีพนี้สามารถทำงานในโรงพยาบาล โรงเรียน หน่วยงานของรัฐและเอกชน หรือคลินิกส่วนตัว
อัตราค่าธรรมเนียมการศึกษา
ค่าใช้จ่ายตลอดหลักสูตรประมาณ 150,000 บาท/ 4 ปี
ทุนการศึกษา :
โดยคณะมีทุนสนับสนุนการศึกษา อาทิ ทุนจากมหาวิทยาลัยมหิดล คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี และทุนอื่นๆ
การสมัคร
คะแนนที่ใช้สอบคัดเลือก ได้แก่ 9 วิชาสามัญ GAT PAT2 เป็นต้น
หลักสูตรฉุกเฉินการแพทยบัณฑิต
เป็นหลักสูตรที่พัฒนาขึ้นเพื่อผลิตนักฉุกเฉินการแพทย์ (Paramedic) ซึ่งเป็นบุคลากรในระบบการแพทย์ฉุกเฉินที่ขาดแคลนและเป็นที่ต้องการของประเทศ หลักสูตรมีเป้าหมายของการจัดการศึกษา เพื่อผลิตนักฉุกเฉินการแพทย์ที่มีความรู้ สมรรถนะ และเจตคติที่ดีในการปฏิบัติงานด้านการแพทย์ฉุกเฉินนอกโรงพยาบาล สามารถให้การดูแลผู้เจ็บป่วยฉุกเฉินได้อย่างมีประสิทธิภาพตามมาตรฐานวิชาการและมาตรฐานวิชาชีพ โดยใช้ศาสตร์และศิลป์อย่างเป็นองค์รวมนับแต่การรับรู้ถึงภาวะการเจ็บป่วยฉุกเฉิน จนถึงดำเนินการให้ผู้ป่วยฉุกเฉินได้รับการบำบัด
รักษาให้พ้นภาวะฉุกเฉิน ด้วยการประเมิน การตรวจวินิจฉัย การบำบัดรักษาพยาบาล การลำเลียงหรือขนส่ง
การจัดการ การประสานงาน และการติดต่อสื่อสาร ตลอดจนมีทักษะในการทำงานวิจัย มีความเป็นผู้นำ กล้าคิด กล้าทำ กล้าตัดสินใจ ปฏิบัติงานร่วมกับผู้ปฏิบัติการอื่นในระบบการแพทย์ฉุกเฉินได้ สามารถพัฒนาตนเองทั้งด้านความรู้และทักษะทางวิชาชีพด้วยตนเองได้อย่างต่อเนื่อง มีคุณธรรมจริยธรรม ปฏิบัติตนตามจรรยาบรรณวิชาชีพ และมุ่งมั่นในการปฏิบัติตนเพื่อประโยชน์ของส่วนรวมและสังคม
เมื่อสำเร็จการศึกษาจากหลักสูตร บัณฑิตสามารถประกอบวิชาชีพนักฉุกเฉินการแพทย์ในระบบราชการ ได้แก่ โรงพยาบาลในสังกัดกระทรวงสาธารณสุข สถานพยาบาลทั้งภาครัฐและเอกชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น นอกจากนี้ ยังสามารถประกอบอาชีพเป็นอาจารย์ประจำหลักสูตรฝึกอบรมผู้ปฏิบัติการฉุกเฉิน รวมทั้งนักวิชาการ นักวิจัย หรือประกอบวิชาชีพอิสระทั้งในประเทศและต่างประเทศ
อัตราค่าธรรมเนียมการศึกษา
ค่าธรรมเนียมการศึกษาตลอดหลักสูตร 168,000 บาท (เหมาจ่ายภาคการศึกษาละ 21,000 บาท)
ทุนการศึกษา :
สำหรับนักศึกษาที่ขาดแคลนทุนทรัพย์ สามารถขอรับทุนสนับสนุนการศึกษาจากคณะหรือมหาวิทยาลัย
การสมัคร
หลักสูตรเปิดรับสมัครนักศึกษาจำนวน 40 คนต่อปี ดำเนินการคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษาผ่านระบบ TCAS (จำนวน รอบที่เปิดรับ และเกณฑ์การคัดเลือกอาจมีการเปลี่ยนแปลง) ดังนี้
- รอบที่ 1 Portfolio คัดเลือกจากผลการเรียนเฉลี่ยสะสม แฟ้มสะสมผลงาน และการสอบสัมภาษณ์
- รอบที่ 2 Quota คัดเลือกจากผลการเรียนเฉลี่ยสะสม คะแนนการสอบวัดความรู้เฉพาะทางด้านฉุกเฉินการแพทย์ และการสอบสัมภาษณ์
- รอบที่ 3 Admission คัดเลือกจากผลการเรียนเฉลี่ยนสะสม คะแนนการทดสอบความรู้เชิงประยุกต์ (A-Level) และการสอบสัมภาษณ์
ติดต่อสอบถาม
โทรศัพท์ 0 2201 1484
โทรสาร 02-201-2404 (ในวันและเวลาราชการ)
E-mail: ramaedic.er@gmail.com
Facebook Fanpage : Ramamedic
Website : ภาควิชาแวชศาสตร์ฉุกเฉิน คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล
หลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต
มุ่งสร้างบัณฑิตพยาบาลที่สามารถช่วยเหลือดูแลสุขภาพของมนุษย์ได้แบบองค์รวม โดยบูรณาการความรู้จากศาสตร์และศิลปะการพยาบาล ศาสตร์ทางการแพทย์ ศาสตร์อื่นที่เกี่ยวข้อง มีทักษะเชิงวิชาชีพและวิชาการ ตลอดจนทักษะด้านโทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร มีภาวะผู้นำ กล้าคิด มีความริเริ่มสร้างสรรค์ เข้าใจตนเอง เข้าใจผู้อื่น พัฒนาตนอย่างต่อเนื่อง มีจิตอาสา สามารถทำงานร่วมกันในทีมพยาบาล ทีมสหวิชาชีพ และผู้อื่น มีคุณธรรมจริยธรรม มีอุดมการณ์และความภาคภูมิใจในวิชาชีพ
อัตราค่าธรรมเนียมการศึกษา
ค่าลงทะเบียน ภาคการศึกษาละ 25,000 บาท
ค่าใช้จ่ายตลอดหลักสูตรประมาณ 200,000 บาท / 4 ปี
ทุนการศึกษา :
อาชีพหลังจบ
เป็นพยาบาลวิชาชีพในสถานบริการสุขภาพทุกระดับและในสถาบันการศึกษาพยาบาล พยาบาลประจําโรงเรียน/ สถานประกอบการอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับการบริการสุขภาพ อาจารย์ นักวิชาการ นักวิจัย ประกอบอาชีพอิสระด้านการพยาบาลและการผดุงครรภ์ทั้งในประเทศและต่างประเทศ
การสมัคร
รอบที่ 1 Portfolio เปิดรับสมัครประมาณเดือนตุลาคม ติดตามเกณฑ์การคัดเลือกโดยละเอียดและการรับสมัครทาง https://tcas.mahidol.ac.th/
รอบที่ 2 Quota เปิดรับสมัครประมาณเดือนมีนาคม ใช้คะแนน 9 วิชาสามัญ ติดตามเกณฑ์การคัดเลือกโดยละเอียดและการรับสมัครทาง https://tcas.mahidol.ac.th/
รอบที่ 3 รับตรงร่วมกัน เปิดรับสมัครประมาณเดือนพฤษภาคม ใช้คะแนน TGAT และ A-Level ติดตามเกณฑ์การคัดเลือกโดยละเอียดและการรับสมัครทาง https://www.mytcas.com/
ติดต่อสอบถาม
โทรศัพท์ 0 2201 2010
หลักสูตรศึกษาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาหูหนวกศึกษาและการศึกษาของคนหูหนวก
ผลิตบัณฑิตให้เป็นผู้ที่มีความรู้ความสามารถทางวิชาการด้านหูหนวกศึกษา การศึกษาของคนหูหนวก ภาษามือไทย และล่ามภาษามือไทย ที่สามารถออกแบบการจัดการเรียนรู้ในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานและการศึกษาตลอดชีวิตสำหรับคนหูหนวก ใช้ภาษามือไทยเพื่อการสื่อสาร การจัดการเรียนรู้สำหรับคนหูหนวก และปฏิบัติการล่ามภาษามือไทย มีคุณธรรม จริยธรรม และจรรยาบรรณในวิชาชีพ มีภาวะผู้นำ สามารถปฏิบัติงานร่วมกับบุคคลที่มีความแตกต่างหลากหลายอย่างเข้าใจทั้งตนเองและผู้อื่น และมีคุณลักษณะบัณฑิตที่พึงประสงค์ตามที่มหาวิทยาลัยมหิดลกำหนด
อัตราค่าธรรมเนียมการศึกษา
ค่าใช้จ่ายตลอดหลักสูตร ประมาณ 168,000 บาท / 4ปี
ทุนการศึกษา :
ทุนอุดหนุนทางการศึกษาสำหรับคนพิการในระดับอุดมศึกษา (เฉพาะนักศึกษาที่บกพร่องทางการได้ยิน
อาชีพหลังจบ
เป็นครูที่จัดการเรียนรู้สำหรับคนหูหนวก นักวิชาการด้านหูหนวกศึกษาและการศึกษาของคนหูหนวกและล่ามภาษามือไทย
การสมัคร
รับสมัครในระบบ TCAS คะแนนที่ใช้คัดเลือก ได้แก่ ผลการเรียนเฉลี่ยสะสม ผลการเรียนเฉลี่ยของรายวิชาคณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย