Skip to content
Home » คณะสาธารณสุขศาสตร์

คณะสาธารณสุขศาสตร์

แนะนำการเรียน

Clip video : ( youtube )

เรียนสาธารณสุขศาสตร์ ม.มหิดล เป็นยังไง ตอนที่ 1 [by We Mahidol]

ค่าธรรมเนียมการศึกษา โดยประมาณ :

แบบเหมาจ่าย  21,000  บาท

ทุนการศึกษา :

ทุนจากคณะสาธารณสุขศาสตร์  ทุนมูลนิธิราชพฤกษ์  ทุนจากศิษย์เก่า ทุนจากมหาวิทยาลัยมหิดล

อาชีพหลังจบ :

หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาสาธารณสุขศาสตร์  2  สาขาวิชาเอก 

1. สาขาวิชาเอกวิทยาศาสตร์การอาหารเพื่อสุขภาพ (Food Science for Health: FS)

มุ่งเน้นให้บัณฑิตมีความสามารถในการวิเคราะห์ ประเมินคุณค่าและความปลอดภัยของอาหาร ตรวจวัดคุณภาพผลิตภัณฑ์อาหาร ควบคุมการผลิต และพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหารให้ได้มาตรฐานและเหมาะสมต่อสุขภาพของผู้บริโภค โดยการประยุกต์ความรู้ด้าน วิทยาศาสตร์การอาหาร ชีวเคมีทางอาหาร โภชนชีวเคมี การวิเคราะห์อาหาร การแปรรูปอาหาร การประกันคุณภาพอาหาร การวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหาร และการสุขาภิบาลด้านอาหาร

โอกาสการทำงาน : 

นักวิชาการด้านสาธารณสุข นักวิชาการด้านอาหารและโภชนาการ เจ้าหน้าที่ในสายงานการผลิต การประกันคุณภาพและการวิเคราะห์คุณภาพอาหาร และการพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหาร ในสถาบันที่เกี่ยวข้องกับการผลิตและการบริการอาหาร

โอกาสศึกษาต่อ : 

สาขาสาธารณสุขศาสตร์ สาขาเทคโนโลยีทางอาหารหรือวิทยาศาสตร์การอาหาร การวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหาร เทคโนโลยีชีวเคมีหรือชีวเคมี เทคโนโลยีชีวภาพ เทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยว พิษวิทยาทางอาหาร จุลชีววิทยาอุตสาหกรรม และโภชนาการ

2. สาขาวิชาเอกอนามัยชุมชน (Community Health: CH)

มุ่งผลิตบุคลากรให้มีความสามารถในการเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชน ดำเนินงานร่วมกับชุมชนวิเคราะห์สถานการณ์อนามัยชุมชนวิเคราะห์ปัจจัยและสาเหตุของปัญหาสุขภาพ จัดระบบเฝ้าระวังปัญหา วางแผนแก้ไขปัญหาสุขภาพ พัฒนาระบบบริการอนามัยชุมชน ควบคุมกำกับงานและประเมินผลโครงการสาธารณสุข ตั้งแต่ระดับชุมชนถึงระดับประเทศใช้กระบวนการเรียนรู้แบบแก้ปัญหาเป็นหลัก มีชุมชนเป็นศูนย์กลางของการเรียนรู้ โดยการสหสาขาวิชาการ

โอกาสการทำงาน : 

  • รับราชการ หรือ พนักงานราชการ : ในตำแหน่ง นักวิชาการสาธารณสุข นักสาธารณสุข นักวิชาการควบคุมโรค นักวิชาการส่งเสริมสุขภาพ นักวิจัย นักวิชาการการศึกษา นักพัฒนาชุมชน และตำแหน่งอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับวิทยาศาสตร์สุขภาพ
  • ภาคเอกชน : ในตำแหน่งงานด้านสุขภาพและกิจการเพื่อสังคม เช่น นักวิชาการส่งเสริมกิจกรรมเพื่อสังคม นักฝึกอบรม ผู้ประสานงานโครงการ เป็นต้น
  • องค์กรพัฒนาเอกชน : ในตำแหน่งานที่เกี่ยวข้องกับองค์กรนั้น ๆ เช่น เจ้าหน้าที่ประสานโครงการ เจ้าหน้าที่มูลนิธิ เป็นต้น
  • ทำงานอิสระ : เจ้าของธุรกิจส่วนตัว

โอกาสศึกษาต่อ : 

  • ในสาขาที่ตรงกับพื้นฐานด้านอนามัยชุมชน เช่น สาขาสาธารณสุขศาสตร์ วิทยาการระบาด ประชากรศาสตร์ เศรษฐศาสตร์สุขภาพ ฯลฯ
  • สาขาอื่นๆ ที่รับคนที่จบปริญญาตรีพื้นฐานวิทยาศาสตร์ สาธารณสุขศาสตร์ วิทยาศาสตร์สุขภาพ หรือ สาขาที่เกี่ยวข้อง

ค่าธรรมเนียมการศึกษาโดยประมาณ :

แบบเหมาจ่าย   21,000บาท

ทุนการศึกษา :

ทุนจากมหาวิทยาลัยมหิดล ทุนจากคณะสาธารณสุขศาสตร์ ทุนมูลนิธิราชพฤกษ์ ทุนสนับสนุนจากภาควิชา/อาจารย์ ทุนจากเครือข่ายศิษย์เก่า ฯลฯ ซึ่งมีการประกาศให้สมัครรับทุนเป็นประจำทุกปี

โอกาสการทำงาน : 

  • ภาคเอกชน  เป็นบุคลากรด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัยในสถานประกอบกิจการ เช่น อุตสาหกรรม ปิโตรเคมี อุตสาหกรรมพลังงาน อุตสาหกรรมยานยนต์-ขนส่ง อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ อุตสาหกรรมซีเมนต์-วัสดุก่อสร้าง อุตสาหกรรมอาหาร ฯลฯ โดยสามารถปฏิบัติงานเป็นเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงาน (จป.) ระดับวิชาชีพ ได้ตามกฎหมายแรงงาน และก้าวหน้าตามประสบการณ์ขึ้นสู่ตำแหน่งระดับหัวหน้าหรือผู้บริหารได้
  • ภาคราชการ  สามารถดำรงตำแหน่งนักวิชาการ นักวิทยาศาสตร์ ในสายงานของส่วนราชการที่ปฏิบัติหน้าที่เกี่ยวข้องด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัย เช่น กระทรวงแรงงาน กระทรวงสาธารณสุข กระทรวงอุตสาหกรรม ฯลฯ โดยผ่านการสอบของสำนักงาน ก.พ. และสามารถก้าวหน้าในตำแหน่งได้ตามเส้นทางของหน่วยราชการที่สังกัด
  • องค์กร/หน่วยงานอื่น ๆ เช่น ปฏิบัติงานสนับสนุนวิชาการในสถาบันการศึกษา/ศึกษาต่อเพื่อเป็นอาจารย์ เป็นผู้ให้บริการในหน่วยงานที่ปรึกษาหรือตรวจวัด/วิเคราะห์ด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัย ฯลฯ
  • งานอิสระ/ประกอบธุรกิจที่เกี่ยวข้อง  เช่น จัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์/บริการที่เกี่ยวข้องด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัย ฯลฯ

โอกาสศึกษาต่อ : 

ผู้สำเร็จการศึกษาตามหลักสูตรนี้ สามารถศึกษาต่อระดับปริญญาโท หรือปริญญาโทควบต่อปริญญาเอก ในสาขาอาชีวอนามัยและความปลอดภัย สุขศาสตร์อุตสาหกรรม การยศาสตร์ อาชีวเวชศาสตร์ พิษวิทยา วิศวกรรมความปลอดภัย วิทยาศาสตร์สุขภาพ/สิ่งแวดล้อม หรือสาขาอื่น ๆ ทั้งสถาบันการศึกษาในประเทศและต่างประเทศ  ทั้งนี้ เป็นไปตามข้อกำหนดของหลักสูตรที่เปิดรับสมัครนั้น ๆ


ผลิตบัณฑิตให้มีความรู้ความสามารถในงานอนามัยสิ่งแวดล้อม บูรณาการองค์ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ สาธารณสุขศาสตร์ และศาสตร์ด้านสิ่งแวดล้อม นำไปประกอบสัมมาชีพ มีสมรรถนะด้านความรู้และเจตคติของนักอนามัยสิ่งแวดล้อมตามทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 โดยใช้การเรียนรู้เป็นศูนย์กลาง เพื่อให้ผู้เรียนสามารถสร้างเสริมความรู้ ความสามารถและทักษะใหม่ได้ด้วยตนเองจากประสบการณ์ฝึกปฏิบัติจริง สามารถประยุกต์องค์ความรู้และใช้เทคโนโลยีที่มีอยู่ในปัจจุบันอย่างเหมาะสมได้ด้วยตนเอง สามารถปรับตัวให้เท่าทันต่อการเปลี่ยนแปลงและพัฒนาการเรียนรู้อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิตได้ เพื่อพัฒนาสุขภาพและคุณภาพชีวิตของประชาชน ชุมชน และประเทศชาติ ด้วยจริยธรรม คุณธรรม ตามจรรยาบรรณแห่งวิชาชีพ มีจิตสำนึกและรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อมส่วนรวมและสื่อความคิดที่ดีงามให้กับสังคม

ค่าธรรมเนียมการศึกษาโดยประมาณ :

ค่าธรรมเนียมการศึกษาโดยประมาณ :

แบบเหมาจ่าย   21,000 บาท

ทุนการศึกษา :

ทุนจากคณะสาธารณสุขศาสตร์  ทุนมูลนิธิราชพฤกษ์  ทุนจากศิษย์เก่า ทุนจากมหาวิทยาลัยมหิดล ประจำปี

อาชีพหลังจบ :

  • นักวิชาการสาธารณสุข นักวิชาการควบคุมโรค นักวิชาการส่งเสริมสุขภาพ นักวิชาการสิ่งแวดล้อม นักอนามัยสิ่งแวดล้อม นักสุขาภิบาล นักสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อม นักวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม
  • เจ้าหน้าที่สิ่งแวดล้อม และผู้ควบคุมระบบบำบัดมลพิษด้านต่าง ๆ ได้แก่ ผู้ควบคุมมลพิษทางน้ำ ผู้ควบคุมมลพิษทางอากาศ ผู้ควบคุมมลพิษเสียงและความสั่นสะเทือน ผู้ควบคุมของเสียอันตราย ผู้ควบคุมมูลฝอยและสิ่งปฏิกูล
  • นักวิเคราะห์คุณภาพสิ่งแวดล้อม ผู้ตรวจประเมินทางสิ่งแวดล้อม และผู้ประเมินผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ
  • อาชีพอิสระด้านการจัดการสิ่งแวดล้อม การประเมินผลกระทบทางสุขภาพและสิ่งแวดล้อม การวิเคราะห์คุณภาพสิ่งแวดล้อมและการส่งเสริมสุขภาพ

โอกาสการทำงาน : 

การขึ้นทะเบียนประกอบวิชาชีพ

  • สามารถขอรับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีควบคุม สาขาอนามัยสิ่งแวดล้อมชำนาญการของสภาวิชาชีพวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
  • สามารถสอบขอใบอนุญาตสาขาการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมด้านวิทยาศาสตร์และการควบคุมมลพิษของสภาวิชาชีพวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
  • สามารถสอบขึ้นทะเบียนเป็นผู้ควบคุมระบบบำบัดมลพิษทางน้ำ อากาศ ของเสียอันตราย ของกรมโรงงานอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม
  • สามารถยื่นขอขึ้นทะเบียนเป็นวิทยากรอบรมหลักสูตรการสุขาภิบาลอาหารสำหรับผู้ประกอบการและผู้สัมผัสอาหาร ของกรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข

โอกาสศึกษาต่อ : 

ปริญญาโท ปริญญาเอก ในสาขาอนามัยสิ่งแวดล้อม สุขาภิบาลสิ่งแวดล้อม วิทยาศาสตร์สุขภาพ เทคโนโลยีสิ่งแวดล้อมและสาขาอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับวิทยาศาสตร์อนามัยสิ่งแวดล้อม


หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาโภชนวิทยาและการกำหนดอาหาร ผลิตบัณฑิตให้มีความรู้และทักษะด้านโภชนาการและการกำหนดอาหารตามมาตรฐานวิชาชีพนักกำหนดอาหาร มีความพร้อมในการปฏิบัติงานในบทบาทนักกำหนดอาหารวิชาชีพ ได้แก่ วินิจฉัยปัญหาโภชนาการโดยการประเมินภาวะโภชนาการของผู้ป่วย วิเคราะห์และวางแผนการให้โภชนบำบัด การให้คำปรึกษา ติดตาม ประเมินผล ส่งเสริม และฟื้นฟูภาวะโภชนาการ และการดัดแปลงอาหารเฉพาะโรคให้เป็นไปตามแผนการรักษาเพื่อให้เหมาะสมกับโรคและภาวะโภชนาการ ร่วมกับ สหสาขาวิชาชีพและภาคส่วนอื่น ๆ ทั้งภาครัฐและภาคเอกชน ตลอดจนมีทักษะในการทำวิจัย โดยบูรณาการองค์ความรู้ในศาสตร์การสาธารณสุข โภชนาการและการกำหนดอาหาร สามารถคิดวิเคราะห์และสังเคราะห์อย่างเป็นระบบเพื่อสนับสนุนการป้องกันและการแก้ไขปัญหาด้านอาหารและโภชนาการ

ค่าธรรมเนียมการศึกษาโดยประมาณ :

ค่าธรรมเนียมการศึกษาตลอดหลักสูตร 168,000.00 บาท

(เหมาจ่ายภาคการศึกษาละ 21,000.00 บาท ไม่รวมภาคฤดูร้อน)

ทุนการศึกษา :

กองทุนกู้ยืมเพื่อการศึกษา กยศ./กรอ. ทุนจากคณะสาธารณสุขศาสตร์  ทุนมูลนิธิราชพฤกษ์  ทุนจากศิษย์เก่า ทุนจากมหาวิทยาลัยมหิดล

โอกาสการทำงาน : 

บัณฑิตที่สำเร็จการศึกษาหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาโภชนวิทยาและการกำหนดอาหาร สามารถประกอบอาชีพที่น่าสนใจได้หลากหลาย ทั้งในหน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชน ดังนี้

  • นักกำหนดอาหารวิชาชีพ (เมื่อสอบผ่านการขึ้นทะเบียนนักกำหนดอาหารวิชาชีพ)
  • นักโภชนาการ
  • นักวิชาการโภชนาการ เช่น นักวิชาการศึกษาด้านโภชนาการ นักวางแผนงานด้านโภชนาการ นักวิจัยด้านอาหารและโภชนาการ นักวิทยาศาสตร์ เป็นต้น
  • อาชีพอิสระอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง เช่น ผู้ประกอบธุรกิจอาหาร ผู้ให้คำปรึกษาด้านอาหารและโภชนาการ เป็นต้น

โอกาสศึกษาต่อ : 

โอกาสศึกษาต่อ : 

สาขาโภชนวิทยาสาขาโภชนศาสตร์ อาหารและโภชนาการ วิทยาการกำหนดอาหาร โภชนาการสาธารณสุข เภสัชวิทยาด้านอาหาร และกลุ่มวิทยศาสตร์สุขภาพอื่น ๆ


การสมัคร :

1) ระบบ TCAS (สมัครออนไลน์เท่านั้น)

ระบบ TCAS (สมัครออนไลน์เท่านั้น)

– รอบ 1 Portfolio และรอบ 2 Quota รับสมัครผ่านระบบ MU-TCAS ที่เว็บไซต์ https://tcas.mahidol.ac.th/

– รอบ 3 Admission รับผ่านระบบ MyTCAS ของ ทปอ. ที่เว็บไซต์ https://www.mytcas.com

ติดต่อสอบถาม

งานบริหารการศึกษาและกิจการนักศึกษา อาคารสาธารณสุขวิศิษฏ์ (อาคาร 1) ชั้น 6 ห้อง 1610 คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล 420/1 ถนนราชวิถี เขตราชเทวี กรุงเทพฯ 10400
โทรศัพท์ 0 2640 9850 และ 0 2354 8543 ต่อ 7602
Facebook: คณะสาธารณสุขศาสตร์
Website: คณะสาธารณสุขศาสตร์