- หลักสูตรสาธารณสุขศาสตรบัณฑิต สาขาสาธารณสุขชุมชน
- หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาการประกอบการเชิงนิเวศวัฒนธรรม
- หลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต
- หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเกษตรยั่งยืนเพื่อสุขภาพและการประกอบการ
หลักสูตรสาธารณสุขศาสตรบัณฑิต สาขาสาธารณสุขชุมชน
ค่าธรรมเนียมการศึกษา โดยประมาณ
ค่าธรรมเนียมการศึกษา 18,000 บาท/ภาคการศึกษา
อาชีพหลังจบ
- นักวิชาการสาธารณสุข
- นักสาธารณสุข
- นักวิชาการส่งเสริมสุขภาพ
- นักโภชนาการ
- นักวิชาการสิ่งแวดล้อม
- นักวิจัย / ผู้ช่วยนักวิจัยทางด้านสุขภาพ
หน่วยงาน
- องค์การบริหารส่วนตำบล
- องค์การบริหารส่วนจังหวัด
- สำนักงานสาธารณสุขอำเภอ
- สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด
- โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ
- โรงพยาบาลของรัฐ
- รัฐวิสาหกิจ
- ภาคเอกชน
แนวทางการศึกษาต่อ
- สาขาวิชาอาชีวอนามัยและความปลอดภัย
- สาขาวิชาบริหารสาธารณสุข
- สาขาวิชาสาธารณสุขศาสตร์ เช่น วิชาเอกโภชนวิทยา วิชาเอกอนามัยครอบครัว
- สาขาวิชาโรคติดเชื้อและวิทยาการระบาดทางการสาธารณสุข

หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการประกอบการเชิงนิเวศวัฒนธรรม
B.A. (Ecocultural Entrepreneurship)
มุ่งผลิตบัณฑิตที่มีความรู้ความสามารถในการประกอบการ เป็นผู้ประกอบการรุ่นใหม่ที่มีความคิดสร้างสรรค์ สามารถเพิ่มมูลค่าให้กับผลิตภัณฑ์ (สินค้าหรือบริการ) ด้วยคุณค่าของทุนทางวัฒนธรรมและทุนทางทรัพยากรธรรมชาติ มีความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม มีคุณลักษณะบัณฑิตที่พึงประสงค์ของมหาวิทยาลัยมหิดล รวมทั้งมีทักษะที่จำเป็นสำหรับศตวรรษที่ 21 รวมถึงสามารถทำงานร่วมกับชุมชนและประสานเครือข่ายการประกอบการได้








ค่าธรรมเนียมการศึกษา โดยประมาณ
ค่าธรรมเนียมการศึกษาเหมาจ่าย 17,000 บาท/ภาคการศึกษา
ทุนการศึกษา
- ทุนขาดแคลนทุนทรัพย์อย่างแท้จริง ระดับปริญญาตรี ทั้งรายปี/ต่อเนื่อง ทุนละ 50,000 บาทต่อปีการศึกษา
- ทุนสมาคมศิษย์เก่า ค่าเทอม & ค่าครองชีพ รายปี/ต่อเนื่อง
- ทุนจากแหล่งทุนภายนอก ค่าเทอม & ค่าครองชีพ & ค่าหอพัก ทุนละ 5,000-60,000 บาท (รายละเอียดขึ้นกับแหล่งทุน)
- ทุนนักศึกษาพิการ
- ทุนภูมิพล ทุนละ 50,000 บาท
กองทุนเงินกู้ยืมเพื่อการศึกษา (กยศ.)
นักศึกษาของหลักสูตร ศศ.บ. สาขาวิชาการประกอบการเชิงนิเวศวัฒนธรรม สามารถกู้ยืม กยศ. ได้
อาชีพหลังจบ
หลักสูตรหาโอกาสและเปิดโอกาสให้นักศึกษาของหลักสูตรไปแลกเปลี่ยนต่างประเทศ ผ่านทุนและการสนับสนุนของกองวิเทศสัมพันธ์ และโครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์ มหาวิทยาลัยมหิดล เช่น
- ทุน MU ASEAN+3 Mobility Program (ทุนแลกเปลี่ยนนักศึกษาระยะสั้นกับมหาวิทยาลัยในอาเซียน+3 ณ Tunghai University ประเทศไต้หวัน)
- ทุน Student Exchange Program ณ University of Airlangga ประเทศอินโดนีเซีย
- ทุนแลกเปลี่ยนนักศึกษาภายใต้โครงการ Undergraduate Student Mobility Program ณ
– Faculty of Economics and Business ณ University of Airlangga ประเทศอินโดนีเซีย
– School of Humanities and School of Economics and Management, Chongqing Jiaotong University ประเทศจีน - MU Backpack Scholarship มีหลายประเทศที่เข้าโครงการ
โอกาสไปต่างประเทศระหว่างเรียน
- ผู้ประกอบการ/ นักธุกิจ
- ต่อยอดธุรกิจครอบครัว
- นักการตลาด (Digital Marketing, Online Marketing, Marketing Officer – CRM, Marketing and Communications Coordinator)
- Business Developer/ Business Development
- ทำงานในภาครัฐและเอกชน
คุณสมบัติผู้สมัคร
- วุฒิการศึกษา
– สำเร็จการศึกษา ชั้นม.6
– กำลังศึกษา ชั้นม.6
– Grade 12
– Year 13
– ปวช.
– ปวส.
– กศน.
– GED
– ปริญญาตรี - แผนการศึกษา รับทุกแผนการศึกษา
- เกรดเฉลี่ยสะสม ตลอดหลักสูตร (GPAX) ≥ 2.50


ติดต่อสอบถาม
อ.สุ
โทร 08 7700 7281
นายภาสกร ภมรคุณานนท์ (คุณเบียร์)
โทร 08 6445 6406
E-mail: supaporn.kur@mahidol.edu และ Partsagkorn.par@mahidol.edu
Instagram: https://www.instagram.com/ecepmuna/
Facebook: ศศ.บ การประกอบการฯ มหิดล นครสวรรค์
Twitter: https://twitter.com/ecoculturalMUNA/
TikTok: https://www.tiktok.com/@ecoculturalmuma
หลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต
Bachelor of Nursing Science Program
หลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต โครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์ มหาวิทยาลัยมหิดล มีเป้าหมายเพื่อมุ่งพัฒนาผู้เรียนให้มีคุณลักษณะบัณฑิตที่พึงประสงค์ของมหาวิทยาลัยมหิดล และมีสมรรถนะตามมาตรฐานวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์ สามารถเรียนรู้ด้วยตนเองตลอดชีวิต รับมือกับการ เปลี่ยนแปลงทางด้านสุขภาพ และตอบสนองต่อระบบบริการสุขภาพของชุมชน
วัตถุประสงค์ของหลักสูตร เพื่อผลิตบัณฑิตที่มีความรู้ความสามารถ ดังนี้
- มีความรอบรู้ทางการพยาบาล การผดุงครรภ์ และศาสตร์ที่เกี่ยวข้อง ในการดูแลสุขภาพบุคคลทุกช่วงวัย ในระดับบุคคล ครอบครัว และชุมชน
- มีความรู้ในการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลและเทคโนโลยีสารสนเทศ ในการพัฒนาการเรียนรู้ และดูแลสุขภาวะของบุคคล และสามารถออกแบบบริการสุขภาพ เพื่อสร้างธุรกิจและเป็นผู้ประกอบการ หรือแก้ปัญหาในการประกอบวิชาชีพทางด้านสุขภาพ
- มีทัศนคติที่ดีต่อสถาบัน วิชาชีพ และสังคม ตัดสินใจเชิงจริยธรรมและแก้ปัญหาได้อย่างเหมาะสม ส่งเสริมและดำรงไว้ซึ่งขนบธรรมเนียม ประเพณี ศิลปวัฒนธรรม ค่านิยมอันดีงาม และมีจิตสาธารณะ
- มีทักษะการเรียนรู้ด้วยตนเอง พัฒนาตนเองในวิชาชีพที่ทันสมัยอย่างต่อเนื่อง คิดอย่างมีวิจารณญาณ และคิดเป็นระบบในการแก้ปัญหา และพัฒนางานในความรับผิดชอบ
- มีภาวะผู้นำ ทักษะทางสังคม สามารถทำงานเป็นทีมโดยคำนึงถึงคุณธรรม จริยธรรม
- สื่อสารกับผู้ร่วมงาน สหสาขาวิชาชีพและผู้รับบริการได้อย่างเหมาะสม
- ปฏิบัติการพยาบาล การผดุงครรภ์อย่างเป็นองค์รวม ตามมาตรฐานวิชาชีพ กฎหมายและจรรยาบรรณวิชาชีพ โดยใช้หลักฐานเชิงประจักษ์ และคำนึงถึงความแตกต่างทางสังคม วัฒนธรรม และเศรษฐกิจ 8) ผลิตงานวิจัยเชิงสถิติหรือเชิงคุณภาพ เพื่อการพัฒนางานในการดูแลสุขภาพประชาชน
ลักษณะเฉพาะของหลักสูตร
ผลิตพยาบาลวิชาชีพที่มีความสามารถในการเข้าถึง และเข้าใจบริบทของความเป็นภูมิภาคได้จริง มีแนวคิดการเป็นผู้ประกอบการ และแนวคิดในการสร้างงานวิจัยและนวัตกรรมในการแก้ปัญหาสุขภาพชุมชน ตอบสนองต่อความต้องการของส่วนภูมิภาค ในเขตภาคเหนือตอนล่างและภาคกลางตอนบน และเพิ่มโอกาสให้กับนักเรียนในภูมิภาคได้เข้าถึงการศึกษาทางการพยาบาลในระบบ มหาวิทยาลัยที่มีชื่อเสียง และมีคุณภาพ
ค่าธรรมเนียมการศึกษา โดยประมาณ
ค่าธรรมเนียมการศึกษา 25,000 บาท/ภาคการศึกษา รวมตลอดหลักสูตร 200,000 บาท
อาชีพหลังจบ
- พยาบาลวิชาชีพปฏิบัติการพยาบาลและการผดุงครรภ์ในสถานบริการสุขภาพทุกระดับ ทั้งของภาครัฐและเอกชน
- ผู้ประกอบการอิสระทั้งด้านการพยาบาล การผดุงครรภ์ และกิจการอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพภายใต้กฎหมายที่เกี่ยวข้อง
- นักวิชาการด้านสุขภาพ
- ผู้ช่วยนักวิจัย หรือนักนวัตกรรมทางสุขภาพ
แนวทางการศึกษาต่อ
ระดับปริญญาโท สาขาพยาบาลศาสตร์ และสาขาอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง เช่น การ พยาบาลสาธารณสุขศาสตร์ และเศรษฐศาสตร์สาธารณสุข ฯลฯ
คุณสมบัติผู้สมัคร
คุณสมบัติทั่วไป
ผู้สมัครเข้าศึกษาจะต้องมีคุณสมบัติทั่วไปตามที่หลักสูตรพยาบาลศาสตร์กำหนด
คุณสมบัติเฉพาะ
ผู้สมัครเข้าศึกษาในหลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต ต้องมีสุขภาพสมบูรณ์แข็งแรง และปราศจากโรค อาการของโรค หรือความพิการอันเป็นอุปสรรคต่อการศึกษา การปฏิบัติงาน และการประกอบวิชาชีพเวชกรรม/วิชาชีพการพยาบาล คุณสมบัติที่มีอุปสรรคต่อการศึกษา ดังต่อไปนี้
- มีปัญหาจิตเวชขั้นรุนแรงอันอาจเป็นอันตรายต่อตนเอง และ/หรือผู้อื่น เช่น โรคจิต (Psychotic Disorders) โรคอารมณ์ผิดปกติ (Mood Disorders) โรคประสาทรุนแรง (Severe Neurotic Disorders) โรคบุคลิกภาพผิดปกติ (Personality Disorders) โดยเฉพาะ Antisocial Personality Disorders หรือ Borderline Personality Disorders รวมถึงปัญหาทางจิตเวชอื่น ๆ อันเป็นอุปสรรคต่อการศึกษา การปฏิบัติงาน และการประกอบวิชาชีพการพยาบาล
- เป็นโรคติดต่อในระยะติดต่ออันตราย เป็นโรคไม่ติดต่อ หรือมีความพิการทางร่างกายอันเป็นอุปสรรคต่อการศึกษา ที่อาจเกิดอันตรายต่อตนเอง ต่อผู้ป่วย หรือส่งผลให้เกิดความพิการอย่างถาวรอันเป็นอุปสรรคต่อการศึกษา การปฏิบัติงาน และการประกอบวิชาชีพการพยาบาล เช่น โรคพิษสุราเรื้อรัง โรคเท้าช้างในระยะที่ปรากฏอาการเป็นที่รังเกียจแก่สังคม ติดสารเสพติดให้โทษอย่างร้ายแรง โรคเรื้อนในระยะติดต่อหรือระยะที่ปรากฏอาการเป็นที่รังเกียจแก่สังคม โรควัณโรคในระยะอันตราย โรคคุดทะราดหรือโรคผิวหนังเป็นที่รังเกียจแก่สังคม กามโรคในระยะที่มีผื่นหรือแผลตามผิวหนัง และโรคอื่น ๆ ในระยะรุนแรงที่เป็นอุปสรรคต่อการประกอบวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์
- ความผิดปกติในการเห็นภาพและการได้ยิน โดยมีอย่างน้อยข้อใดข้อหนึ่งดังต่อไปนี้
3.1 มีความผิดปกติของการมองเห็น เช่น ตาบอดสีชนิดรุนแรง
3.2 มีความผิดปกติในการได้ยินทั้งสองข้าง โดยมีระดับการได้ยินเฉลี่ยที่ความถี่ 500-2,000 เฮิรตซ์ สูงกว่า 40 เดซิเบล และความสามารถในการแยกแยะคำพูด (Speech Discrimination Score) น้อยกว่าร้อยละ 70 จากความผิดปกติของประสาท และเซลล์ประสาทการได้ยิน (Sensorineural Hearing Loss)
3.3 โรคหรือความพิการอื่น ๆ ที่แพทย์ตรวจร่างกายแล้วพบเป็นอุปสรรคต่อการศึกษา การปฏิบัติงาน และการประกอบวิชาชีพการพยาบาล - ส่วนสูงน้อยกว่า 145 เซนติเมตร ดัชนีมวลกาย มากกว่า 30.0 กิโลกรัมต่อตารางเมตร (kg/m2)
คุณสมบัติอื่น ๆ อันอาจเป็นอุปสรรคต่อการศึกษา การปฏิบัติงาน และการประกอบวิชาชีพการพยาบาลที่มิได้ระบุไว้ ให้อยู่ในดุลยพินิจของคณะกรรมการสอบคัดเลือก การคัดเลือกของคณะกรรมการให้ถือเป็นที่สิ้นสุด
ติดต่อสอบถาม
งานการศึกษา กลุ่มวิชาการและหลักสูตร โครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์ มหาวิทยาลัยมหิดล
โทร 08 6445 6406
Facebook: สถาบันพยาบาลศาสตร์ มหิดลนครสวรรค์
หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเกษตรยั่งยืนเพื่อสุขภาพและการประกอบการ
B.Sc. (Sustainable Agriculture for Health and Entrepreneurship)
หลักสูตรไทยที่เน้นทางวิชาการ แบบบูรณาการเน้นการลงมือปฏิบัติของผู้เรียนเพื่อจบไปประกอบอาชีพผู้ประกอบการเกษตร และอาชีพอื่น ๆ ด้านการเกษตร
พัฒนาศักยภาพผู้เรียนและมุ่งสร้างบัณฑิตที่มีความภาคภูมิใจ เห็นคุณค่า เกียรติและศักดิ์ศรีแห่งวิชาชีพเกษตรกรรม มีจิตสำนึก รับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม ประกอบอาชีพเกษตรกรรมยั่งยืนและสามารถพึ่งพาตนเองได้ โดยบัณฑิตจะมีความรู้ด้านวิทยาศาสตร์ เกษตรศาสตร์ มนุษยศาสตร์ และสังคมศาสตร์ รวมถึงองค์ความรู้ด้านการตลาดและการประกอบการ เพื่อให้สามารถบรรลุเป้าหมายของหลักสูตรได้คือ “SMART Farmer ผลิตได้ ขายเป็น ปลอดภัย ยั่งยืน“

ค่าธรรมเนียมการศึกษา โดยประมาณ
ค่าธรรมเนียมการศึกษา 18,000 บาท/ภาคการศึกษา รวมตลอดหลักสูตร 144,000 บาท
ทุนการศึกษา
- ทุนภายในมหาวิทยาลัยมหิดล
1) ทุนขาดแคลนทุนทรัพย์อย่างแท้จริง ระดับปริญญาตรี ทั้งรายปี/ต่อเนื่อง ทุนละ 50,000 บาทต่อปีการศึกษา
2) ทุนสมาคมศิษย์เก่า ค่าเทอม & ค่าครองชีพ รายปี/ต่อเนื่อง - ทุนจากหน่วยงานภาครัฐและเอกชน
- ทุนแลกเปลี่ยนระหว่างประเทศ
กองทุนเงินกู้ยืมเพื่อการศึกษา (กยศ.)
นักศึกษาของหลักสูตร วท.บ. สาขาวิชาการเกษตรยั่งยืนเพื่อสุขภาพและการประกอบการ สามารถกู้ กยศ. ได้
อาชีพหลังจบ
1) เจ้าของธุรกิจฟาร์มเกษตร เช่น ธุรกิจฟาร์มเกษตรอัจฉริยะ, ธุรกิจเกษตรเชิงท่องเที่ยว, ธุรกิจเกษตรเชิงนิเวศและวัฒนธรรม, ธุรกิจฟาร์มเกษตรอินทรีย์, ธุรกิจเมล็ดพันธุ์พืช, ธุรกิจอาหารแปรรูปจากผลผลิตทางการเกษตร เป็นต้น
2) นักวิชาการเกษตรในหน่วยงานภาครัฐและเอกชน
3) เจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรในหน่วยงานภาครัฐและเอกชน
4) นักวิจัยด้านวิทยาศาสตร์เกษตร เช่น นักปรับปรุงพันธุ์พืช/ พันธุ์สัตว์ เป็นต้น
5) เกษตรจังหวัด, เกษตรอำเภอ, เกษตรตำบล
6) สามารถศึกษาต่อระดับปริญญาโท
7) อาชีพอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับการเกษตร
คุณสมบัติผู้สมัคร
กลุ่มที่ 1: ผู้สำเร็จการศึกษา ม.6 หรือเทียบเท่า (กศน., GED) แผนการศึกษา วิทย์-คณิต หรือ มีผลการเรียนกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ไม่น้อยกว่า 15 หน่วยกิต และกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ไม่น้อยกว่า 10 หน่วยกิต
กลุ่มที่ 2: ผู้สำเร็จการศึกษาในระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) สาขาด้านการเกษตร
การสมัคร
จำนวนรับ 40 คน | |
รอบ 1 Portfolio | |
1.1 โครงการความสามารถพิเศษด้านเกษตรศาสตร์ | 5 |
1.2 โครงการทายาทข้าราชการ รัฐวิสาหกิจ ที่สนใจด้านการเกษตร | 5 |
รอบ 2 Quota | |
2.1 โครงการ “สานฝันทายาทเกษตรกร” | 3 |
2.2 โครงการ “สานฝันเกษตรพันธุ์ใหม่” | 3 |
2.3 โควตาสำนักงานสภาเกษตรกรจังหวัด 77 จังหวัด | 3 |
รอบ 3 Admission | 20 |
รอบ 4 รับตรงโดยคณะ | 1 |
ติดต่อสอบถาม
ดร.ศศิมา วรหาญ (อ.ปุ๊)
โทร 08 6653 9484
งานบริการการศึกษา (ประสานงานการศึกษา)
นายภาสกร ภมรคุณานนท์ (คุณเบียร์)
โทร 08 6445 6406
Facebook: SMART Farmer มหิดล นครสวรรค์