- หลักสูตรสาธารณสุขศาสตรบัณฑิต, สบ. ( Bachelor of Public Health, B.P.H. )
- หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชานวัตกรรมการจัดการสังคมและสิ่งแวดล้อม (หลักสูตรสหวิทยาการ)
- หลักสูตรวิทยาศาสตร์บัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตร์การแพทย์
- หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเกษตรศาสตร์
หลักสูตรสาธารณสุขศาสตรบัณฑิต, สบ.
Bachelor of Public Health, B.P.H.
เป็นหลักสูตรระดับปริญญาตรีที่จัดการศึกษาแบบมุ่งผลลัพธ์ (Outcome based Education) โดยใช้ปัญหา เป็นฐานในการเรียนรู้ และเน้นการเรียนรู้จากภาคทฤษฎีสู่การปฏิบัติด้วยตนเอง ร่วมกับสหวิชาชีพและภาคีเครือข่าย จนเกิดเป็นทักษะหรือสร้างองค์ความรู้เพิ่มเติมใหม่ด้วยตนเอง (Constructivism) ทำให้บัณฑิตสามารถประกอบวิชาชีพ สาธารณสุขได้อย่างมีคุณภาพสอดคล้องกับบริบทและสถานการณ์ชุมชนเพื่อส่งเสริมสุขภาวะของชุมชน ดังอัตลักษณ์ ของหลักสูตรสาธารณสุขศาสตรบัณฑิต โครงการจัดตั้งวิทยาเขตอำนาจเจริญ มหาวิทยาลัยมหิดล คือ “ฉลาดรอบรู้ บูรณาการปัญญา พัฒนาสุขภาวะชุมชน เพื่อพัฒนาคนในแถบลุ่มแม่น้ำโขงตอนล่าง”
คู่มือนักศึกษา
https://am.mahidol.ac.th/wp-content/uploads/2022/06/คู่มือนักศึกษา-หลักสูตรสาธารณสุขศาสตรบัณ.pdf
ค่าธรรมเนียมการศึกษา โดยประมาณ
ค่าธรรมเนียมการศึกษาเหมาจ่ายเทอมละ 18,000 บาท หลักสูตรปกติ 4 ปี 8 เทอม 144,000 บาท
ทุนการศึกษา
ในแต่ละปีการศึกษามหาวิทยาลัยมหิดล จะจัดสรรทุนสำหรับนักศึกษาทั้งที่มีผลการเรียนดี มีปัญหาขาดแคลน ทุนทรัพย์ และนักศึกษาที่มีผลงานเด่น เช่น ทุนภุมิพล ทุนสำหรับนักศึกษาที่ ขาดเเคลนทุนทรัพย์ อย่างเเท้จริง, มูลนิธิศิษย์เก่า มหาวิทยาลัยมหิดล ในราชูปถัมภ์ม ทุนสนับสนุน การศึกษาคุณเเม่สม สมัย รักเสรี ระดับ ป. ตรี เป็นต้น
อาชีพหลังจบ
บัณฑิตที่สําเร็จการศึกษาหลักสูตรสาธารณสุขศาสตรบัณฑิต สามารถประกอบอาชีพ ในสถานบริการทางการแพทย์ และสาธารณสุขทั้งภาครัฐและเอกชน ทั้งโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตําบล โรงพยาบาลชุมชน โรงพยาบาลทั่วไป โรงพยาบาลศูนย์ โรงพยาบาลเฉพาะทาง โรงพยาบาลเอกชน สํานักงานสาธารณสุขจังหวัด สํานักงานสาธารณสุข อําเภอ สํานักการแพทย์ของกรุงเทพมหานครหรือเขตปกครองพิเศษ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น สํานักงาน หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ สถาบันวิจัย สถาบันการศึกษา ในตําแหน่งดังต่อไปนี้
1) นักสาธารณสุข
2) นักวิเคราะห์นโยบายและแผน
3) นักวิชาการสุขาภิบาล
4) นักวิชาการส่งเสริมสุขภาพ
5) นักบริหารงานสาธารณสุข
6) ผู้ช่วยนักวิจัยด้านสาธารณสุข
7) บุคลากรอื่นๆ ด้านสาธารณสุข
8) ผู้ประกอบการธุรกิจส่วนตัวด้านสาธารณสุข
การสมัคร
หลักสูตรปกติ เปิดรับในระบบ TCAS โดยใช้คะแนน GAT หรือ PAT2
A-level; 61คณิตศาสตร์1,65-เคมี,66-ชีววิทยา,82-ภาษาอังกฤษ
ติดต่อสอบถาม
โทร 0 2849 6556 หรือ 09 4553 8236
Facebook: หลักสูตรสาธารณสุขศาสตรบัณฑิต, สบ.
Website: หลักสูตรสาธารณสุขศาสตรบัณฑิต, สบ.


หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชานวัตกรรมการจัดการสังคมและสิ่งแวดล้อม (หลักสูตรสหวิทยาการ)
Bachelor of Arts Program in Innovation for Social and Environmental Management (Interdisciplinary Curriculum)
รู้จักหลักสูตรสนัตกรรมการจัดการสังคมและสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยมหิดล
ปีที่ 1 :
จิตวิทยาสังคม,
นิเวศวิทยาและความหลากหลายทางชีวภาพ,
ภาษาอังกฤษ,
หลักเศรษฐศาสตร์,
มนุษย์ศาสตร์กับสังคม,
บูรณาการสุขภาพและสิ่งแวดล้อม
ปีที่ 2 :
ทักษะการรู้สารสนเทศ,
วิทยาศาสตร์ประยุกต์ด้านสังคมและสิ่งแวดล้อม,
หลักการเทคโนโลยีภูมิสารสนเทศ,
การใช้โปรแกรมประยุกต์เพื่อการจัดการ,
การเปลี่ยนแปลงทางประชากรและสังคม,
หลักการพัฒนาชุมชน,
หลักการตลาด,
หลักการเงินและบัญชี,
หลักการจัดการสมัยใหม่
ปีที่ 3 :
ระเบียบวิธีวิจัยทางสังคมศาสตร์,
สถิติเพื่อการวิจัยทางสังคมศาสตร์,
การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม,
เทคโนโลยีการสื่อสารสังคม,
ความคิดสร้างสรรค์และนวัตกรรมเทคโนโลยี,
ความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมขององค์กร,
การประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม,
สิ่งแวดล้อมศึกษาเพื่อการอนุรักษ์,
ธุรกิจเพื่อสังคม,
การตลาดดิจิทัล,
การจัดการโลจิสติกส์และห่วงโซ่อุปทาน
ปีที่ 4 :
สัมมนาด้านนวัตกรรมสังคมและสิ่งแวดล้อม,
โครงการด้านความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม,
สหกิจศึกษา
ค่าธรรมเนียมการศึกษา โดยประมาณ
เหมาจ่ายภาคการศึกษาละ 17,000 บาท/คน
ทุนการศึกษา
- กองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา (กยศ.)
- ทุนจากแหล่งทุนภายในมหาวิทยาลัย เช่น ทุนขาดแคลนทุนทรัพย์ ทุนสมาคมศิษย์เก่า ทุนภูมิพล เป็นต้น
- ทุนจากแหล่งทุนภายนอกมหาวิทยาลัย
อาชีพหลังจบ
ภาครัฐ หรือในกำกับของรัฐ
- นักวิชาการพัฒนาชุมชนปฏิบัติการ (พัฒนากร)
- นักพัฒนาสังคม
- เจ้าพนักงานพัฒนาสังคม
- นักวิจัย/ผู้ช่วยวิจัย/เจ้าหน้าที่วิจัย ปฏิบัติงานวิจัยด้านสังคมศาสตร์/ด้านสิ่งแวดล้อม
ภาคเอกชน และอื่น ๆ
- เจ้าหน้าที่กิจกรรมองค์กร (Corporate Social Responsibility: CSR)
- เจ้าหน้าที่พัฒนาธุรกิจและนวัตกรรม (สำนักพัฒนาธุรกิจและนวัตกรรม)
- นวัตกรสังคม (Social Innovator)
- นักกิจการเพื่อสังคม
- เจ้าหน้าที่ชุมชนสัมพันธ์
- เจ้าหน้าที่ปฏิบัติการกิจกรรมเพื่อสังคม
- ผู้ประกอบการ
- นักวิจัย/ผู้ช่วยวิจัย/เจ้าหน้าที่วิจัย ปฏิบัติงานวิจัยด้านสังคมศาสตร์
ศึกษาต่อในระดับบัณฑิตศึกษาทั้งในและต่างประเทศ ทางด้านสังคมศาสตร์ สิ่งแวดล้อม บริหารธุรกิจ การจัดการ และประชากรศาสตร์ ตลอดจนสาขาอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง
การรับสมัคร
รับสมัครในระบบการคัดเลือกกลางบุคคลเข้าศึกษาในสถาบันอุดมศึกษา (TCAS)
คุณสมบัติผู้เข้าศึกษา
- ผู้สำเร็จการศึกษา หรือ กำลังศึกษา ม.6 หรือเทียบเท่า ทุกแผนการศึกษา
- ผู้สำเร็จการศึกษา หรือ กำลังศึกษา ปวช. สาขาที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ พาณิชยกรรม, บริหารธุรกิจ, เทคโนโลยี
- เกรดเฉลี่ยสะสมตลอดหลักสูตร (GPAX) : ≥ 2.00
ติดต่อสอบถาม
โครงการจัดตั้งวิทยาเขตอำนาจเจริญ มหาวิทยาลัยมหิดล
259 หมู่ 13 ถ.ชยางกูร ต.โนนหนามแท่ง อ.เมือง จ.อำนาจเจริญ 37000
โทร. 0 4552 3211 หรือ 09 8163 2280
Facebook: หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชานวัตกรรมการจัดการสังคมและสิ่งแวดล้อม(หลักสูตรสหวิทยาการ)
Website: โครงการจัดตั้งวิทยาเขตอำนาจเจริญ












หลักสูตรวิทยาศาสตร์บัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตร์การแพทย์
Bachelor of Science (Medical Science)
ติดต่อสอบถาม
โครงการจัดตั้งวิทยาเขตอำนาจเจริญ มหาวิทยาลัยมหิดล
259 หมู่ 13 ถ.ชยางกูร ต.โนนหนามแท่ง อ.เมือง จ.อำนาจเจริญ 37000
โทร. 0 4552 3211
E-mail : medscience.muam@gmail.com
Facebook: หลักสูตรวิทยาศาสตร์การแพทย์ มหาวิทยาลัยมหิดล วิทยาเขตอำนาจเจริญ


หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเกษตรศาสตร์
Bachelor of Science (Agriculture)
ความยั่งยืนของการเกษตรมาจากสุขภาพที่ดีของเกษตรกร ความปลอดภัยของผลผลิตทางเกษตร และความสมดุลของระบบนิเวศเกษตร ภายใต้การประยุกต์ใช้วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และภูมิปัญญาท้องถิ่นที่เหมาะสม โดยยึดหลักปรัชญาการศึกษา (Educational Philosophy) ของมหาวิทยาลัยมหิดล โดยจัดการศึกษาที่เน้นผลสัมฤทธิ์ของผู้เรียน (Outcome-based Education) เน้นผู้เรียนเป็นสาคัญ (Learning Centered Education) และ ให้ผู้เรียนสามารถสร้างความรู้ได้ด้วยตนเอง (Constructivism) เพื่อให้ได้บัณฑิตที่มีทักษะทางการเกษตร สามารถแก้ไขปัญหาและ/หรือ พัฒนาอย่างเป็นระบบ และมีแนวคิดแบบผู้ประกอบการโดยยึดหลักจรรยาบรรณทางวิชาการ ดังอัตลักษณ์บัณฑิตสาขาเกษตรศาสตร์ โครงการจัดตั้งวิทยาเขตอานาจเจริญ มหาวิทยาลัยมหิดล คือ “เป็นงาน ชาญวิชา พัฒนาการเกษตรเพื่อสุขภาวะ” และมีคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของมหาวิทยาลัยมหิดล
วัตถุประสงค์ของหลักสูตร
วัตถุประสงค์ของหลักสูตรมีการพัฒนาจากเกณฑ์มาตรฐานและความต้องการของผู้ที่มีส่วนได้ส่วนเสีย และความคาดหวังของผู้ใช้บัณฑิต พร้อมทั้งได้นาทักษะที่จาเป็นในศตวรรษที่ ๒๑ ค่านิยมของมหาวิทยาลัยมหิดล (MAHIDOL) และโครงการจัดตั้งวิทยาเขตอานาจเจริญ (MUAM) เครือข่ายการประกันคุณภาพมหาวิทยาลัยอาเซียน (ASEAN University Network Quality Assurance: AUN-QA) และคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของมหาวิทยาลัยมหิดลมาร่วมพิจารณา จึงกาหนดวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาผู้เรียนให้มีความสามารถดังนี้
วัตถุประสงค์ของหลักสูตร (Program Objectives) จัดการเรียนการสอนเพื่อผลิตบัณฑิตที่มีความสามารถและคุณสมบัติ ดังนี้
- มีความรู้แจ้งและสามารถประยุกต์ใช้ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีทางการเกษตรในการผลิตพืชและสัตว์ให้เป็นไปตามมาตรฐานความปลอดภัยของผู้ผลิต ผู้บริโภค และระบบนิเวศเกษตร
- มีความรู้ลึกในการใช้กระบวนการวิจัยเพื่อแก้ปัญหาหรือพัฒนาทางการเกษตรได้อย่างเหมาะสมตามสภาพระบบนิเวศเกษตร โดยยึดหลักคุณธรรม จริยธรรม และจรรยาบรรณทางวิชาการ
- เขียนแผนธุรกิจและประกอบการธุรกิจสินค้าเกษตรปลอดภัยได้
- สื่อสาร และแลกเปลี่ยนเรียนรู้ กับบุคคลและชุมชนได้อย่างเหมาะสมกับสถานการณ์และบริบทพื้นที่
- ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
- ปฏิบัติตามกฎระเบียบและข้อบังคับต่าง ๆ ขององค์กรและสังคม
- ทางานเป็นทีมร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีประสิทธิภาพตามบทบาทและหน้าที่ ๘) มีความรู้กว้างและสามารถเรียนรู้และพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง
รู้จักหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเกษตรศาสตร์
สถานที่จัดการเรียนการสอน
- มหาวิทยาลัยมหิดล วิทยาเขตศาลายา จังหวัดนครปฐม
- โครงการจัดตั้งวิทยาเขตอานาจเจริญ มหาวิทยาลัยมหิดล จังหวัดอานาจเจริญ
- หน่วยงานหรือสถานประกอบการทางการเกษตรทั้งภาครัฐและเอกชนในพื้นที่จังหวัดอานาจเจริญและจังหวัดใกล้เคียง
ทุนการศึกษา
ไม่มี
ผลลัพธ์การเรียนรู้ระดับหลักสูตร (Program–level Learning Outcomes: PLOs)
PLO1 ประพฤติตนอย่างมีคุณธรรม จริยธรรม และทางานเป็นทีมในการปฏิบัติงานทางการเกษตร
PLO2 ใช้ความรู้พื้นฐานด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และภูมิปัญญาท้องถิ่นที่เกี่ยวข้องกับการเกษตรเพื่อสุขภาวะได้ถูกต้องตามหลักวิชาการ
PLO3 สร้างผลผลิตและผลิตภัณฑ์ทางการเกษตรภายใต้มาตรฐานการผลิตสินค้าเกษตรปลอดภัย
PLO4 ปฏิบัติการวิจัยอิสระเพื่อให้ได้ข้อสรุปเชิงวิจัยด้านการเกษตรเพื่อสุขภาวะบนพื้นฐานจรรยาบรรณการวิจัย
PLO5 แสดงความเป็นผู้ประกอบการทางการเกษตร ที่มุ่งเน้นสินค้าหรือบริการด้านการเกษตรเพื่อสุขภาวะบนพื้นฐานคุณธรรมและจริยธรรม ๖) PLO6 สื่อสารความรู้ทางการเกษตร ทั้งในรูปแบบที่เป็นทางการและไม่เป็นทางการ
อาชีพหลังจบ
บัณฑิตที่สาเร็จการศึกษาหลักสูตร วิทยาศาสตรบัณฑิต (เกษตรศาสตร์) สามารถประกอบอาชีพ ดังต่อไปนี้
- ผู้ประกอบการสินค้าเกษตรปลอดภัย
- งานราชการ เช่น นักวิชาการเกษตร นักวิทยาศาสตร์ นักปฏิบัติการทางการเกษตร นักวิจัย/ผู้ช่วยวิจัย นักส่งเสริมการเกษตร และ นักวิชาการสัตวบาล
- งานเอกชน เช่น นักวิชาการเกษตร พนักงานฝ่ายผลิต พนักงานส่งเสริมการเกษตร เจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานทางการเกษตร พนักงานส่งเสริมการขาย และเจ้าหน้าที่ประจาห้องปฏิบัติการ
- งานรัฐวิสาหกิจ เช่น พนักงานส่งเสริม (ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร) พนักงานสัตวบาล
- งานในองค์การบริหารส่วนท้องถิ่น ได้แก่ องค์การบริหารส่วนตาบล และ องค์การบริหารส่วนจังหวัด เช่น นักวิชาการเกษตร