Skip to content
Home » คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล

คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล


หลักสูตรการแพทย์แผนไทยประยุกต์บัณฑิต (Bachelor of Applied Thai Traditional Medicine Program)

การแพทย์แผนไทยประยุกต์เป็นศาสตร์และศิลป์ที่นำเอาภูมิปัญญาด้านการแพทย์ดั้งเดิมมาใช้ในการดูแลสุขภาพ ป้องกันโรค ฟื้นฟูสุขภาพ และสร้างเสริมสุขภาพอย่างเป็นองค์รวม ควบคู่กับความรู้ทางวิทยาศาสตร์การแพทย์พื้นฐาน โดยมีเป้าหมายสูงสุดเพื่อให้ประชาชนมีสุขภาพกายและใจที่แข็งแรง ประกอบไปด้วยองค์ความรู้ด้านเวชกรรมแผนไทยในการตรวจวินิจฉัย เภสัชกรรมแผนไทยคือการปรุงยา ผลิตยาและผลิตภัณฑ์จากสมุนไพร หัตถเวชกรรมแผนไทยคือการบำบัดรักษาโรคด้วยการนวดไทยแบบราชสำนัก และหัตถการต่าง ๆ และผดุงครรภ์คือศาสตร์ในการดูแลหญิงตั้งครรภ์ หญิงหลังคลอด และทารกแรกเกิด

หลักสูตรการแพทย์แผนไทยประยุกต์บัณฑิต เป็นหลักสูตรที่ทันสมัยและได้รับการรับรองมาตรฐานการจัดการศึกษาตามเกณฑ์ AUN-QA ซึ่งเป็นมาตรฐานการศึกษาในระดับสากล มุ่งเน้นการพัฒนาการจัดการเรียนการสอนเพื่อหล่อหลอมให้เป็นบัณฑิตที่มีความรู้ความสามารถในการดูแลผู้ป่วย มีทักษะที่จำเป็นในการดำเนินชีวิตและการทำงาน (Soft skill) มีสมรรถนะความเป็นผู้ประกอบการ และความรู้ในการทำงานวิจัย เพื่อบูรณาการงานการแพทย์แผนไทยให้อยู่ในระบบบริบาลสุขภาพได้อย่างยั่งยืน หลักสูตรฯ มีความเพียบพร้อมไปด้วยคณาจารย์ที่มีความเชี่ยวชาญในแขนงต่าง ๆ และมีสิ่งสนับสนุนการเรียนรู้ที่ทันสมัย ซึ่งจะช่วยส่งเสริมให้ผู้เรียนเกิดการพัฒนาศักยภาพอย่างเต็มที่

สาขาวิชานี้ไม่เหมาะกับผู้ที่มีแขนขาผิดรูป มีน้ำหนักตัวมากเกินไป ตาบอด ตาพร่องสีขั้นรุนแรง หรือมีโรคประจำตัว
ภาวะผิดปกติเกี่ยวกับระบบกล้ามเนื้อและกระดูก คะแนนที่ใช้สอบคัดเลือก ได้แก่ GPAX, TGAT, TPAT1 และ A-level

แนะนำการเรียน

Clip video : ( youtube )

  • เรียนการแพทย์แผนไทยประยุกต์ศิริราชเป็นยังไง ตอนที่ 1 [by We Mahidol]
  • Dream Catcher : แพทย์แผนไทยประยุกต์ Playlists [by Mahidol]
  • เรียนการแพทย์แผนไทยประยุกต์ศิริราชเป็นยังไง ตอนที่ 2 Q&A [by We Mahidol]

การสมัคร

หลักสูตรปกติ เปิดรับในระบบ TCAS โดยใช้คะแนน GPAX, TGAT, TPAT1 และ A-level

ค่าธรรมเนียมการศึกษา โดยประมาณ

แบบเหมาจ่าย 25,000 บาท/ภาคการศึกษาปกติ และ 12,500 บาท/ภาคฤดูร้อน รวมค่าธรรมเนียมการศึกษาตลอดหลักสูตร 212,500 บาท

ทุนการศึกษา

  • กองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา (กยศ.)
  • กองทุนเงินกู้ยืมเพื่อการศึกษาที่ผูกกับรายได้ในอนาคต (กรอ.)
  • ทุนอุดหนุนการศึกษา คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล
  • ทุนการศึกษามหาวิทยาลัยมหิดล สำหรับนักศึกษาที่ขาดแคลนทุนทรัพย์อย่างแท้จริง ระดับปริญญาตรี
  • ทุนส่งเสริมการศึกษา “ภูมิพล” มหาวิทยาลัยมหิดล
  • ทุนการศึกษาสมาคมศิษย์เก่า มหาวิทยาลัยมหิดล
  • แหล่งทุนภายนอกอื่น

อาชีพหลังจบ

  • ปฏิบัติงานในตำแหน่งแพทย์แผนไทยประยุกต์ / แพทย์แผนไทยในสถานพยาบาลทุกระดับ และโรงงานผลิตยาและผลิตภัณฑ์จากสมุนไพร           
  • ผู้ประกอบการทางการแพทย์แผนไทยประยุกต์ ได้แก่ คลินิกการแพทย์แผนไทยประยุกต์ โรงงานผลิตยาและผลิตภัณฑ์จากสมุนไพร ร้านขายยาสมุนไพร และกิจการอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับการดูแลสุขภาพด้วยศาสตร์การแพทย์แผนไทย
  • นักวิชาการ นักวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาองค์ความรู้ทางการแพทย์แผนไทย

ติดต่อสอบถาม

ผู้ประสานงาน : คุณดนู คงอยู่ (งานบริการการศึกษา)
ที่อยู่ : สถานการแพทย์แผนไทยประยุกต์ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล ตึกอดุลยเดชวิกรม ชั้น 13 โรงพยาบาลศิริราช เลขที่ 2 ถนนวังหลัง แขวงศิริราช เขตบางกอกน้อย กรุงเทพฯ 10700
โทรศัพท์ : 0 2419 8826 ถึง 7
E-mail : edu.thaimed07@gmail.com
Website : https://www.si.mahidol.ac.th/th/department/thaimed
Facebook : แพทย์แผนไทยประยุกต์ศิริราช มหาวิทยาลัยมหิดล
Facebook : สโมสรนักศึกษาแพทย์แผนไทยประยุกต์ศิริราช
Facebook : ค่ายเส้นทางสู่แพทย์แผนไทยประยุกต์ศิริราช
Instagram : appliedthaimed_mahidol
Twitter : appliedthaimed_mahidol
Openchat : shorturl.at/ksvI1


หลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิ (Doctor of Medicine Program)

คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล เป็นโรงเรียนแพทย์แห่งแรกของประเทศไทย มุ่งผลิตบัณฑิตให้บริการทางการแพทย์และสาธารณสุข ค้นคว้าวิจัย เพื่อสร้างและพัฒนาองค์ความรู้และวิทยาการอย่างต่อเนื่อง โดยยึดประโยชน์สุขของประชาชนทุกระดับเป็นจุดหมายสูงสุด ได้พัฒนาหลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิตอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้ทันสมัยและรองรับความเปลี่ยนแปลงของโลกในยุค Digital Transformation และตอบโจทย์ผู้เรียน เน้นผลิตแพทย์ “เก่ง ดี มีความรู้ข้ามศาสตร์” สนับสนุนให้นักศึกษาแพทย์ที่มีศักยภาพสูงสามารถเลือกเรียนสาขาอื่นที่สนใจในระดับปริญญาโทควบคู่ไปในระหว่างเรียนแพทย์ได้ จนอาจสำเร็จการศึกษาได้ 2 ปริญญา โดยใช้เวลาเรียน 6 ปีเท่าเดิม เรียกหลักสูตรใหม่นี้ว่า “Hybrid Program 61 สนับสนุนให้นักศึกษาแพทย์ที่มีศักยภาพสูงสามารถเลือกเรียนสาขาอื่นที่สนใจในระดับปริญญาโทควบคู่ไปในระหว่างเรียนแพทย์ได้ จนอาจสำเร็จการศึกษาได้ 2 ปริญญา โดยใช้เวลาเรียน 6 ปีเท่าเดิม โดยมีความร่วมมือกับหลักสูตรปริญญาโท จากคณะ/วิทยาลัยอื่นๆ ของมหาวิทยาลัยมหิดล ดังนี้

  1. คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล จำนวน 3 หลักสูตร
    หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการศึกษาวิทยาศาสตร์สุขภาพ (หลักสูตรภาคพิเศษ)
    หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการศึกษาวิทยาศาสตร์สุขภาพ (หลักสูตรนานาชาติ)
    หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาชีวการออกแบบทางการแพทย์ (หลักสูตรนานาชาติ)
  2. คณะสาธารณสุขศาสตร์ จำนวน 2 หลักสูตร
    หลักสูตรสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต (หลักสูตรภาคพิเศษ)
    หลักสูตรสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต (หลักสูตรนานาชาติ)
  3. คณะวิศวกรรมศาสตร์ จำนวน 2 หลักสูตร
    หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดกาารเทคโนโลยีสารสนเทศ (หลักสูตรภาคพิเศษ)
    หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน (หลักสูตรภาคพิเศษ)
  4. วิทยาลัยการจัดการ จำนวน 1 หลักสูตร
    หลักสูตรการจัดการมหาบัณฑิต สาขาการจัดการธุรกิจสุขภาพ (หลักสูตรภาคพิเศษ)

ดูรายละเอียดได้ที่ https://www.sieduit.org/education/pi-shaped-graduate/

แนะนำการเรียน

  • เรียนคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล ม.มหิดล เป็นยังไง ตอนที่ 1 [by We Mahidol]
  • เรียนคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล ม.มหิดล เป็นยังไง ตอนที่ 2 Q&A [by We Mahidol]
  • รีวิวหมดเปลือกสอบเข้าแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล
  • 50 Facts About ชีวิตนักศึกษาแพทย์ศิริราช โดยพี่หมอนัต จิรายุ [by We Mahidol]
  • แพทย์ศิริราชเรียนโหดจริงหรือ!? l Behind The กาวน์

การสมัคร

  • TCAS รอบ 1
    • โครงการโอลิมปิกวิชาการ รับ 70 คน
    • โครงการความสามารถพิเศษด้านภาษาอังกฤษ รับ 20 คน
    • โครงการรับบุคคลจบปริญญาตรี รับ 10 คน
  • TCAS รอบ 3 ผ่าน กสพท  รับ 192 คน

รายละเอียดเพิ่มเติม https://www.sieduit.org/education/

ค่าธรรมเนียมการศึกษา โดยประมาณ

ภาคการศึกษาละ 30,000 บาท ตลอดหลักสูตร 360,000 บาท

ทุนการศึกษา

  • ทุนคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาลสำหรับนักศึกษาเรียนดี
  • ทุนคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาลสำหรับนักศึกษาที่มีปัญหาด้านเศรษฐานะ
  • ทุนมหาวิทยาลัยมหิดล
  • ทุนศึกษาแลกเปลี่ยนต่างประเทศ
  • ทุนภายนอก

อาชีพหลังจบ

  • รับราชการในโรงพยาบาล สถานพยาบาล หรือหน่วยงานการแพทย์ อื่นๆ ที่จัดขึ้นเพื่อบริการประชาชนและเจ้าหน้าที่           
  • ศึกษาเพิ่มเติมเป็นแพทย์เฉพาะทางสาขาต่างๆ หรือศึกษาต่อในระดับปริญญาโท-เอก
  • ทำงานในโรงพยาบาลเอกชน
  • เปิดคลินิกส่วนตัวรักษาโรค

ติดต่อสอบถาม

โทรศัพท์ : 0 2419 6410 – 11 และ 0 2411 4142
E-mail : sieducation@mahidol.ac.th


หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชากายอุปกรณ์ (Bachelor of Science Program in Prosthetics and Orthotics)

หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชากายอุปกรณ์ แห่งเดียวในประเทศไทย เปิดสอนในหลักสูตรปกติและหลักสูตรนานาชาติ เพื่อผลิตบัณฑิตที่มีความรู้ความสามารถด้านการประดิษฐ์ ดัดแปลง และพัฒนาอุปกรณ์สำหรับผู้พิการหรือผู้ที่มีปัญหาทางการเคลื่อนไหวให้สามารถดำรงชิวิตในสังคมได้ด้วยตนเอง

นักกายอุปกรณ์เป็นวิชาชีพใหม่ที่ประเทศยังต้องการอีกมากซึ่งจะต้องมีความรู้ทางทฤษฎีและการปฏิบัติการทางคลินิกเพื่อทราบถึงเครื่องมือ วัสดุ อุปกรณ์ การทำงานและการใช้ประโยชน์ของอุปกรณ์ชนิดต่างๆ ที่เหมาะกับผู้ป่วย การออกแบบ การประดิษฐ์ จัดทำสำหรับผู้ป่วย คณะฯ ผู้ที่จบหลักสูตรนี้มีสิทธิ์ในการประกอบโรคศิลปะ สามารถปฏิบัติงานในโรงพยาบาลและสถานพยาบาลต่างๆ ได้

แนะนำการเรียน

  • เรียนโรงเรียนกายอุปกรณ์สิรินธรเป็นยังไง ตอนที่ 1 [by We Mahidol]
  • เรียนโรงเรียนกายอุปกรณ์สิรินธรเป็นยังไง ตอนที่ 2 [by We Mahidol]
  • นักกายอุปกรณ์ : Proud to be [by Mahidol]
  • ศิริราช 360 องศา [by Mahidol] นักกายอุปกรณ์ – คืนชีวิตที่สมบูรณ์ให้คนพิการ โรงเรียนกายอุปกรณ์สิรินธร

การสมัคร

  • รอบที่ 1 Portfolio
  • รอบที่ 2 Quota
  • รอบที่ 3 Admission

รายละเอียดเพิ่มเติม https://sites.google.com/mahidol.edu/sspoundergraduateeducation/program/thai-program?authuser=0

ค่าธรรมเนียมการศึกษา โดยประมาณ

ภาคการศึกษาละ 21,000 บาท ตลอดหลักสูตร 168,000 บาท

ทุนการศึกษา

  • ทุนคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล
  • ทุนมหาวิทยาลัยมหิดล

อาชีพหลังจบ

  • นักกายอุปกรณ์
  • อาจารย์
  • นักวิจัย
  • นักวิชาการประจำองค์กรรัฐและเอกชน

ติดต่อสอบถาม

โทรศัพท์ : 0 2419 3441
E-mail : sisspoedu@mahidol.edu
Website : https://sites.google.com/mahidol.edu/sspoundergraduateeducation/program/thai-program?authuser=0


หลักสูตรเทคโนโลยีบัณฑิต สาขาเทคโนโลยีการศึกษาแพทยศาสตร์ (Bachelor of Technology Program in Medical Educational Technology)

หลักสูตรจัดการเรียนการสอนเกี่ยวกับด้านการออกแบบ ผลิต และพัฒนาสื่อที่ใช้ในการศึกษาทางการแพทย์และวิทยาศาสตร์สุขภาพ ผู้เรียนจะได้เรียนการผลิตสื่อทางการแพทย์เป็นฐานเหมือนกันทุกคน โดยเน้นการปฏิบัติจริง ทั้งการวาดภาพ ถ่ายภาพ ผลิตวีดิทัศน์ หุ่นจำลอง การออกแบบกราฟิก มัลติมีเดีย สื่อโลกเสมือนจริงทางดิจิทัล และเทคโนโลยีสมัยใหม่รูปแบบต่าง ๆ และเรียนวิชาทางด้านพื้นฐานการแพทย์และวิทยาศาสตร์เพื่อให้มีความรู้ ความเข้าใจที่ถูกต้องในการผลิตสื่อจากคณาจารย์ที่เชี่ยวชาญเฉพาะทางทั้งด้านการแพทย์ ศิลปะ สื่อ เทคโนโลยีและสารสนเทศ รวมถึงได้เรียนรู้ทักษะผู้ประกอบการ การได้เรียนรู้สื่อหลายประเภท มีความรู้เฉพาะทางด้านการแพทย์และวิทยาศาสตร์สุขภาพ สามารถผสมผสานองค์ความรู้ ทักษะ ความชำนาญ ความรู้เท่าทันด้านต่างๆ เข้าด้วยกัน โดยใช้ความคิดสร้างสรรค์และทักษะที่จำเป็นได้อย่างถูกต้องและมีประสิทธิภาพ ตอบโจทย์การทำงานในยุคปัจจุบัน ตลอดจนความต้องการด้านสื่อทางการแพทย์ สื่อสุขภาพ และสาธารณสุขของประเทศ ช่วยยกระดับและเพิ่มประสิทธิผลการทำงานอาชีพในอนาคตอย่างแท้จริง

บัณฑิตที่สำเร็จการศึกษาจากหลักสูตรเทคโนโลยีบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีการศึกษาแพทยศาสตร์
สามารถประกอบอาชีพ โดยอยู่ในสังกัดโรงพยาบาล สถานพยาบาล สถาบันการศึกษาที่มีโรงเรียนแพทย์
หรือคณะที่มีการจัดการเรียนการสอนด้านการแพทย์ วิทยาศาสตร์สุขภาพ และอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องในตำแหน่งดังนี้ นักวิชาการโสตทัศนศึกษา นักเทคโนโลยีการศึกษา นักเวชนิทัศน์ (ปฏิบัติงานผลิตสื่อเพื่อสนับสนุนการเรียนการสอน การบริการวิชาการ หรือกิจกรรมทางการแพทย์) เจ้าหน้าที่เทคนิเชียนจักษุ ช่างภาพการแพทย์ หรือปฏิบัติงานในองค์กร บริษัทเอกชนด้านสื่อประเภทต่าง ๆ ทั้งที่เกี่ยวข้องกับทางการแพทย์และวิทยาศาสตร์สุขภาพ หรือสื่อเชิงสร้างสรรค์ทั่วไป เป็นต้น ทั้งในภาครัฐ ภาคเอกชน และประกอบอาชีพอิสระ

บัณฑิตที่สําเร็จการศึกษา สามารถศึกษาต่อในระดับบัณฑิตศึกษาสาขาเทคโนโลยีการศึกษา หรือสาขาอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องทางด้านสื่อ เทคโนโลยีการศึกษา เทคโนโลยีสารสนเทศ นิเทศศาสตร์ นวัตกรรมดิจิทัล มัลติมีเดีย แอนิเมชัน และศิลปกรรม ทั้งในประเทศและต่างประเทศ โดยการศึกษาในต่างประเทศ สามารถเลือกศึกษาในสาขาวิชาที่สนใจ เช่น Biomedical Communications, Scientific Illustration, และ Medical Visualization

ผู้สมัครต้องไม่มีความผิดปกติต่างๆ ทางร่างกาย เช่น ตาบอด ตาบอดสี หูหนวก มีความพิการของมือ แขน หรือขา เป็นต้น

แนะนำการเรียน

  • ช่อง youube สาขา

  • วิดีทัศน์แนะนำหลักสูตรใหม่ ปีการศึกษา 2565 ของสาขาวิชาเทคโนโลยีการศึกษาแพทยศาสตร์
  • วิดีทัศน์แนะนำสาขาวิชาเทคโนโลยีการศึกษาแพทยศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล
  • เรียนเทคโนโลยีการศึกษาแพทยศาสตร์ ศิริราช เป็นยังไง ตอนที่ 1 [by We Mahidol]
  • เรียนเทคโนโลยีการศึกษาแพทยศาสตร์ ศิริราช เป็นยังไง ตอนที่ 2 Q&A [by We Mahidol]
  • อาชีพ นักผลิตสื่อทางการแพทย์ | MU Careers Service

การสมัคร

  • รอบที่ 1 Portfolio
  • รอบที่ 2 Quota
  • รอบที่ 3 Admission

รายละเอียดเพิ่มเติม https://www.facebook.com/sietmu

ค่าธรรมเนียมการศึกษา โดยประมาณ

ภาคการศึกษาละ 21,000 บาท ตลอดหลักสูตร 168,000 บาท

ทุนการศึกษา

  • ทุนคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล
  • ทุนมหาวิทยาลัยมหิดล

อาชีพหลังจบ

ผู้ที่สำเร็จการศึกษาของหลักสูตร สามารถประกอบอาชีพได้หลากหลาย เช่น นักวิชาการ นักพัฒนาสื่อที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาด้านการแพทย์ วิทยาศาสตร์สุขภาพ และสื่อเชิงสร้างสรรค์ทั่วไป ปฏิบัติงานในองค์กรได้ทั้งภาครัฐ เอกชน และประกอบอาชีพอิสระ (Freelance) หรือเป็นเจ้าของธุรกิจ โดยการปฏิบัติงานในโรงพยาบาล สถานพยาบาล สถาบันการศึกษาที่มีโรงเรียนแพทย์ หรือคณะที่มีการจัดการเรียนการสอนด้านการแพทย์ วิทยาศาสตร์สุขภาพ และอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง สามารถดำรงตำแหน่งดังนี้

  • นักวิชาการโสตทัศนศึกษา นักวิชาการศึกษา นักเทคโนโลยีการศึกษา
  • เทคนิเชียนด้านเวชนิทัศน์ นักเวชนิทัศน์ ช่างภาพการแพทย์
  • ครู อาจารย์ (สอนทางด้านด้านการออกแบบ-ผลิตสื่อ ศิลปะ เทคโนโลยี และเทคโนโลยีการศึกษา) ปฏิบัติงานในองค์กร บริษัทเอกชนที่เกี่ยวข้องด้านสื่อ ในตำแหน่งต่าง ๆ ดังนี้
    – นักวาดภาพ ช่างภาพ ช่างถ่ายและตัดต่อวิดีโอ นักออกแบบกราฟิก 2D–3D สื่อสิ่งพิมพ์ มัลติมีเดีย แอนิเมชัน สื่อโฆษณา ครีเอทีฟ นักสร้างสรรค์เนื้อหา นักสื่อสารการตลาด นักออกแบบเว็บไซต์ แอปพลิเคชัน สื่อสังคมออนไลน์ และนักพัฒนาหุ่นจำลอง

ติดต่อสอบถาม

โทรศัพท์ : 0 2419 8987, 0 2419 5524
E-mail : sietmu@mahidol.ac.th, sietmu@hotmail.com