หลักสูตรเภสัชศาสตรบัณฑิต
เปิดสอนในหลักสูตรไทย มุ่งผลิตบัณฑิตที่เป็นเภสัชกรที่มีความรู้ ความสามารถที่เหมาะสมต่อการปฏิบัติงานในฐานะเภสัชกร มีคุณธรรม จริยธรรม ประพฤติตนตามจรรยาบรรณแห่งวิชาชีพเภสัชกรรม และมีทักษะการทำงานที่หลากหลายทั้งทางด้านเภสัชกรรมอุตสาหการ และด้านการบริบาลทางเภสัชกรรมตามเกณฑ์มาตรฐานการประกอบวิชาชีพเภสัชกรรม
ปีที่ 1 : ศึกษาเกี่ยวกับรายวิชาพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ ชีววิทยา เคมี สถิติ ฟิสิกส์ และวิชาศึกษาทั่วไป ได้แก่ วิชา ภาษาอังกฤษระดับต่างๆ ,ศิลปะการใช้ภาษาไทยเพื่อการสื่อสาร, การศึกษาทั่วไปเพื่อการพัฒนามนุษย์ รวมทั้งรายวิชาเบื้องต้นเพื่อแนะนำเข้าสู่วิชาชีพ ได้แก่วิชาแนะนำวิชาชีพเภสัชกรรม วิชาเภสัชพฤกษศาสตร์ เป็นต้น
ปีที่ 2 : ศึกษาเกี่ยวกับรายวิชาพื้นฐานวิชาชีพในด้านต่างๆ ได้แก่ วิชาจุลชีววิทยาทั่วไป วิทยาภูมิคุ้มกันสำหรับเภสัชศาสตร์ ชีวเคมี ชีวเคมีของมนุษย์และโรค หลักการเคมีในเภสัชศาสตร์ เคมีของยาพื้นฐาน เภสัชวิเคราะห์ เภสัชการ 1 กายวิภาคศาสตร์และสรีรวิทยาของมนุษย์ เภสัชวินิจฉัย มุมมองทางสังคมและวัฒนธรรมต่อสุขภาวะและความเจ็บป่วย และทักษะการคิดและการแก้ปัญหา 1
ปีที่ 3 : ศึกษาเกี่ยวกับรายวิชาชีพชั้นต้น ได้แก่ วิชาเภสัชจุลชีววิทยา เภสัชวิทยา1-2 เคมีของยา1-2 พยาธิ สรีรวิทยา เภสัชการ 2-3 ชีวเภสัชและเภสัชจลนศาสตร์ ยาจากสมุนไพร 1 ระบบสุขภาพและเภสัชกรรมและทักษะการคิดและการแก้ปัญหา 2 และเริ่มเข้าสู่การเตรียมความพร้อมสำหรับการฝึกปฏิบัติงาน โดยมี โครงการฝึกงาน early exposure เพื่อฝึกทักษะเบื้องต้นการฝึกปฏิบัติงานในโรงพยาบาล และโรงงานให้กับนักศึกษาตามความสมัครใจ ไม่ได้อยู่ในแผนการศึกษา
ปีที่ 4 : ศึกษาเกี่ยวกับรายวิชาชีพในด้านต่างๆ ได้แก่ วิชาจุลชีววิทยาคลินิก วิทยาการระบาดทางเภสัช เภสัชวิทยา 3 เภสัชกรรมคลินิกและการรักษาโรค1-4 เภสัชการ 3 พิษวิทยาคลินิก ทักษะทางเภสัชกรรม ปฏิบัติ 1-2 อาหารเคมี เภสัชเศรษฐศาสตร์ การสื่อสารเชิงวิชาชีพ กฎหมายและจรรยาบรรณทางเภสัช กรรม ระเบียบวิธีเชิงปริมาณและสถิติในเภสัชกรรม ความปลอดภัยของผู้ป่วย และทักษะการคิดและการแก้ปัญหา 3
เมื่อจบชั้นปีที่ 4 ในช่วงภาคฤดูร้อน นักศึกษาจะเข้าสู่การฝึกปฏิบัติงานภาคบังคับ ซึ่งเป็นการฝึกปฏิบัติงานตามระบบของศ.ศ.ภ.ท ในโรงพยาบาล และ ร้านยา โดยนศ.จะฝึกปฏิบัติงาน 2 ผลัดๆ ละ 22-25 วัน (จำนวนไม่น้อยกว่า 200 ชม.ต่อผลัด) หลังจากฝึกปฏิบัติงานผลัดที่ 1 นักศึกษาจะต้องเลือกสาขาเพื่อเข้าสู่ชั้นปีที่ 5 ซึ่งมีให้เลือก 2 สาขา คือ สาขาการบริบาลทางเภสัชกรรม (Pharm. Care) สาขาเภสัชกรรมอุตสาหการ (Pharm. Sci.) และเตรียมตัวสำหรับการสอบใบประกอบวิชาชีพในส่วนของสมรรถนะร่วม (PLE-CC1-2)
ปีที่ 5 : ศึกษารายวิชาชีพในสาขาที่นักศึกษาเลือก
- สาขาการบริบาลทางเภสัชกรรม (Pharm. Care) ได้แก่วิชาการปฏิบัติเภสัชศาสตร์สนเทศ เภสัชกรรมคลินิกและการรักษาโรค 5 ทักษะทางเภสัชกรรมปฏิบัติ 3 บทนำสู่การฝึกปฏิบัติงานการบริบาลทางเภสัชกรรม การเตรียมยาเฉพาะคราวทางเภสัชกรรม เภสัชจลนศาสตร์คลินิก การประเมินคุณภาพผลิตภัณฑ์ยาในทางปฏิบัติ พฤกษบำบัดอิงหลักฐาน ผลิตภัณฑ์ชีวภาพ วิชาเลือกวิชาชีพ และการทำโครงการพิเศษ
- สาขาเภสัชกรรมอุตสาหการ (Pharm. Sci.) ได้แก่วิชา การพัฒนาวิธีวิเคราะห์ การเตรียมยาเฉพาะคราวทางเภสัชกรรม การค้นพบ ออกแบบ และพัฒนายา พฤกษเภสัชศาสตร์ ผลิตภัณฑ์ชีวภาพ การพัฒนาผลิตภัณฑ์ยา ระบบนำส่งยาที่ปลดปล่อยแบบควบคุม หลักการทางเภสัชวิศวกรรม การประกันคุณภาพทางเภสัชภัณฑ์ วิชาเลือกวิชาชีพ และการทำโครงการพิเศษ
สอบใบประกอบวิชาชีพสมรรถนะร่วม (PLE-CC1-2) ปลายเทอมต้น
ปีที่ 6 : ฝึกปฏิบัติงานวิชาชีพตามสาขา นักศึกษาฝึกปฏิบัติงานโดยมีระยะเวลาการฝึกงานทั้งสิ้น 7 ผลัด เป็น การฝึกปฏิบัติงานในวิชาบังคับ 4 ผลัด วิชาเลือก 3 ผลัด (สาขาPharm. Care) / การฝึกปฏิบัติงานใน วิชาบังคับ 2 ผลัด วิชาเลือก 5 ผลัด (สาขา Pharm. Sci.) โดยมีจำนวนชม.ฝึกงานรวมทั้งสิ้นไม่น้อยกว่า 1,600 ชม.
สอบใบประกอบวิชาชีพเฉพาะสาขา (PLE-PC1-2/IP1-2)
ค่าธรรมเนียมการศึกษา โดยประมาณ
เหมาจ่าย 30,000 บาท/ภาคการศึกษา
ทุนการศึกษา
กองทุนกู้ยืมเพื่อการศึกษา กยศ./กรอ. ติดตามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ https://op.mahidol.ac.th/sa/studentloan
และทุนการศึกษาผ่านคณะฯ/ผ่านมหาวิทยาลัย
อาชีพหลังจบ
บัณฑิตที่สำเร็จการศึกษาหลักสูตรเภสัชศาสตรบัณฑิตสามารถประกอบอาชีพ ดังต่อไปนี้
1. เภสัชกรโรงพยาบาล บริการจ่ายยา ให้การบริบาลทางเภสัชกรรม การผสมยาในผู้ป่วยเฉพาะคราว และการบริหารยาและเวชภัณฑ์ในสถานพยาบาลทุกระดับทั้งภาครัฐและเอกชน
2. เภสัชกรชุมชน บริหารจัดการร้านยา จ่ายยา และให้การบริบาลทางเภสัชกรรมในร้านยา
3. เภสัชกรฝ่ายผลิต ตรวจวิเคราะห์ ควบคุมและประกันคุณภาพ วิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์ และการขึ้นทะเบียนยาประจำบริษัทยา โรงงานอุตสาหกรรมผลิตยาแผนปัจจุบัน ผลิตภัณฑ์ยาสมุนไพร ผลิตภัณฑ์ เครื่องสำอาง ชีววัตถุ อาหาร และผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร
4. เภสัชกรด้านการคุ้มครองผู้บริโภค เช่น เภสัชกรด้านการควบคุมคุณภาพและมาตรฐานของกระบวนการผลิตและผลิตภัณฑ์ยาแผนปัจจุบัน ผลิตภัณฑ์ยาสมุนไพร ผลิตภัณฑ์เครื่องสำอาง ชีววัตถุ อาหาร และ ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร ในสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ และสำนักงานสาธารณสุขจังหวัด สังกัดกระทรวงสาธารณสุข เป็นต้น
5. เภสัชกรด้านการศึกษา เช่น อาจารย์ นักวิชาการ นักวิจัย และนักวิทยาศาสตร์
6. เภสัชกรด้านการวิจัยผลิตภัณฑ์ทางคลินิก
7. เภสัชกรด้านการตลาด
รวมถึงสามารถเรียนต่อเป็นเภสัชกรประจำบ้านในสาขาความเชี่ยวชาญต่าง ๆ เช่น โรคหัวใจและหลอดเลือด โรค
ระบบประสาท หรือเรียนต่อในระดับปริญญาโท และปริญญาเอกในสาขาต่าง ๆ ได้ เช่น เภสัชเคมี เภสัชกรรมคลินิก เภสัชอุตสาหกรรม เป็นต้น
การสมัคร
คุณสมบัติของผู้สมัครและรอบของการสมัครให้ดูตามรอบการรับตามระบบ TCAS
ติดต่อสอบถาม
งานกิจการนักศึกษา โทรศัพท์ 02-3543749
งานการศึกษา โทรศัพท์ 02-3543748
Facebook: คณะเภสัชศาสตร์
Website: คณะเภสัชศาสตร์



