Faculty of Public Health
หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต (สาธารณสุขศาสตร์) BACHELOR OF SCIENCE (PUBLIC HEALTH)
ค่าธรรมเนียมการศึกษา โดยประมาณ :
หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาสาธารณสุขศาสตร์ แบบเหมาจ่าย 18,000 บาท
ทุนการศึกษา :
ทุนจากคณะสาธารณสุขศาสตร์ ทุนมูลนิธิราชพฤกษ์ ทุนจากศิษย์เก่า ทุนจากมหาวิทยาลัยมหิดล ประจำปี
อาชีพหลังจบ :
หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต (สาธารณสุขศาสตร์) 5 สาขาวิชาเอก
1. สาขาวิชาเอกโภชนวิทยาและการกำหนดอาหาร
มุ่งสร้างบุคลากรให้มีความรู้และทักษะด้านโภชนาการ โภชนบำบัด และการ กำหนดอาหารตามมาตรฐานวิชาชีพ เพื่อการบริหารจัดการด้านการกำหนดอาหาร ให้เหมาะสมกับการเจ็บป่วย โดยดำเนินการบริการอาหาร ในสถาบันต่างๆ โดยเฉพาะโรงพยาบาลของรัฐ และเอกชน ตลอดจนการให้คำแนะนำเกี่ยวกับ อาหารทั้งในระดับบุคคล สถาบัน และชุมชน ประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อแก้ปัญหาโภชนาการโดยส่งเสริมป้องกัน ควบคุมกำกับ และประเมินผลการ ดำเนินโครงการโภชนาการ เพื่อให้ บุคคล ชุมชนมีภาวะโภชนาการที่ดี อันนำไปสู่ การมีสุขภาพ และคุณภาพ ที่ดีของประชาชน
โอกาสการทำงาน : นักกำหนดอาหารในฝ่ายโภชนาการของโรงพยาบาลภาครัฐและเอกชน, นักวิชาการด้านโภชนาการในงานส่งเสริมสุขภาพและการจัดการอาหารในสถาบันต่างๆ ทั้งของรัฐบาล และเอกชน, นักวิชาการสาธารณสุขในหน่วยงานของรัฐบาลและเอกชนตลอด จนองค์การบริหารส่วนท้องถิ่น
โอกาสศึกษาต่อ : สาขาโภชนวิทยาสาขาโภชนศาสตร์ โภชนบำบัดและการกำหนดอาหาร เภสัชวิทยาด้านอาหารและสาขาอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง
2. สาขาวิชาเอกวิทยาศาสตร์การอาหารเพื่อสุขภาพ
มุ่งเน้นให้บัณฑิตมีความสามารถในการวิเคราะห์ ประเมินคุณค่าและความ ปลอดภัยของอาหาร ตรวจวัดคุณภาพผลิตภัณฑ์อาหาร ควบคุมการผลิตและ พัฒนาผลิตภัณฑ์การอาหารให้ได้มาตรฐาน โดยการประยุกต์ความรู้ด้าน วิทยาศาสตร์การอาหาร ชีวเคมีทางอาหารโภชนชีวเคมี การวิเคราะห์อาหาร การแปรรูปอาหาร การประกันคุณภาพด้านอาหาร การวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์ อาหาร และการสุขาภิบาลด้านอาหาร
โอกาสการทำงาน : นักวิชาการด้านอาหารและโภชนาการ เจ้าหน้าที่ในสายงานการผลิต การ ประกันคุณภาพและการวิเคราะห์คุณภาพอาหาร และการพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหาร ในสถาบันที่เกี่ยวข้องกับผลิตการบริการอาหาร
โอกาสศึกษาต่อ : สาขาเทคโนโลยีทางอาหารหรือวิทยาศาสตร์การอาหาร การวิจัยและพัฒนา ผลิตภัณฑ์อาหาร เทคโนโลยีชีวเคมี หรือชีวเคมี เทคโนโลยีชีวภาพ เทคโนโลยี หลังการเก็บเกี่ยว พิษวิทยาทางอาหาร จุลชีววิทยาอุตสาหกรรมและโภชนาการ
3. สาขาวิชาเอกวิทยาศาสตร์อนามัยสิ่งแวดล้อม
มุ่งเน้นการจัดการคุณภาพสิ่งแวดล้อมให้อยู่ในสภาวะที่เหมาะสมกับการดำรงชีพ เพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีของประชาชนในเมืองและชนบท โดยผลิตบุคลากรให้มีพื้นฐาน ความรู้ในการปฏิบัติ การบริหาร การวางแผน และการประเมินผลงานด้านอนามัย สิ่งแวดล้อม มีความสามารถในการวิเคราะห์คุณภาพสิ่งแวดล้อมที่อาจทำให้เกิด ผลกระทบต่อสุขภาพอนามัยของมนุษย์ และทำการควบคุมจัดการมลพิษต่างๆ รวมทั้งสามารถปฏิบัติงานบำบัดและกำจัดของเสียจากโรงงานอุตสาหกรรม
โอกาสการทำงาน : นักวิชาการด้านสิ่งแวดล้อมในหน่วยงานภาครัฐ เช่น กรุงเทพมหานคร เทศบาล กรมควบคุมมลพิษ กระทรวงอุตสาหกรรม กระทรวงสาธารณสุข ฯลฯ หน่วยงาน รัฐวิสาหกิจ หน่วยงานภาคเอกชน และ องค์กรส่วนท้องถิ่น
โอกาสศึกษาต่อ : สาขาวิทยาศาสตร์อนามัยสิ่งแวดล้อม สุขาภิบาลสิ่งแวดล้อม วิทยาศาสตร์ สุขภาพ เทคโนโลยีสิ่งแวดล้อมและสาขาอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม
4. สาขาวิชาเอกสุขศึกษาและส่งเสริมสุขภาพ
มุ่งให้การศึกษาโดยประยุกต์ความรู้ทางสาธารณสุขศาสตร์ สังคมศาสตร์ จิตวิทยาและพฤติกรรมศาสตร์ นิเทศศาสตร์ และการบริหารงานสาธารณสุข เพื่อให้บัณฑิตมีความรู้ความสามารถในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพการจัดโครงการพัฒนาพฤติกรรมสุขศึกษา การสื่อสารประชาสัมพันธ์ การให้คำปรึกษา การเป็นวิทยากร
โอกาสการทำงาน : นักวิชาการสุขศึกษาหรือนักส่งเสริมสุขภาพในหน่วยงานภาครัฐและเอกชน งานสุขศึกษา งานสื่อสาร และประชาสัมพันธ์ การให้คำปรึกษา และนักปฏิบัติการ ในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมระดับบุคคล องค์กรและชุมชน ฯลฯ นักฝึกอบรม และวิทยากร การผลิตสื่อสิ่งพิมพ์และอิเลคทรอนิกส์ จัดรายการสุขภาพ สื่อมวลชน และในองค์กร นักการศึกษาพัฒนาชุมชน และการวิจัยด้านการส่งเสริมสุขภาพ
โอกาสศึกษาต่อ : สาขาสุขศึกษาและพฤติกรรมศาสตร์ และสาขาอื่นที่เกี่ยวข้องกับงาน สาธารณสุข
5. สาขาวิชาเอกอนามัยชุมชน
มุ่งผลิตบุคลากรให้มีความสามารถในการเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชน ดำเนินงานร่วมกับชุมชนวิเคราะห์สถานการณ์อนามัยชุมชนวิเคราะห์ปัจจัยและสาเหตุของปัญหาสุขภาพ จัดระบบเฝ้าระวังปัญหา วางแผนแก้ไขปัญหาสุขภาพ พัฒนาระบบบริการอนามัยชุมชน ควบคุมกำกับงานและประเมินผลโครงการสาธารณสุข ตั้งแต่ระดับชุมชนถึงระดับประเทศใช้กระบวนการเรียนรู้แบบแก้ปัญหาเป็นหลัก มีชุมชนเป็นศูนย์กลางของการเรียนรู้ โดยการสหสาขาวิชาการ
โอกาสการทำงาน : นักวิชาการด้านสาธารณสุขในหน่วยงานสาธารณสุขภาครัฐบาล เช่น โรงพยาบาล สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด องค์กรการพัฒนาเอกชนด้านสุขภาพ และพัฒนาชุมชน หน่วยงานในกำกับของรัฐ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและ หน่วยงานภาคเอกชนด้านสุขภาพ
โอกาสศึกษาต่อ : สาขาสาธารณสุขศาสตร์ โรคติดเชื้อ วิทยาการระบาด ประชากรศาสตร์ เศรษฐศาสตร์สุขภาพ พัฒนาสังคม และสาขาอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง
หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต (อาชีวอนามัยและความปลอดภัย)BACHELOR OF SCIENCE (OCCUPATIONAL HEALTH AND SAFETY)
ค่าธรรมเนียมการศึกษาโดยประมาณ :
หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาอาชีวอนามัยและความปลอดภัย แบบเหมาจ่าย 21,000บาท
ทุนการศึกษา :
ทุนจากคณะสาธารณสุขศาสตร์ ทุนมูลนิธิราชพฤกษ์ ทุนจากศิษย์เก่า ทุนจากมหาวิทยาลัยมหิดล ประจำปี
อาชีพหลังจบ :
มุ่งให้การศึกษา การวิจัย โดยการนำความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสิ่งแวดล้อมมาประยุกต์ใช้ในการบริหารงานด้านความปลอดภัย วางแผนควบคุมและป้องกันโรคที่เกิดจากการทำงาน และป้องกันอุบัติเหตุต่างๆ เพื่อลดผลกระทบของสภาพแวดล้อมในการทำงานและการสูญเสียผลผลิต โดยจัดประสบการณ์การเรียนในหลักสูตรทั้งในภาคทฤษฎีและปฏิบัติให้นักศึกษาสามารถปฏิบัติงานเป็นเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงาน ระดับวิชาชีพ ตามข้อกำหนดทางกฎหมาย
โอกาสการทำงาน : นักวิชาการด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัยในหน่วยงานรัฐบาล เช่น กระทรวงแรงงาน กระทรวงอุตสาหกรรม กระทรวงสาธารณสุข กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ฯลฯ หน่วยงานรัฐวิสาหกิจ เช่น การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย การนิคมอุตสาหกรรม ฯลฯ เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในระดับวิชาชีพในหน่วยงานภาคเอกชน หน่วยงานเอกชน เช่น กลุ่มโรงงานอุตสาหกรรม ปิโตรเคมี อุตสาหกรรมปูนซีเมนต์ อุตสาหกรรมอิเลคทรอนิกส์ อุตสาหกรรมอาหาร อุตสาหกรรมยานยนต์ รวมถึง ภาคบริการ เช่น บริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน)
โอกาสศึกษาต่อ : สาขาสุขศาสตร์ อุตสาหกรรมและความปลอดภัย สาขาวิทยาศาสตร์อาชีวอนามัย สาขาพิษวิทยา สาขาวิศวกรรมความปลอดภัย สาขาวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม
การสมัคร :
1) ระบบ TCAS (สมัครออนไลน์เท่านั้น)
– รอบ 1 Portfolio และรอบ 2 Quota รับสมัครผ่านระบบ MU-TCAS ที่เว็บไซต์ https://tcas.mahidol.ac.th/
– รอบ 3 Admission รับผ่านระบบ MyTCAS ของทปอ. ที่เว็บไซต์ https://www.mytcas.com
– รอบ 4 Direct Admission สมัครผ่านเว็บไซต์ของคณะ/วิทยาลัย
2) ระบบรับตรง (Direct Admission) ดูรายละเอียดและสมัครได้ที่เว็บไซต์ของคณะ/วิทยาลัย
ติดต่อสอบถาม
งานบริหารการศึกษาและกิจการนักศึกษา
อาคารสาธารณสุขวิศิษฏ์ (อาคาร 1) ชั้น 6 ห้อง 1610
คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
420/1 ถนนราชวิถี เขตราชเทวี กรุงเทพฯ 10400
โทร. 0 2640 9850 ภายใน : 1108, 1118
Facebook: คณะสาธารณสุขศาสตร์
Website: คณะสาธารณสุขศาสตร์
