หลักสูตรดุริยางคศาสตรบัณฑิต
เปิดสอนใน 7 สาขาวิชาเอก
1. ปฏิบัติดนตรีคลาสสิก (Classical Music Performance)
2. ดนตรีแจ๊ส (Jazz)
3. ดนตรีสมัยนิยม (Popular Music)
4. ละครเพลง (Musical Theatre)
5. ดนตรีไทยและดนตรีตะวันออก (Thai and Eastern Music)
6. การประพันธ์ดนตรี (Music Composition)
7. ธุรกิจดนตรี (Music Business)
8. ดนตรีศึกษาและการสอน (Music Education and Pedagogy)
9. เทคโนโลยีดนตรี (Music Technology)
หลักสูตร มีความเกี่ยวข้องโดยตรงกับพันธกิจของมหาวิทยาลัย ในการ “สร้างความเป็นเลิศทางด้าน สุขภาพ ศาสตร์ ศิลป์ และนวัตกรรม บนพื้นฐานของคุณธรรม” หลักสูตรดุริยางคศาสตรบัณฑิต มีเป้าหมายที่จะ พัฒนาศิลปิน ผู้สอน นักวิชาการและนักวิจัย ตลอดจนบุคลากรด้านอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับสาขาดนตรีของประเทศ ไทย ซึ่งเป้าหมายดังกล่าว มีส่วนสนับสนุนให้เกิดพัฒนาการของวัฒนธรรมด้านดนตรี ตลอดจนคุณภาพชีวิตของ บุคลากรด้านดนตรีของประเทศไทยต่อไป
วิทยาลัยดุริยางคศิลป์ กําหนดวัตถุประสงค์ของหลักสูตร ดังนี้ โดยหลักสูตรหวังพัฒนาผู้เรียนให้
1. บัณฑิตที่สําเร็จศึกษาในวิชาเอกเกี่ยวกับการปฏิบัติดนตรี (ซ่ึงได้แก่ สาขาวิชาปฏิบัติดนตรีคลาสสิก ดนตรีแจ๊ส ดนตรีสมัยนิยม ละครเพลง ดนตรีไทยและดนตรีตะวันออก การประพันธ์ดนตรี) จะสามารถแสดง ดนตรีในฐานะนักแสดงเดี่ยว (Soloist) สมาชิกของวงดนตรี (Ensemble Member) หรือนักประพันธ์ดนตรี (Composer) ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ควบคู่กับการใช้ความรู้ทางทฤษฎีดนตรีและประวัติศาสตร์ดนตรี ตาม สาขาวิชาและแนวดนตรีท่ีตนเองได้ศึกษา
2. บัณฑิตที่สําเร็จการศึกษาในสาขาวิชาที่เกี่ยวข้องกับวิชาการดนตรี (ได้แก่ สาขาวิชาดนตรีศึกษา และการสอน) จะสามารถเป็นนักดนตรีศึกษา นักวิชาการดนตรี และอาจารย์สอนดนตรีที่มีคุณภาพ ทั้งใน ด้านวิชาการ และด้านการปฏิบัติดนตรี
3. บัณฑิตที่สําเร็จการศึกษาในสาขาวิชาที่เกี่ยวข้องกับดนตรีประยุกต์ (ได้แก่ สาขาวิชาเทคโนโลยี ดนตรี และธุรกิจดนตรี) จะสามารถปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้องกับดนตรี โดยมีพื้นฐานความเข้าใจศิลปะการดนตรี ท่ีลึกซ้ึง ในการนําไปปฏิบัติหน้าที่ของตนอย่างมีประสิทธิภาพ อันได้แก่ งานด้านเทคโนโลยีดนตรี หรือการ บริหารจัดการธุรกิจดนตรี
4. บัณฑิตที่สําเร็จการศึกษา ในทุกสาขาวิชาเอก มีศักยภาพในการพัฒนาตนเอง และความสามารถใน การสร้างสรรค์ในสายงานอาชีพด้านดนตรีตามความถนัดของตน บัณฑิตที่สําเร็จการศึกษา ในทุกสาขาวิชาเอก มีทักษะทางสังคมเพื่อการดํารงชีวิตและประกอบ อาชีพที่ดี มีจริยธรรมในการประกอบอาชีพ มีวินัยและความรับผิดชอบ
แนะนำการเรียน
https://www.music.mahidol.ac.th/academic/bachelor/
https://www.music.mahidol.ac.th/wp-content/uploads/2021/12/BM-Classical-Instruments.pdf
ค่าธรรมเนียมการศึกษา โดยประมาณ
ตลอดหลักสูตร (4 ปี) 580,000 บาท
ทุนการศึกษา
ทุนเปรมดนตรี, ทุนไทยเบฟ, และทุนเรียนดี เป็นต้น
อาชีพหลังจบ
บุคลากรดนตรี เช่น
นักแสดงเดี่ยว (soloist) นักแสดงในวงดนตรี
อาจารย์สอนดนตรี นักวิชาการและนักวิจัยด้านดนตรี
ผู้บริหาร เจ้าหน้าที่ในสถาบันการศึกษาด้านดนตรี
วิศวกรด้านเสียง (Sound Engineer) และนักเทคโนโลยีดนตรี
เจ้าของกิจการ เจ้าหน้าที่ หรือผู้บริหาร ในธุรกิจดนตรี หรือหน่วยงานของรัฐ ที่มีพันธกิจเกี่ยวข้องกับการดนตรีและศิลปะ
การสมัคร
https://commas.music.mahidol.ac.th/stu_new/login/login_curri.php?LN=TH

ติดต่อสอบถาม
028002525 ext#1109, 1128
Facebook: วิทยาลัยดุริยางคศิลป์
Website: วิทยาลัยดุริยางคศิลป์









