Car Seat ลดเจ็บ ลดเสี่ยง เลี่ยงอุบัติเหตุ

เผยแพร่แล้ว: 3 ตุลาคม 2565

หลังจากมีการประกาศราชกิจจานุเบกษา เรื่อง พ.ร.บ.จราจรทางบก (ฉบับที่ 13) พ.ศ. 2565 ทำให้สังคมไทยตื่นตัวเรื่องความสำคัญของความปลอดภัยในการโดยสารรถยนต์ของเด็กเล็กอย่างมาก

โดยกฎหมายฉบับใหม่ระบุว่า เด็กอายุไม่เกิน 6 ปี ต้องจัดให้นั่งในที่นั่งนิรภัยสำหรับเด็กเพื่อป้องกันอันตราย และคนที่มีความสูงไม่เกิน 135 เซนติเมตร ต้องรัดร่างกายด้วยเข็มขัดนิรภัยไว้กับที่นั่ง หรือมีวิธีป้องกันอันตรายในกรณีที่เกิดอุบัติเหตุ โดยมีผลบังคับใช้หลัง 120 วันนับแต่ประกาศ และหากฝ่าฝืนมีโทษปรับ 2,000 บาท

เพราะการเดินทางที่ปลอดภัย ต้องคาดเข็มขัดนิรภัยหรือใช้ที่นั่งนิรภัย (Car Seat)

เมื่อเกิดการชน ความเร็วของรถยนต์ลดลงอย่างกะทันหัน แต่ผู้โดยสารยังเคลื่อนที่ด้วยความเร็วก่อนหน้า ทำให้ร่างกายกระแทกเข้ากับโครงสร้างภายในรถยนต์ หรือกระเด็นออกนอกรถได้ ดังนั้นการยึดเหนี่ยวร่างกายไว้กับที่นั่ง ไม่ให้เคลื่อนที่ต่อเมื่อรถยนต์ลดความเร็วลงฉับพลัน จึงเป็นหลักการที่สำคัญในการสร้างความปลอดภัยในการเดินทาง

วิธีการติดตั้ง Car Seat ต้องติดตั้งตามช่วงอายุของเด็ก ดังนี้

  • ตั้งแต่แรกเกิด ถึง 2 ขวบ ให้ติดตั้งที่เบาะหลัง หันหน้าเข้าหาเบาะ และปรับเอนราบแบบนอน (Rear-Facing Car Seat)
  • อายุ 2 ขวบ ถึง 6 ขวบ ให้ติดตั้งที่เบาะหลัง หันไปด้านหน้าตามปกติ ปรับเอนแบบกึ่งนั่งกึ่งนอน (Forward-Facing Car Seat)
  • อายุ 4 ขวบ ขึ้นไป ให้ติดตั้งอุปกรณ์บูสเตอร์ที่เบาะหลัง (Booster Seat) เพื่อให้เด็กโตสามารถใช้งานเข็มขัดนิรภัยได้เหมือนผู้ใหญ่ และหันไปด้านหน้าตามปกติ
  • เมื่อเด็กอายุถึง 9 ขวบ หรือส่วนสูง 135 ซม. ขึ้นไป สรีระร่างกายจะพร้อมสำหรับการคาดเข็มขัดนิรภัยที่มาพร้อมกับรถยนต์

และไม่ว่าจะอยู่ในช่วงอายุใดก็ตาม การคาดเข็มขัดนิรภัยทุกครั้งของการเดินทาง ช่วยลดความรุนแรงจากการบาดเจ็บ ลดความเสี่ยงการสูญเสีย และหลีกเลี่ยงการเกิดอุบัติเหตุ ผู้ขับขี่มีสมาธิ และไม่เป็นกังวลขณะที่มีเด็กอยู่ในรถ

Car Seat ลดเจ็บ ลดเสี่ยง เลี่ยงอุบัติเหตุ เพราะชีวิตเอาคืนกลับมาไม่ได้

ขอขอบคุณ

  • รศ.นพ. อดิศักดิ์ ผลิตผลการพิมพ์
    ผู้อำนวยการสถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว
    มหาวิทยาลัยมหิดล
  • ศูนย์วิจัยเพื่อสร้างเสริมความปลอดภัยและป้องกันการบาดเจ็บในเด็ก (CSIP) ภาควิชากุมารเวชศาสตร์
    คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี
    มหาวิทยาลัยมหิดล

จำนวนผู้เข้าชม: 447 ครั้ง

Related Posts

22 มีนาคม 2567

“รักและห่วง (ไต) เด็กไทยแข็งแรง by ครู” เสริมความรู้เด็กปฐมวัยด้านสุขภาวะในห้องเรียน

สถาบันเด็กแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว จัดกิจกรรมเสริมความรู้เด็กปฐมวัยลดการบริโภคโซเดียมในห้องเรียน
3 กันยายน 2566

ดนตรีบำบัด พลังแห่งเสียงกับสุขภาพจิตของวัยรุ่น

ถ้าหากดนตรีเป็นหนึ่งในทางออกให้กับเหล่าวัยรุ่นที่กำลังประสบปัญหาทางใจ จะมีบทบาทอย่างไรบ้างนะ ?
18 กรกฎาคม 2566

ความสำคัญของการมีภูมิคุ้มกันในโลกดิจิทัล

เสริมสร้างภูมิคุ้มกันในโลกดิจิทัล (Digital resilience) ให้กับลูกหลานของทุกคนพื่อให้สามารถเอาตัวรอดจากการใช้ชีวิตบนโลกออนไลน์และสามารถรับมือกับความไม่ปลอดภัยที่อาจเกิดขึ้นได้

Featured Article

29 มีนาคม 2567

มหิดลจัดกิจกรรม “Salt Less for Better Life & Healthy”

หอสมุดและคลังความรู้มหาวิทยาลัยมหิดล จัดกิจกรรม "Salt Less for Better Life & Healthy" ตามนโยบายมหาวิทยลัยสุขภาพดีด้วยการลดบริโภคโซเดียม
25 มีนาคม 2567

วิทยาเขตอำนาจเจริญจัดกิจกรรม “พัฒนาชุมชนต้นแบบลดการบริโภคโซเดียม ลดโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง”

ดร.อรรถพงษ์ ฤทธิทิศ สำนักวิชาการและหลักสูตร โครงการจัดตั้งวิทยาเขตอำนาจเจริญ นำทัพจัดกิจกรรม "พัฒนาชุมชนต้นแบบลดการบริโภคโซเดียม ลดโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง"
22 มีนาคม 2567

“รักและห่วง (ไต) เด็กไทยแข็งแรง by ครู” เสริมความรู้เด็กปฐมวัยด้านสุขภาวะในห้องเรียน

สถาบันเด็กแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว จัดกิจกรรมเสริมความรู้เด็กปฐมวัยลดการบริโภคโซเดียมในห้องเรียน

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า
Scroll to Top