![]() |
พระราหุลแสดงความรักซาบซึ้งในพระพุทธองค์ผู้เป็นบิดา
จนลืมทูลขอราชสมบัติ
ในวันที่ ๗ นับตั้งแต่วันที่พระพุทธเจ้าได้เสด็จถึงกรุงกบิลพัสดุ์ ซึ่งเป็นเวลา |
ภายหลังที่เจ้าชายนันทะ ผู้เป็นพระอนุชาของพระพุทธเจ้าได้บวชแล้ว พระ |
พุทธเจ้าพร้อมด้วยพระสงฆ์บริวารได้เสด็จเข้าไปรับบิณฑบาต ในพระราช |
นิเวศน์ของพระเจ้าสุทโธทนะอีก |
เจ้าชายนันทะเป็นรัชทายาทที่สองรองจากพระพุทธเจ้า ที่จะครองราชย์สืบ |
ต่อจากพระเจ้าสุทโธทนะแต่เมื่อนันทะออกบวช หรือที่จริงถูกพระเชษฐา คือ |
พระพุทธเจ้าทรงจับให้บวชเสียแล้ว รัชทายาทจึงตกอยู่แก่ราหุลกุมารผู้เป็น |
พระโอรสของเจ้าชายสิทธัตถะ หรือพระพุทธเจ้าในเวลาต่อมา |
พระนางพิมพายโสธรา พระมารดาของราหุล ทรงเห็นเป็นโอกาสดี เมื่อทรง |
ทราบว่า พระพุทธเจ้าเสด็จเข้ามารับบิณฑบาต จึงแต่องค์ให้ราหุลผู้โอรส |
งดงามด้วยเครื่องประดับของขัตติยกุมารแล้วทรงชี้บอกราหุลว่า "พระสมณะ |
ผู้ทรงสง่า มีผิวพรรณเหลืองดังทอง มีพระสุรเสียงไพเราะดุจเสียงพรหม ที่ |
พระสงฆ์สองหมื่นรูปแวดล้อมตามเสด็จ นั่นแหละคือพระบิดาของเจ้า" |
พระนางพิมพาตรัสบอกโอรสให้ไปทูลขอรัชทายาท และทรัพย์สินที่เป็น |
สมบัติของพระบิดาทั้งหมดซึ่งยังมิได้ทรงโอนกรรมสิทธิ์ให้ใครเลย พระนาง |
บอกผู้โอรสว่า ธรรมดาลูกย่อมมีสิทธิที่จะครองกรรมสิทธิ์ในทรัพย์ของผู้เป็น |
บิดา |
ในเวลาที่กล่าวนี้ ปฐมสมโพธิบอกว่าราหุลกุมารมีพระชนมายุได้ ๗ ปี นับตั้ง |
แต่ประสุติมาไม่เคยเห็นองค์ผู้ทรงเป็นพระบิดา เพิ่งได้เห็นเป็นครั้งแรกก็เมื่อ |
คราวพระพุทธเจ้าเสด็จยังกรุงกบิลพัสดุ์นี่เอง เมื่อได้เห็นและได้เข้าเฝ้าโดย |
ใกล้ชิด ราหุลจึงเกิดความรักในพระพุทธเจ้ายิ่งนัก เป็นความรักอย่างลูกจะ |
พึงมีต่อพ่อ ราหุลกราบทูลพระพุทธเจ้าประโยคหนึ่ง ซึ่งถ้าจะถอดความให้ |
เข้ากับสำนวนไทยก็ว่า "อยู่ใกล้พ่อนี่มีความสุขเหลือเกิน" แล้วกราบทูลขอรัช |
ทายาท และกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สมบัติของพระราชบิดา ตามที่พระมารดา |
ทรงแนะนำ |
พระพุทธเจ้าไม่ตรัสว่ากระไร ทรงฉันอาหารบิณฑบาตเสร็จแล้ว ทรง |
อนุโมทนา แล้วเสด็จกลับไปที่นิโครธารามพร้อมด้วยพระสงฆ์ โดยมีราหุล |
ตามเสด็จเพื่อทูลขอสิ่งที่ทรงประสงค์ดังกล่าวไปด้วย |
Copyright © 2002 Mahidol
University All rights reserved. |